โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการ ด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPromoting Public Participation in Disaster Management of the Chiang Mai Provincial Administrative Organization
  • ผู้วิจัยนายวรเทพ แสงโอภาส
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประเสริฐ ปอนถิ่น
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.อภิรมย์ สีดาคำ
  • วันสำเร็จการศึกษา28/02/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49235
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 60

บทคัดย่อภาษาไทย

          สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

          วิธีการดำเนินการวิจัยการวิจัยแบบผสานวิธี  (Mixed Methods Research) ระหว่าง การวิจัยเชิงปริมาณ  (Quantitative Research) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ กลุ่มประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๔๐๐ คน ซึ่งได้มาโดยทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยโปรแกรมสําเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้ให้ข้อมูลสําคัญ คือ ตัวแทนนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 1 รูป กลุ่มผู้บริหารระดับสูงขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 คน กลุ่มผู้บริหารระดับปฏิบัติการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 คน นักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 1 คน ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Technique)

                ผลการวิจัยพบว่า

            1. ระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หลักอปริหานิยธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.61, S.D. = 0.711) และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัย ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.60, S.D. = 0.713)

       2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

       3. ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ขาดการมีส่วนร่วมในการใช้สิ่งก่อสร้างหรือโครงสร้างทางกายภาพเพื่อลดหรือหลีกเลี่ยงผลกระทบของภัยที่อาจเกิดขึ้น ขาดการมีส่วนร่วมออกกฎระเบียบ ข้อบังคับการก่อสร้าง การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินการแบ่งเขตและการวางแผนพัฒนาพื้นที ขาดการมีส่วนร่วมในการสำรวจจุดเสี่ยงภัย ภายในชุมชน และเตรียมกำลังคน เครื่องจักรให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ และข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมปรับความลาดชัน ของพื้นที่เพื่อลดการพังทลายของดินการสร้างฝาย สร้างอ่างเก็บน้ำ หรือขุดสระน้ำ และควรส่งเสริมมีส่วนร่วมในการจัดฝึกอบรมการสร้าง จิตสำนึก หรือให้ความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุน การป้องกันและลดผลกระทบจากความเสี่ยงจากสาธารณภัย

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              This research has the following objectives: 1) the objective is to study the level that this village has prepared to help with disasters of the Chiang Mai Provincial Organization. 2) compare opinions in case there will be a certain return in this place. Organizational disasters of regional organizations Classified by individual factors 3) to study problems, obstacles, and suggestions for promoting public participation in disaster management of Chiang Mai Provincial Administrative Organization.

              Methods of conducting research Integrated research, that is, by qualitative research. Methods of conducting research Mixed Methods Research between quantitative research. (Quantitative Research) by using a sample group for research, which is a group of people in the area of ​​the Chiang Mai Provincial Administrative Organization, 400 people, which was obtained by stratified random sampling. The tool used to collect data was a questionnaire used in the research. Data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. and the F-test, the questionnaire data was analyzed by the Social Science Research Package Program. The statistics used were frequency, percentage, mean (), standard deviation (S.D.) and qualitative research methodology (Qualitative Research) by providing important information, namely a representative of Buddhist scholars, 1 figure, a group of senior executives of the Chiang Mai Provincial Administrative Organization, 2 people, a group of operational executives. of the Chiang Mai Provincial Administrative Organization, number 2 people, public administration academics, number 1, people in the area of ​​Chiang Mai Provincial Administrative Organization, number 3 people, which was obtained by means of purposive sampling. The tool used to collect data was an interview. The interview data was analyzed by using the content analysis technique

The results showed that

1. The level of promotion of public participation in disaster management of Chiang Mai Provincial Administrative Organization, including the principle of Aparihaniyadhamma. Overall, it was at the highest level (= 4.61, S.D. = 0.711) and the promotion of public participation in disaster management in all 4 aspects was at the overall level at the highest level (= 4.60, S.D. = 0.713)

2. A Comparison of People's Opinions on Promotion of Public Participation in Disaster Management of Chiang Mai Provincial Administrative Organization Classified by individual factors It was found that people with different genders, ages, education levels, occupations and incomes had different opinions on promoting public participation in disaster management of Chiang Mai Provincial Administrative Organization. Overall, it's different. with statistical significance at the 0.05 level. Therefore, the research hypothesis was accepted

            3. Problems and obstacles regarding the promotion of public participation in disaster management of the Chiang Mai Provincial Administrative Organization found that there was a lack of participation in the use of buildings or physical structures to reduce or avoid the impact of disasters. may happen Lack of participation in the regulation, construction regulations Determination of land use, zoning and area development planning Lack of participation in surveying risk points within the community and manpower preparation Machines are always ready to use and suggestions for ways to promote public participation in disaster management of the Chiang Mai Provincial Administrative Organization found that participation in slope adjustment should be promoted. of the area to reduce soil erosion, building weirs build a reservoir or digging a pond and should encourage participation in organizing training to create awareness or provide knowledge in various fields to support Preventing and reducing the impact of disaster risks. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ