โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท ๔ ของหมอลำคณะสมจิตร บ่อทอง
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Management of Conservation and Culture Based on Iddhipāda by Somchit Bothong Mor Lam Troop
  • ผู้วิจัยนายสมจิต ทองบ่อ
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สยามพร พันธไชย
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุกานดา จันทวารีย์
  • วันสำเร็จการศึกษา03/07/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49223
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 63

บทคัดย่อภาษาไทย

         สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมโดยใช้หลักอิทธิบาทธรรมของหมอลำคณะสมจิตร บ่อทอง 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมโดยใช้หลักอิทธิบาทธรรมของหมอลำคณะสมจิตร บ่อทอง จำแนกตามเพศ อายุ ระยะเวลาในการทำงาน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ของหมอลำคณะสมจิตร บ่อทอง

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีจากตารางเปรียบเทียบของเครซี่และมอร์แกน จำนวน 140 คน วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยใช้สถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียวและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ของหมอลำคณะสมจิตร บ่อทอง อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับแรก คือ การบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านจิตตะ รองลงมา คือ ด้านวิริยะ ส่วนด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านวิมังสา และด้านฉันทะ ตามลำดับ

          2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ของหมอลำคณะสมจิตร บ่อทองของบุคลากรที่มี เพศ อายุและระยะเวลาทำงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ของหมอลำคณะสมจิตร บ่อทองไม่แตกต่าง จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

          3. ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมโดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ของหมอลำคณะสมจิตร บ่อทอง พบว่า การพัฒนาวงยังประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจและขาดผู้สนับสนุนสปอนเซอร์และปัญหาโควิด อีกทั้งควรต้องหมั่นฝึกซ้อมการแสดงให้กับศิลปินทุกฝ่าย การบริหารยังขาดการทบทวนหรือสรุปผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาวงในผลงานการแสดงหลายๆ ด้านของทีมงานโดยเฉพาะบุคลากรและศิลปินในสังกัด ต้องมีการประชุมชี้แจงเคารพกฏกติกาของวง มีข้อตกลงร่วมกันและนำปัญหามาพัฒนาวงร่วมกันและควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือศิลปินหมอลำในภาคอีสาน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the management of conservation and culture based on Iddhipāda by Somchit Bothong Mor Lam troop; 2) to compare the management of conservation and culture based on Iddhipāda by Somchit Bothong Mor Lam troop classified by genders, ages, and work duration; and 3) to propose suggestions for the management of conservation and culture based on Iddhipāda by Somchit Bothong Mor Lam troop.

          The study employed mixed-method research including quantitative and qualitative methods. For quantitative method, a sample group of 140 persons was determined by Krejcie & Morgan table. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test, and One-Way ANOVA. For qualitative method, the tool used was in-depth interview with 5 key informants. The obtained data were analyzed by content analysis technique.

 

          From the study, the following results were found:

          1) Opinions about the management of conservation and culture based on Iddhipāda (the Four Noble Truths) by Somchit Bothong Mor Lam troop were overall at a high level. When each aspect was examined, the following results were found from high to low: Citta (thoughtfulness) with a mean of  = 4.61, followed by Viriya (effort) with a mean of = 4.51, Vīmaṃsā (investigation) with a mean of = 4.45, and Chanda (will) with a mean of = 4.43, respectively.

          2) From comparing people’s opinions about the management of conservation and culture based on Iddhipāda by Somchit Bothong Mor Lam troop classified by different genders, ages, and work duration, the results found that there was no difference in people’s opinions; therefore, the null hypothesis was rejected.

          3) Problems and suggestions for the management of conservation and culture based on Iddhipāda by Somchit Bothong Mor Lam troop were as follows: the troop was still facing financial difficulties, a lack of sponsors, and challenges with Covid-19.  The troop needed to practice more with different artists. The management still lacked review or summary of the achievements in developing performances. Artists and staff required to be aware of the troop's norms and regulations, reach mutual agreement, and work together to solve problems. They should also establish networks and collaborate with other Mor Lam troops in the Isan region.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ