โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษHuman Resource Development of Lamtasao Sub-district Municipality Phranakornsriayutthaya Province
  • ผู้วิจัยนางสาวชญานุช สามัญ
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.รัฐพล เย็นใจมา
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อนุวัต กระสังข์
  • วันสำเร็จการศึกษา08/03/2562
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/492
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 580
  • จำนวนผู้เข้าชม 701

บทคัดย่อภาษาไทย

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามความคิดเห็นของบุคลากร 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
              การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 128 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากประชากรจำนวน 191 คน ที่เป็นบุคลากรของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครชี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า ๕ ระดับ 
มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.961  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา 
                  ผลการวิจัยพบว่า
                  
1. ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.33, S.D. = 0.100) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยที่ด้านการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄= 4.34, S.D. = 0.182) รองลงมา คือ ด้านการศึกษา (x̄= 4.32, S.D. = 0.164) และด้านการฝึกอบรม (x̄=4.32, S.D. = 0.166) ตามลำดับ
                2. ผลการเปรียบเทียบระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวม จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่า บุคลากรมีระดับการพัฒนาไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
               3. แนวทางในการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ด้านการฝึกอบรม เป็นการพัฒนาวิชาชีพ และทักษะความสามารถในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร เน้นที่การฝึกอบรมให้บุคลากรมีระเบียบวินัยและขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน ตามกรอบของหลักธรรมาภิบาล ด้านการศึกษา เป็นการพัฒนาวิชาการให้บุคลากรได้มีความรู้ในระดับที่สูงขึ้นโดยเน้นสาขาวิชาที่สอดคล้องกับภาระงาน มีกระบวนการคือสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้บุคลากรได้ศึกษาต่อยอดความรู้ ด้านการพัฒนา เป็นการพัฒนาวิชาชีวิต กล่าวคือทัศนคติของบุคลากร ให้เกิดความสัมพันธ์ในระดับบุคคลและองค์กร ให้มีศิลปะในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

                  Objectives of this research were: 1. to study the human resource development of Lamtasao sub-district municipality Phranakornsriayutthaya province, 2. to compare the opinions of personnel on the human resource development of Lamtasao sub-district municipality Phranakornsriayutthaya province, classified by personal factors and 3. to study the problems, obstacles and suggestions to improve the human resource development of Lamtasao sub-district municipality Phranakornsriayutthaya province. 
                  Methodology of this research was the mixed methods research of the qualitative and quantitative researches. The quantitative research collected data from 128 samples selected by stratified random sampling of 191 persons who were personnel of Lamtasao sub-district, Phranakornsriayutthaya province, using the Kreicie and Morgan’s formula. The tool used for data collection was 5 levels rating scale questionnaire with at reliability level of 0.916. Statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, standard deviation, T-test, One Way Analysis of Variance and Least Significant Different: LSD. For qualitative research, Data were collected from 12 key informants by face-to-face-in-depth-interviewing and analyzed by descriptive interpretation.
                Findings were as follows:
                1. The level of human resource development of Lamtasao sub-district municipality Phranakornsriayutthaya province by overall was at high level (x̄= 4.33, S.D. = 0.100). Each aspect indicated as: 1) Development aspect, development level was at high level (x̄= 4.34, S.D. = 0.182), 2) Education aspect, development level was at high level (x̄= 4.32, S.D. = 0.164), 3) Training aspect, development level was at high level (x̄= 4.32, S.D. = 0.166) and all aspects were at high levels.
                2. The comparison of human resource development of Lamtasao sub-district municipality Phranakornsriayutthaya province classified by personal data indicated personnel with different gender, age, educational background, position and working duration by overall did not have different opinions, rejecting the set hypothesis.
                3.  Guideline of human resource development of lamtasao sub-district municipality Phranakornsriayutthaya province were: 1.Training was professional and skill development according to goal of organization focus on training for personnel to be discipline and ability to work accordance with good governance, 2.Education was an academic development for personnel to have higher level of knowledge by focusing on subjects that are in line with the job. There are a processes that are motivating and encouraging personnel to study more. 3. Development was life’s knowledge development which was attitude of personnel to create relationship on individual and organization level to have art for working.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 11.63 MiB 580 4 มิ.ย. 2564 เวลา 06:35 น. ดาวน์โหลด