-
ชื่อเรื่องภาษาไทยภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAdministrative Leadership of San Klang Subdistrict Municipality Administrators, at San Kamphaeng District, Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยพระอธิการรัตน์ติพงศ์ มหาคมฺภีรวํโส (สมหนุน)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประเสริฐ ปอนถิ่น
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา28/02/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49228
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 74
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำที่ใช้หลักทุติยปาปณิ-กธรรมไปบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตนตามหลักทุติยปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลางกับภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
วิธีการดำเนินการวิจัยการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ กลุ่มประชากรในเขตปกครองเทศบาล จำนวน 383 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตนตามหลักทุติยปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลางกับภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ข้อมูล แบบสอบถามโดยโปรแกรมสําเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation Coefficient) และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้ให้ข้อมูลสําคัญ คือ ตัวแทนผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง จำนวน 3 คน ตัวแทนส่วนราชการตำบลสันกลาง จำนวน 1 คน ตัวแทนสมาชิกสภาเทศบาลตำบลสันกลางจำนวน 2 คน ตัวแทนผู้นำชุมชนและพระสงฆ์ จำนวน 2 รูปหรือคน นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 1 รูป นักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 1 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับภาวะผู้นำที่ใช้หลักทุติยปาปณิกธรรมไปบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หลักทุติยปาปณิกธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.45, S.D. = 0.749) และภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหาร ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.59, S.D. = 0.748)
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตนตามหลักทุติยปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลางกับภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (R = .938**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน
3. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลสันกลาง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้บริหารควรส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดเข้าใจบทบาทที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการจัดการองค์กร และแก้ปัญหาเกิดจากการปฏิบัติงาน ให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ให้คำแนะนำ และแก้ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงาน จนบรรลุผลตามเป้าหมาย มีการสร้างทัศนคติที่ดีในการมอบหมายงานที่มิใช่เป็นการเพิ่มภาระของงาน มีความยุติธรรมในการแก้ปัญหาของบุคลากรในองค์กร และการมีความรู้ ความสามารถในการทำงานทำให้บุคลากรเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ และเต็มใจที่จะทำงานร่วมกันมีความสำคัญ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this thesis are as follows: 1) to study the level of leadership using the tuthiyapaphanikhatum to administrate the administrators of San Klang subdistrict municipality, San Kamphaeng District Chiang Mai Province 2) to study the relationship between selfpractice according to the tuthiyapaphanikhatum of San Klang subdistrict municipal administrators and administrative leadership of San Klang subdistrict municipal administrators. San Kamphaeng District Chiang Mai Province 3) to study the development of administrative leadership of San Klang Subdistrict municipal administrators. San Kamphaeng District Chiang Mai Province.
Method of conducting research, mixed methods research between Quantitative Research, the sampling group in this research is the population in the municipal area of 382 people obtained by random sampling method (Sample Random Sampling). The instrument used to collect data was a questionnaire used in the research to determine the quality. Data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation and analyzing the relationship between the behavior according to the tuthiyapaphanikhatum of San Klang subdistrict municipal administrators and administrative leadership of San Klang subdistrict municipal administrators, San Kamphaeng District Chiang Mai Province by using Pearson correlation coefficient method. The F-test was used to analyze the data. A questionnaire by a packaged program for social science research. The statistics used were frequency, percentage, mean (x̅), standard deviation (S.D.) and statistically testing the hypothesis by using the estimation Pearson Product-moment Correlation Coefficient and Qualitative Research, the key informants were 3 representatives from San Klang Subdistrict Municipality Administrators, 1 representative from San Klang Subdistrict Municipality Council, 2 representatives from San Klang Sub-district Municipality Council members, 2 representatives from community leaders and monks. 1 picture or person, Buddhist scholar, 1 public administration scholar, obtained by purposive sampling. The data collection tool was an interview. The interview data was analyzed by using the content analysis technique
The research finding were as follow;
1.The level of leadership that uses the tuthiyapaphanikhatum to manage the administrators of San Klang Subdistrict Municipality, San Kamphaeng District, Chiang Mai Province, including the tuthiyapaphanikhatum Overall, it was at high level (x̅= 4.45, S.D. = 0.749) and executive leadership of executives in all 4 aspects. Overall, it was at the highest level (x̅= 4.59, S.D. = 0.748)
2.The relationship between self practice according to the tuthiyapaphani khatum of San Klang Subdistrict municipal administrators and administrative leadership of San Klang Subdistrict municipal administrators. San Kamphaeng District Chiang Mai Province as a whole had a very high positive relationship (R = .938**) with a statistical significance at the 0.01 level. Therefore, the hypothesis was accepted
3. Recommendations for the development of administrative leadership of San Klang municipal administrators San Kamphaeng District Chiang Mai Province found that executives should encourage their personnel to understand their roles in line with the goals of organizational management. and solve problems arising from operations To achieve the results according to the goals set. Provide advice and solve problems arising from operations Until achieving the goal Have a good attitude in delegating work that does not add to the workload. There is fairness in solving problems of personnel in the organization. and having knowledge The ability to work makes personnel feel proud. and willingness to work together is important.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|