โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งแบบยั่งยืน ในเทศบาลตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPeople’s Participation to Sustainable Solution for Drought Problems in Thapladuk Sub-district Municipality, Maetha District, Lamphun Province
  • ผู้วิจัยสิบเอกชิษณุพงศ์ ยศบุญยืน
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.อภิรมย์ สีดาคำ
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา28/02/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49233
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 98

บทคัดย่อภาษาไทย

             สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งแบบยั่งยืนในเทศบาลตำบลทาปลาดุก อ.แม่ทา จ.ลำพูน  2.เพื่อศึกษาระดับ   การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลทาปลาดุกที่มีต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งแบบยั่งยืนในเทศบาลตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน  และ 3.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในเทศบาลตำบลทาปลาดุกที่มีต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งแบบยั่งยืนในเทศบาลตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 379 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) เพื่อทดสอบสมมติฐาน และข้อมูล  จากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน  12  คน  ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยจะทำการจัดการกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบพรรณา

              ผลการวิจัยพบว่า

             1. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งแบบยั่งยืนในเทศบาลตำบลทาปลาดุก อ.แม่ทา จ.ลำพูน  โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (x̅ =3.66)  อยู่ในระดับมาก  ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (x̅ =3.44)  ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (x̅ =3.38)  และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (x̅ = 2.64)  ทั้งสามด้านอยู่ในระดับปานกลาง

            2. ระดับการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรม 7 กับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งแบบยั่งยืนในเทศบาลตำบลทาปลาดุก  อ.แม่ทา  จ.ลำพูน  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.08) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การประชุมกันเนืองนิตย์  (x̅ = 4.19)  ให้เกียรติ คุ้มครองสตรีและเด็ก  (x̅ = 4.09)  ไม่บัญญัติหรือเลิกล้มข้อบัญญัติตามอำเภอใจ  (x̅ = 4.08)    การอารักขาความคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม  (x̅ = 4.08) เคารพสักการะบูชาปูชนียสถาน (x̅ = 4.05) พร้อมเพรียงกันประชุมและเลิกประชุม (x̅ = 4.03) และเคารพให้เกียรติและรับฟังความเห็นของผู้ใหญ่  (x̅ = 4.02)  ทุกด้านอยู่ในระดับมาก

          3. ความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลทาปลาดุกที่มีต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งแบบยั่งยืนในเทศบาลตำบลทาปลาดุก  อ.แม่ทา จ.ลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และระดับการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กันกับความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งแบบยั่งยืนในเทศบาลตำบลทาปลาดุกส่วนอายุ อาชีพ และสถานภาพมีสัมพันธ์น้อยมาก กับความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งแบบยั่งยืนในเทศบาลตำบลทาปลาดุก

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            This thesis aims to: 1. study the level of public participation in sustainable drought management in Tha Pla Duk municipal subdistrict, Mae Tha district, Lamphun province, 2. examine the level of Parihaniyadhamma application within public participation in Tha Pla Duk municipal subdistrict related to sustainable drought management in Tha Pla Duk municipal subdistrict, Mae Tha district, Lamphun province, and 3. investigate the relationship between public participation in Tha Pla Duk municipal subdistrict and sustainable drought management in Tha Pla Duk municipal subdistrict, Mae Tha district, Lamphun province, classified by individual factors. The research methodology employs a mixed-method approach. The population studied consists of residents in Tha Pla Duk Municipal subdistrict, Mae Tha district, Lamphun province, with a sample size of 379 people. Data were collected using a questionnaire and analyzed by calculating frequency, percentage, mean, and standard deviation values. The relationship comparison was made using Pearson's correlation coefficient to test the hypothesis and data. In-depth structured interviews with 12 key informants were conducted, chosen by purposive selection. The researcher will manage data groups according to the essential content of the interview issues, followed by descriptive analysis.

              Research findings are as follows

            1. The level of public participation in sustainable drought management in Tha Pla Duk municipal subdistrict, Mae Tha district, Lamphun province, is generally moderate (x̄ = 3.28). When considering each aspect, it was found that the participation in decision-making was high (x̄ = 3.66), while participation in implementation (x̄ = 3.44), benefit-sharing (x̄ = 3.38), and evaluation (x̄ = 2.64) were all moderate.

          2. The level of applying the seven Apriniyatham principles to public participation in sustainable drought management in Tha Pla Duk municipal subdistrict, Mae Tha district, Lamphun province, is generally high (x̄ =  4.08). When considering each aspect, it was found that holding regular and frequent meetings (x̄ = 4.19), honoring and protecting women and children (x̄ = 4.09), not enacting or abandoning ordinances according to one's whims (x̄ = 4.08), seeking justice and protection (x̄ = 4.08), respecting and worshiping community shrines (x̄ = 4.05), attending and disperse meetings together in harmony (x̄ = 4.03), and respecting and listening to the opinions of elders (x̄ = 4.02) were all high.

          3.The relationship between public participation  in Tha Pla Duk municipal subdistrict and sustainable drought management in Tha Pla Duk municipal subdistrict, Mae Tha district, Lamphun province, classified by individual factors, found that gender and education level did not have a relationship with the opinions on the level of public participation in sustainable drought management in Tha Pla Duk municipal subdistric. Age, occupation, and status had a very low relationship with opinions on the level of public participation in sustainable idrought management in Tha Pla Duk municipal subdistrict.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ