โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration for Promoting Public Policy Management in Education, Religion and Culture of Choeng Doi Subdistrict Municipality in Doi Saket District Chiang Mai Province
  • ผู้วิจัยพระมหาอวิรุทธิ์ โสภณสุธี (เดชคำตั๋น)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประเสริฐ ปอนถิ่น
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา28/02/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49227
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 122

บทคัดย่อภาษาไทย

             วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่เกี่ยวกับการจัดการนโยบายสาธารณะ ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจัดการนโยบายสาธารณะ ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาแนวทางพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะ ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเป็น แบบผสมผสานวิธี โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง จากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 380 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่าง นัยสำคัญน้อยที่สุด ส่วนและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

             ผลการวิจัยพบว่า

          1) ระดับความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่เกี่ยวกับแนวการส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะ  โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (=4.07, S.D.=0.494)  ส่วน ระดับความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่เกี่ยว ตามหลักพุทธบูรณาการ (สังคหวัตถุ 4) ที่ใช้เป็นหลักพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก  (=4.10, S.D.=0.518) 

        2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการจัดการนโยบายสาธารณะ ด้านการศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ของเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ตามหลักพุทธบูรณาการ (สังคหวัตถุ 4) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการนโยบายสาธารณะ ด้านการศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ของเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ตามหลักพุทธบูรณาการ (สังคหวัตถุ 4) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงยอมรับสมมติฐาน ส่วนประชาชนที่มีเพศ  อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ มีความคิดเห็นพุทธบูณาการส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะ ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

          3) แนวทางพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะ ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ด้านการกำหนดนโยบายและแผน มีดังนี้ ประชาชนในพื้นที่ไม่ทราบนโยบาย รวมถึงประชาชนไม่มีความสนใจนโยบายด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรม ส่วนแนวทางการจัดการนโยบายสาธารณะ ควรมีการประชุมกลุ่ม แกนนำ หาเครือข่ายในการจัดทำแผนสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมถึง สร้างจิตสำนึกและพลังจากประชาชนให้มีบทบาท ด้านการนำนโยบายและแผนไปปฎิบัติ มีดังนี้ กิจกรรมในแผนปฏิบัติไม่น่าสนใจ และ ประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจในนโยบาย ส่วนแนวทางการจัดการนโยบายสาธารณะ ควรมีแผนการนำนโยบายและแผนไปปฏิบัติทั้งปีให้ชัดเจน และ เพื่อให้สอดคล้องแผนปฏิบัติควรมีการจัดการประชุมและปรับปรุงแผนเป็นระยะ ๆ เพื่อนำไปเป็นประโยชน์ในปีถัดไป ด้านควบคุมและการตรวจสอบ มีดังนี้ ควรมีผู้ตรวจสอบทั้งทางภาครัฐและประชาชนร่วมกัน และผู้ตรวจสอบไม่มีความน่าเชื่อถือ ส่วนแนวทางการจัดการนโยบายสาธารณะ ผู้ตรวจสอบควรได้รับการเลือกจากภาครัฐและประชาชน รวมถึงไม่มีการตรวจสอบที่ครบถ้วน และ ด้านการประเมินผล มีดังนี้ วิธีการประเมินผลไม่ครอบคลุมกิจกรรม และไม่มีการประเมินผลสม่ำเสมอ ส่วนแนวทางการจัดการนโยบายสาธารณะ ควรมีการจัดการออกแบบการประเมินผลให้ครอบคลุมกับกิจกรรม และ ควรออกสำรวจประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this thesis were 1) Study the level of opinion about local development policy Choeng Doi subdistrict municipality Doi Saket district Chiang Mai province of Buddhist integration to promote public policy management in education ,religion and culture 2) Compare the opinions towards the quality of Buddhist integration to promote public policy management in education, religion and culture in local development policy Choeng Doi subdistrict municipality Doi Saket district Chiang Mai province 3) Study an integrated Buddhist approach to promote public policy management in terms of education, religion and culture of Choeng Doi Subdistrict municipality. Doi Saket District Chiang Mai Province.

Methodology was the mixed methods. The quantitative research was conducted by using survey research to method From Taro Yamane's formula, For quantitative research, the data were collected from 380 samples from a total population of 7,396 people. who had aged 18 years and over in that area. The data were analyzed by frequency, percentage, means, standard deviation, T-test, and F-test and one-way ANOVA. Pairs of variables were compared by Least Significant Difference, LSD. For qualitative research, the method, Data were collected from 10 key informants by face-to-face- in-depth-interviewing and analyzed by descriptive interpretation.

The research findings were as following:

1) The level of promote public policy management in education ,religion and culture in local development policy Choeng Doi subdistrict municipality Doi Saket district Chiang Mai province by over all were at high level.  (=4.07, S.D.=0.494) and the level of Buddhist integration (Sangahavathu IV) to promote public policy management in education ,religion and culture in local development policy Choeng Doi subdistrict municipality Doi Saket district Chiang Mai province by  over all were at high level.  (=4.10, S.D.=0.518

2) The results of the comparison of the opinion towards to compare the opinions towards the quality of Buddhist integration (Sangahavathu IV) was found that people with different salary had different opinion about the effectiveness of of the opinion towards to compare the opinions towards the quality of Buddhist integration (Sangahavathu IV) at 0.05 statistical significant level, accepting the set hypothesis. Those people with different gender, age, educational and occupation degree did not have different opinions, rejecting the set hypothesis.

             3) Problems, Obstacles and Guidelines for Public Policy Management Policy and plan formulation are as follows: People in the area don’t know the policy. Including the people don’t interest in education, religion, and culture policies. As for the management of public policies are as follows : There should be a leadership group meeting.Find a network to create a plan.Motivate people in the area. Including promote the civil society and support the people.  In the implementation of policies and plans Problems and obstacles as follows: The activities in the plan don’t interesting. People don’t have knowledge and don’t understanding of the policy. Public Policy Management Approach There should be a clear plan for implementing policies and plans throughout the year. Should be useful in the next year. In terms of control and audit Problems and obstacles as follows: there should be auditors from both the public sector and the public together and the reviewers are not reliable. Public Policy Management Approach Auditors should be elected by governments and citizens. including not having a complete audit. evaluation aspect Problems and obstacles are as follows: The assessment method does not cover the activities. and there is no regular evaluation. Public Policy Management Approach Assessments should be designed to cover the activities and assessment surveys should be conducted regularly.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ