โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาล ตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAdministrative Competency Development of Banglamung Municipality Administrators, Chonburi Province
  • ผู้วิจัยนางสาวอัญชลี กองแก้ว
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อนุวัต กระสังข์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา11/03/2562
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/493
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 1,209
  • จำนวนผู้เข้าชม 744

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี ตามความคิดเห็นของพนักงานโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี 4. เพื่อศึกษาแนวทางต่อการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี  
การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.986 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในเทศบาลตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี จำนวน 90 คน โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากร จำนวน 116 คน คำนวณจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์โดยการพรรณนาแจกแจงความถี่ประกอบตาราง และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
                   ผลการวิจัยพบว่า
                  1. สมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.00, S.D. = 0.317) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า  อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านสมรรถนะในการบริหารตนเอง (x̄= 4.17, S.D. =0.627) ด้านสมรรถนะในการตระหนักรับรู้เรื่องโลกาภิวัตน์ (x̄= 4.03, S.D. =0.572) ด้านสมรรถนะในการสื่อสาร (x̄= 4.00, S.D. =0.468) ด้านสมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ (x̄= 3.99, S.D. =0.555) ด้านสมรรถนะในการทำงานเป็นทีม (x̄= 3.94, S.D. =0.538) และด้านสมรรถนะในการวางแผนและการบริหารจัดการ    (x̄= 3.82, S.D. =0.865) 
                2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรที่มีอายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนบุคลากรที่มีเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่ง ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 
                3. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท 4 กับการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี พบว่า หลักอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ (R = .219)
                4. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี คือ ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็น แสดงศักยภาพ และความเสมอภาคในการพัฒนาองค์กร และเพื่อให้พนักงานนั้นรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร จะต้องพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายให้เป็นระบบในการทำงานตามแผนงาน ให้มีการจัดอบรมภาวะผู้นำ สนับสนุนการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ไปอบรมดูงานนอกสถานที่ทั้งในและต่างประเทศ และประเมินการทำงานของพนักงาน ผู้บริหารจะต้องให้ความร่วมมือในการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อเกิดความสามัคคีระหว่างผู้บริหารกับผู้ใต้บังคับบัญชา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               Objectives of this research were: 1. to study the administrative competency   of  Banglamung Municipality Administrators, Chonburi  Province, 2. to compare the administrative competency of Banglamung Municipality Administrators, Chonburi  Province by opinions of the employees, classified by personal data and 3. to study the relationship between administration with Iddhipada 4 and administrative competency development of Banglamung Municipality Administrators, Chonburi  Province and 4. To propose the guidelines for administrative competency development of Banglamung Municipality Administrators, Chonburi  Province
Methodology was the mixed methods: The quantitative research collected data with questionnaires that had confident value at 0.0986 from 90 samples derived from 116 people using Taro Yamane’s formula, analyzed data by Frequency, Percentage, Mean and  Standard deviation, t-test and  F-test value by means of two or more initial variables. When it is found that there are differences, it will compare the difference in pairs with the Least Significant Differences, LSD. For the data from the open ended questionnaires, the data were analyzed by descriptive analysis with frequencies. The qualitative research collected data from 12 key informants by in-depth-interviewing and analyzed data by descriptive interpretation.   
                 1. The administrative competency of Banglamung Municipality Administrators, Chonburi  Province by overall were at high level (x̄= 4.00. SD=0.317) Each aspects were at high level accordingly as competency in self management was at high level (x̄= 3.93), competency in the globalization concept was at high level (x̄= 4.03,SD=0.572), competency in communication was at high level (x̄= 4.00,SD=0.468), competency in strategic operation was at high level (x̄= 3.99, SD=0.555). competency in working as a team was at high level (x̄= 3.94,SD=0.538) and the competency in planning and administration was at high level  (x̄= 3.82,SD=0.865).  
                 2. Comparison of the personnel’s opinions on the administrative competency development of Banglamung Municipality Administrators, Chonburi Province, classified by personal data were that indicated that personnel with different ages had different opinions   with statistically significant value of 0.05, accepting the set hypothesis. Meanwhile, the personnel  with different sex, educational level, work experiences and positions did not have different opinions, rejecting the set hypothesis.  
                3. Relationship between Itthipata4 and administrative competency development of Banglamung Municipality Administrators, Chonburi  Province was that Iddhipada 4  had positive relationship with the administrative competency development of Banglamung Municipality Administrators, Chonburi  Province, by overall was at low level (r =219)
                4. Guidelines for the administrative competency development of Banglamung Municipality Administrators, Chonburi Province were that the administrators should open opportunities for employees and personnel to to express their opinions and capacities and equality in organizational development to encourage them to have the sense of belonging. There should be systematically work competency development to work in line with plans. There should be leadership training, supporting the works of subordinates by sending them to seminar and trainings in the country and abroad. There should be a faire evaluation of personnel. Administrators must cooperate with coworkers to create unity and harmony among administrators and subordinates.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 9.58 MiB 1,209 4 มิ.ย. 2564 เวลา 06:54 น. ดาวน์โหลด