โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    คุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษService Quality in the Registration and Evaluation Division of Mahachulalongkornrajavidyalaya University in the Upper Northern Campuses
  • ผู้วิจัยนางศิริกร ไชยสิทธิ์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.นพดณ ปัญญาวีรทัต
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา28/02/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49231
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 58

บทคัดย่อภาษาไทย

         วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน  จำนวน 320 รูปหรือคน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.851 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่  ค่าร้อยละ   ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test แบบ One Way ANOVA) เชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

 

              ผลการวิจัยพบว่า

          1. ระดับคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.06, S.D.=0.681) ระดับคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน ตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.10, S.D.=0.688)

        2. เปรียบเทียบความคิดเห็นผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน พบว่าผู้รับบริการที่มีชั้นปี คณะ และสังกัดวิทยาเขตต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผล โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย คุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน ตามหลักสังคหวัตถุ 4 พบว่า ผู้รับบริการที่อยู่คณะต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผล ตามหลัก  สังควัตถุ 4  โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 

        3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของกลุ่มงานทะเบียนและวัดผลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ควรเพิ่มอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ในการรับบริการ ควรจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี และสถานที่ในการให้บริการอย่างเพียงพอ ควรมีการตรวจสอบก่อนการออกหนังสือสำคัญทางการศึกษา ควรมีการปรับลดขั้นตอนการบริการต่างๆ โดยให้บริการแบบ One Stop Service ควรมีการอบรมเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างหลากหลาย และควรให้บริการอย่างเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        The objectives of this thesis were: 1. to study the level of service quality in the Registration and Evaluation Division of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, in the Upper Northern Campuses, 2. to compare the opinions of people on the service quality in the Registration and Evaluation Division of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, in the Upper Northern Campuses classified by personal factors, 3. to propose guidelines for improving the service quality in the Registration and Evaluation Division of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, in the Upper Northern Campuses. The methodology of this thesis was mixed methods: the sample used in quantitative research was 320 students of  Mahachulalongkornrajavidyalaya University, in the Upper Northern Campuses.  The data was collected by questionnaires with reliability equal to 0.851. The statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean, and standard deviation,   and hypothesis testing was analyzed by t-test and F-test analysis, ANOVA (One-Way ANOVA). The qualitative method was collected from 14 key informants through In-depth interviews and analyzed by content descriptive interpretation.

             The findings were as follows:

          1. The overall opinions on service quality level in the Registration and Evaluation Division of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, in the Upper Northern Campuses were at a high level (=4.06, S.D.=0.681). The overall opinions on service quality level in the Registration and Evaluation Division of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, in the Upper Northern Campuses according to the Four Saṅgahavatthu were at a high level (=4.16, S.D.=0.688).

    2. The opinions comparison of people on the service quality in the Registration and Evaluation Division of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, in the Upper Northern Campuses found that service recipients from different years of study, faculties, and campus affiliations had overall different opinions on the service quality in the Registration and Evaluation Division with significant differences at the 0.05 level. Therefore, the research hypothesis was accepted. The opinions comparison of people on service quality level in the Registration and Evaluation Division of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, in the Upper Northern Campuses according to the Four Saṅgahavatthu found that service recipients in different faculties had overall different opinions on the service quality in the Registration and Evaluation Division according to the Four Saṅgahavatthu with statistical significance at 0.05 level. Therefore, the research hypothesis was accepted.

        3. Guidelines for improving the service quality in the Registration and Evaluation Division of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, in the Upper Northern Campuses, found that officers in receiving services should be increased; tools, equipment, technology, and places should be provided for adequate services;  important educational documents should be rechecked before issuing them; unnecessary service procedures should be reduced by providing a one-stop service; officers should be trained regularly; there should be a variety of public relations, and services should be provided equally.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ