โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธนวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณะด้านอิทธิบาท ๔ ด้วยกลยุทธ์ FSA เชิงบูรณาการเพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์อังกฤษบนสื่อออนไลน์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Innovation in the Development of 4 Iddhipādas Performance with the Integration of FSA Strategy for the Grammatical Usage via Online Learning for MCU Graduate Students
  • ผู้วิจัยนางจุฑารัตน์ คัมภีรภาพ
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • วันสำเร็จการศึกษา30/05/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49333
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 33

บทคัดย่อภาษาไทย

         ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ด้วยกลยุทธ์การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคเชิงคู่ความสัมพันธ์ (FSA) ผ่านระบบสื่อออนไลน์เว็บแอ็พพลิเคชั่น และวิธีการพัฒนาคุณลักษณะอิทธิบาท 4 ให้เกิดขึ้นในบุคคล
(2) เพื่อสร้างและทดลองใช้นวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอิทธิบาท 4 ด้วยกระบวนการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษา อังกฤษ ด้วยกลยุทธ์การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคเชิงคู่ความสัมพันธ์ (FSA) ผ่านระบบสื่อออนไลน์เว็บแอ็พพลิเคชั่น สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ (3) เพื่อประเมินและนำเสนอพุทธนวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอิทธิบาท 4 ด้วยกระบวนการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ด้วยกลยุทธ์การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคเชิงคู่ความสัมพันธ์ (FSA) ผ่านระบบสื่อออนไลน์ เว็บแอ็พพลิเคชั่น สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Research Method) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบสอบถามภาคสนาม (Questionnaire Field Work) ใช้แบบสอบถามองค์ความรู้ในเรื่องอิทธิบาท 4 และความเข้าใจในกลยุทธ์การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคเพื่อการใช้ไวยากรณ์อังกฤษที่ถูกต้องด้วยตนเอง รวมทั้งข้อมูลภูมิหลังทั้งส่วนตัวและในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากคำตอบในแบบสอบถาม

         ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Quantitative Research) โดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการเรียน แบบทดสอบการวิเคราะห์โครงสร้างประโยค และ แบบประมวลผลการเรียน โดยเก็บข้อมูลจากการประเมินบทเรียนและแบบฝึกหัดของนวัตกรรมที่สร้างขึ้น โดยการเปรียบเทียบค่าคะแนนความสามารถในการเรียนรู้ไวยากรณ์อังกฤษตามกลยุทธ์ FSA ที่สอดคล้องกับการสร้างและนำคุณลักษณะอิทธิบาท 4 ในตัวบุคคลมาใช้ ก่อนและหลังการทดลอง  (ใช้แบบประมวลผลค่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ ในระบบเว็บแอ็พพลิเคชั่น ตามระดับพื้นฐานความรู้ไวยากรณ์อังกฤษ A1-.6, A2-.3 และ B1-.6 ตามมาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการอ้างอิงตามกรอบระดับความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลจากค่าความเที่ยงตรง (validity) ของแบบฝึกหัด การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบครอนบาคอัลฟ่า (Cronbach’s Alpha-reliability Coefficient) และ นำข้อกระทงคำถาม มาหาค่าฐานนิยม (mode) หรือ ค่ามัธยฐาน (median) ใช้โปรแกรมการคำนวณทางสถิติ T-test ค่าคะแนนเฉลี่ย (means) ของคะแนนรวม และ ค่าความเที่ยงตรง (validity) ของแบบฝึกหัด ผลการวิจัยพบว่า

          1) กระบวนการเรียนรู้และผลการเรียนไวยากรณ์อังกฤษ กระตุ้นการเสริมสร้างคุณลักษณะอิทธิบาท 4 ในตน และคุณลักษณะอิทธิบาท 4 ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ไวยากรณ์อังกฤษต่อไป ตามทฤษฎีความสอดคล้องสัมพันธ์ของเกรวี่ (Consistency-Theoretical Model)

         หลักอิทธิบาท 4 นี้ มีความสำคัญต่อการเรียนรู้และเป็นปัจจัยสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ความพอใจเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างผลแห่งความสำเร็จของการเรียนรู้ได้ ผู้เรียนต้องมีความพอใจแล้วพยายามขวนขวายหาความรู้บ่อย ๆ โดยไม่เลิกกลางคัน โดยมีความวิระยะ ความเพียร แล้วใช้จิตตะพิจารณาหาข้อบกพร่องในการเรียน ปฏิบัติสิ่งที่เกื้อกูลต่อการเรียน ลด ละ เลิก สิ่งที่ไม่เกื้อกูลต่อการเรียน วิมังสาจึงจะพาให้ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนของตน ฉะนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลว ที่สำคัญที่สุดมีอยู่ 4 อย่าง คือ หากเกิดความเบื่อหน่าย ให้แก้ด้วย ฉันทะ เมื่อบังเกิดความเกียจคร้าน ให้แก้ด้วย วิริยะ เมื่อเกิดความทอดธุระ ให้แก้ด้วย จิตตะ เมื่อเกิดความโง่เขลา จึงให้แก้ด้วย วิมังสา

         ส่วนวิธีเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ด้วยกลยุทธ์การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคเชิงคู่ความสัมพันธ์ (FSA)  เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ตามหลัก หน้าที่ของ รูปคำหลัก’ (head word)  ระหว่างหน่วยความหมาย’ (unit of meanings)  และ คู่ความสัมพันธ์ของ หน้าที่ของรูปคำภายใน หน่วยความหมาย  การเรียนรู้ในระบบ web application เป็นระบบที่ผู้วิจัยติดตั้ง app browser ใช้งานผ่าน internet ให้สามารถใช้ได้บนโทรศัพท์มือถือได้  เป็นการเรียนรู้ไวยากรณ์ที่มีคำเฉลยคำตอบพร้อมคำอธิบาย ซึ่งมีลิ้งค์อัตโนมัติไปยังแบบประมวลผลการเรียน ที่ใช้เก็บข้อมูลผลการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนติดตามพัฒนาการของตนเอง

         2) การสร้างนวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอิทธิบาท 4 ด้วยกระบวนการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ด้วยกลยุทธ์การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคเชิงคู่ความสัมพันธ์ (FSA) ผ่านระบบสื่อออนไลน์ สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการจัดบทเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับ. A1-.6, A2-.3 และ B1-.6 ตามกลยุทธ์ FSA เป็น หลักสูตร Intensive course แล้ว Downdload ในระบบ web application ที่ผู้วิจัยติดตั้ง app browser ใช้งานผ่าน internet โดยสามารถใช้ได้บนโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์แบบอื่น ๆได้

         3) การประเมินนวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอิทธิบาท 4 ด้วยกระบวนการเรียนรู้ไวยากรณ์อังกฤษ ตามกลยุทธ์การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคเชิงคู่ความสัมพันธ์ (FSA) ผ่านระบบสื่อออนไลน์เว็บแอ็พพลิเคชั่น โดยให้นิสิตปริญญาโทภาคพิเศษ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 19 รูป/คน ทดลองเข้าเรียนทาง ONLINE ตามหลักสูตร Intensive course โดยทำแบบทดสอบความรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วย FSA Strategy และความตระหนักรู้ในตนด้านคุณลักษณะแห่งอิทธิบาท 4 ซึ่งผลการประเมินพบว่า   (1) ผู้เรียนร้อยละ 84.43 สามารถวิเคราะห์ประโยคภาษาอังกฤษได้ในระดับมาก และ ตระหนักรู้ในคุณลักษณะแห่งอิทธิบาท 4 ที่เพิ่มขึ้นในตน ด้วยความพึงพอใจในระดับมาก (2) ความสามารถของผู้เรียนทั้ง 3 ระดับ หลังการเรียน สูงกว่า ก่อนการเรียน คือ ระดับ A1 ได้คะแนนเพิ่มจาก 14.142 เป็น 19.642 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน  มีค่า p = 0.05 และมีนัยสำคัญในทางปฏิบัติ (practical significance) ในระดับที่สูงมาก ระดับ A2  ได้คะแนนเพิ่มจาก 10.384 เป็น  16.615 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน มีค่า p = 0.05 และมี นัยสำคัญในทางปฏิบัติ (practical significance) ในระดับที่สูง ระดับ B1 ได้คะแนนเพิ่มจาก 7.642 เป็น 13.000  จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน มีค่า p = 0.05 และมีนัยสำคัญในทางปฏิบัติ (practical significance) ในระดับที่สูงมาก

         สรุปได้ว่า พุทธนวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอิทธิบาท 4 ด้วยกระบวนการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ตามกลยุทธ์การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคเชิงคู่ความสัมพันธ์ (FSA) ผ่านระบบสื่อออนไลน์ เว็บแอ็พพลิเคชั่น  สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา มจร. มีตัวแปรที่ส่งเสริมกันและกันตามทฤษฎีความสอดคล้องสัมพันธ์ (Consistency-Theoretical Model)

         พุทธนวัตกรรมการพัฒนาคุณลักษณะอิทธิบาท 4 ด้วยกระบวนการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ตามกลยุทธ์การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคเชิงคู่ความสัมพันธ์ (FSA) ผ่านระบบสื่อออนไลน์ เว็บแอ็พพลิเคชั่น มีนวัตกรรม 4 ประการ ดังนี้ 1) นวัตกรรมการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้วยกลยุทธ์ FSA เป็นเทคนิคการใช้หลักคู่ความสัมพันธ์ของ หน้าที่ของรูปคำระหว่างและภายใน หน่วยความหมายทำให้ผู้เรียนเกิดการคิด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ 2) นวัตกรรมการเรียนรู้ผ่าน Web Application เป็นการฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยี ในการสืบค้น และการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) นวัตกรรมการใช้หลักพุทธธรรม เสริมสร้างการเรียนรู้ ในขณะเดียวกัน เป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะคุณธรรมไปด้วยกัน 4) นวัตกรรมการบูรณาการสหสาขาวิชาการ ด้านการจัดการศึกษา ด้านจิตวิทยา หลักศาสนา และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เกิดรูปแบบ FSA- 4 Iddhipādas MODEL

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

         In this dissertation, three objectives were purposely made: 1) to study the learning process of English grammar with Functional Sentence Analysis strategy (FSA) via online web application learning and the development methods for making four kinds of  Iddhipādas characters happen in persons, 2) to create and experiment the innovation on the development methods of four kinds of Iddhipādas characters through Functional Sentence Analysis Strategy (FSA) via the online web application system for MCU’s Graduate Studies’ students. This research employed mixed method research methodology, the Qualitative including Field Questionnaire field work using the research tool of questionnaire to collect data on the understanding about four kinds of  Iddhipādas characters and FSA Straegy including personal background and background in learning English.

         Quasi-experimental Quantitative research was conducted using the research tools of Pre-test and Post-test, Tests on sentence analysis applying FSA Strategy integrated by the application of four kinds of  Iddhipādas characters in persons showing results in the evaluation score sheets from he proficiency scores in learning English grammar according to the Common European Framework of Reference for Language (CEFR) at the A1-P6, A2-M3 and B1-M6  Levels.  and 3) to evaluate and propose the Buddhist innovation of 4 Iddhipādas   with the integration of FSA Strategy via online web application learning for MCU’s Graduate Studies students. As for the data analysis methods, the validity of tests, Cronbach’s Alpha-reliability Coefficient, mode and median are used for questions; and T-test and means for collective scores are applied including the validity of tests

         It was found that (1) the learning  process of English grammar and the effective scores derived from the web application through the FSA Strategy were in accordance with the Consistency Theoretical Model of Grawe. The four kinds of Iddhipādas  characters are very important to the learning process and they are mutually related to each other.  Merely satisfactoriness or Chanda cannot bring to the successful results in learning.  Learners need to frequently seek for knowledge without ceasing it in the middle of the path with the attempt or Viriya.  Then, apply Citta to look thorougly for the flaws of learning and practise what support learning, reduce and upend it if it does not support;  Vīmamsā, then, will lead to accomplishment of learning.  Thus, to avoid the failure, there are four most essential factors that are:  in case, the boredome is arisen, apply Chanda; whereas, if idleness comes, utilize Viriya; when lifelessness occurs, use Citta; and lastly, whenever fools happen, demand  Vīmamsā.

         As when using Functional Sentence Analysis or FSA Strategy, it stimulated four kinds of Iddhipādas  characters in persons and in the other way round, the four kinds of Iddhipādas characters also encourage the learnability of English grammar to grow. FSA Strategy refers to the study on the ground of  relations of ‘functions’ of ‘forms of head words’ between ‘units of meanings’ and the relations of ‘functions’ of ‘word forms’ within ‘units of meaning’ via  the online web application which the researcher has installed app browser using through the internet compatible with various kinds of mobile computer devices. Exercises comes with answer keys and explanation and are automatically linked to the evaluation forms  which learners can follow their development.  

         (2) the innovation for the development of the four kinds of Iddhipādas characters through the learning process of English grammar with FSA Strategy via online web application created and tried with the subject group of MCU’s Graduate Studies’ students was made. Lessons and exercises were at the levels of A1-P6, A2-M3 and B1-M6 in accordance with CEFR.  The intensive course was arranged for the experiment.  Then learners downloaded FSA- 4 Iddhipādas web application which the researcher has installed  through app browser available on the internet which can be used on mobile phones and other computer devices.

         (3) The evaluation of the innovation has done by 19 MCU’s Graduate Studies students experimented via the intensive online course equivalent to one semester.  Learners were tested with English grammar before and after studying and also the realization of the four kinds of Iddhipādas characters.  The results of learners’ sentence structure analysis with FSA Strategy were considerably shown that they were at the high level with 84.43 % and from the questionnaires in understanding the FSA Strategy and four kinds of Iddhipādas characters, they were at the high level of satisfactoriness.  As regards the results between Pre-test and Post-tests done through FSA Strategy of all three levels on learners’ abilities to learn, they showed that all levels’ scores were high where A1 Pre-test was 14.1429 from the 20 full scores with the Post-test was of 19.6429 with the statistical significance of p = 0.05 and practical significance at the very high level; A2 Pre-test was of 10.3846  from the 20 full scores with Post-test was of 16.6154 which was higher than Pre-test with statistical significance of p = 0.05 and practical significance at the very high level; B1 Pre-test was of 7.6429 from the scores of 20 with the Post-test was of 13.0000  which was higher than Pre-test with statistical significance of p = 0.05 and with the practical significance was at the very high level too .  It gave rise to more development than the previous one averagely. Suffice it to conclude that from the  evaluation, the Buddhist innovation in developing the four kinds of Iddhipādas characters through the process of English grammar with FSA Strategy via online media web application for MCU’s Graduate Studies students contains variables re-enforcing each other in accordance with the Consistency Theoretical Model.

         As for the proposing of the Buddhist innovation on the development of four kinds of Iddhipādas characters gained from FSA strategy done through the online web application system for MCU’s Graduate Studies’ students, it created four kinds of innovation as followed: 1) the innovation of English grammar learning through FSA Strategy with the technique of relations of ‘functions’ of ‘word forms’ between and within ‘units of meanings’ promoting learning to do critical thinking and analyzing the grammatical relations, 2) the innovation via online web application sharpening the skills of information technology and self-learning, 3) the innovation in applying the Buddhist principle encouraging learning and at the same time of developing moral characters and 4) the innovation of interdisciplinary in education, psychology, the principle of religion and technology.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ