-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชน ของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Intergration for Promoting Quality of People’s Service of Nong Phueng Subdistrict Minicapality in Saraphi District, Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยนางนัยนา ศรีโมครา
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประเสริฐ ปอนถิ่น
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.อภิรมย์ สีดาคำ
- วันสำเร็จการศึกษา28/02/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49239
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 107
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการ ประชาชนของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
วิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี กล่าวคือ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรในการทำวิจัยคือผู้รับบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 390 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลแสดงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบ t-test และ F-test และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หลักพุทธธรรม (สังคหวัตถุ 4) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.59, S.D. = 0.708) และการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชน ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.59, S.D. = 0.748)
2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3. ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเจ้าหน้าที่บางคนไม่สามารถดูแล เอาใจใส่ให้คำแนะนำ และให้ความสะดวกแก่ผู้สูงวัย ประชาชนที่มาใช้บริการถ้ารู้จักกับเจ้าหน้าที่ในการให้บริการ จะได้รับการลัดคิวในการบริการ ประชาชนติดต่อยื่นเรื่องร้องเรียนหรือขอความช่วยเหลือไม่ค่อยได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่และไม่ค่อยมีการติดต่อกลับมา และข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าเจ้าหน้าควรดูแลเอาใจใส่ให้คำแนะนำ และให้ความสะดวกแก่ผู้สูงวัย เจ้าหน้าที่ควรให้บริการแก่ผู้ที่มารับบริการตามลำดับก่อนและหลัง ผู้มาก่อนควรได้รับการบริการก่อน ควรรับฟังและให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนที่มาติดต่อโดยไม่เลือกปฏิบัติ และลดขั้นตอนการให้บริการที่ไม่จำเป็น เพื่อช่วยให้การบริการที่รวดเร็วมากขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research has the following objectives: 1) to study the level of quality of public service of the municipality, Nong Phueng District, Saraphi District, Chiang Mai Province 2) to compare people's opinions towards the promotion of public service of the municipality, Nong Phueng District, Saraphi District, Chiang Mai Province, classified by individual factors 3) to study the problems, obstacles and goals that will create quality for the people of Nong Phueng Subdistrict, Saraphi District, Chiang Mai Province.
Integrated research methodology, that is, quantitative research. using survey research methods The population for this study was public service recipients of Nong Phueng Sub-district Municipality, Saraphi District, Chiang Mai Province, by using the method of random sampling from the formula of Taro Yamane, a sample of 390 people was used as a questionnaire as a tool for data collection. The data were analyzed showing frequency, percentage, mean, and standard deviation. and tested the hypothesis by t-test and F-test and qualitative research Using in-depth interviews with 10 key informants or people, using contextual analysis techniques. Presented an essay accompanying the frequency distribution table of key informants to support quantitative data.
The results showed that
1. The level of public service quality promotion of Nong Phueng Sub-district Municipality, Saraphi District, Chiang Mai Province, including the Buddhadhamma Principle (Sangkhahawatthu 4) as a whole, was at a high level (x̅= 4.59, S.D. = 0.708) and Promotion of the quality of public service in all 5 areas, overall, was at the highest level (x̅= 4.59, S.D. = 0.748).
2. Comparison of people's opinions towards the promotion of public service quality of Nong Phueng Subdistrict Municipality, Saraphi District, Chiang Mai Province. Categorized by personal factors, it was found that people with gender, age, occupation and educational level had different opinions towards the promotion of public service quality of Nong Phueng Subdistrict Municipality, Saraphi District, Chiang Mai Province. Overall, it's different. with statistical significance at the 0.05 level. Therefore, the research hypothesis was accepted.
3. Problems and obstacles regarding the promotion of public service quality of Nong Phueng Subdistrict Municipality, Saraphi District, Chiang Mai Province. found that some officers could not care give advice and provide convenience for the elderly People who come to use the service if they know the staff in the service. will be skipped the service queue People who make complaints or ask for help are rarely fully assisted and are rarely contacted back and suggestions for ways to promote the quality of public services of Nong Phueng Subdistrict Municipality, Saraphi District, Chiang Mai Province. Found that the officers should take care and give advice. and provide convenience for the elderly Officers should provide services to those receiving services on a first-come, first-served basis. First come first served. Should listen and provide assistance to solve problems for people who come in contact without discrimination. and reduce unnecessary service procedures to help provide faster service.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|