-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษTisikkha application for human resource development of Pangmu Sub-district Administrative Organization, at Muang district, in Mae Hong Son Province
- ผู้วิจัยพระสมุห์หลง อิทฺธิญาโณ
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุริยา รักษาเมือง
- วันสำเร็จการศึกษา16/05/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49416
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 109
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 95 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู ทำการวิเคราะห์ด้วยการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหรือไม่ โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การประยุกต์หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x ̅ = 4.43, S.D. = 0.43) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x ̅ = 3.80, S.D. = 0.51)
2. ความสัมพันธ์ระหว่างไตรสิกขากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า ในภาพรวม มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r=.559) เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านศีล มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r=.408) ด้านสมาธิ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r=.599) ด้านปัญญา มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r=.528)
3. แนวทางประการยุกต์หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า ด้านการฝึกอบรม โดยการนำหลักไตรสิกขาเข้ามาประยุกต์ ศีล การกำหนดความต้องการขององค์กร รวมไปถึง การอบรมเรื่องของวินัย เครื่องมือที่ใช้ในการฝึกศีลก็คือวินัยต่างๆเป็นจุดเริ่มต้นในกระบวนการศึกษา และมีการจัดอบรมศีลธรรมแกบุคลากรอยู่เสมอ สมาธิ ควรมีขั้นตอนการฝึกอบรมบุคลากรให้เกิด สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ปัญญา ฝึกอบรมการเรียนรู้สำหรับงานในปัจจุบันมุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำเอาความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติตนได้ทันที ด้านการศึกษา โดยการนำหลักไตรสิกขาเข้ามาประยุกต์ ศีล ส่งเสริมให้บุคลากรสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจของตัวเอง เรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง สมาธิ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพูดคุย การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการ การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ นอกจากนี้อาจมีการเชิญวิทยากรจากภายในและภายนอก หน่วยงานมาอบรมและให้ความรู้แก่บุคลากร ปัญญา ฝึกอบรมการเรียนรู้สำหรับงานในปัจจุบัน มุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำเอาความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน ด้านการพัฒนา โดยการนำหลักไตรสิกขาเข้ามาประยุกต์ ศีล ส่งเสริมการจัดเตรียมชีวิตให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อการพัฒนาโดยจัดระเบียบความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกับในสังคม สมาธิ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาศักยภาพโดยทั่วไปเกี่ยวกับชีวิต ความมีสติสมาธิและมีความสุขความอิ่มเอิบร่าเริงเบิกบานใจ ปัญญา ประสบการณ์แก่บุคลากรขององค์กรเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมของบุคลากรสำหรับการเรียนรู้สิ่งต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Methodologies were the mixed methods: The quantitative research, data were collected with questionnaires and the qualitative method collected data by in-depth-interviewing 9 key informants and analyzed data by content descriptive interpretation using data to support the quantitative method that collected data from 95 samples who were personnel of Pangmu Sub-District Administrative Organization by the mean of Taro Yamane’s formula and analyzed data with descriptive statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation and analyzed relationship between variables by Pearson’s Correlations Coefficient.
Findings were as follows:
1. Tisikkha application for human resource development of Pangmu Sub-District Administrative Organization, Muang District, Mae Hong Son Province, by overall, were at high level ( =4.43, S.D.=0.43). Human resource development of Pangmu Sub-District Administrative Organization, Muang District, Mae Hong Son Province, by overall, were at high level ( =3.80, S.D.=0.50)
2. The relationship between Tisikkha and human resource development of Pangmu Sub-District Administrative Organization, Muang District, Mae Hong Son Province, was found, by overall, there was positive relationship at statistically significant level of 0.01 the relationship was at middle level (r=.408) Samadhi had positive relationship at statistically significant level of 0.01 (r=.599) Panna had positive relationship at statistically significant level of 0.01 positive relationship at middle level (r=.528)
3. Methods of Tisikkha application for human resource development of Pangmu Sub-District Administrative Organization, Muang District, Mae Hong Son Province, was found that Training, by applying Tisikkha, Sila, precepts, the need of organization, including discipline training, the tools to train Sila were disciplines at the starting point. There should be always Sila training for personnel. Samathi, concentration, there should be training for personnel to have right effort, right mindfulness, right concentration. Panna, wisdom, there should be training for personnel to have knowledge and use knowledge right away. Education, Tisikkha should be applied by the way of: Sila, to promote personnel learn according to their interest, learn to improve their capabilities, Samathi, to promote experience exchange with non-formal dialogues, lifelong learning to development body of knowledge, external resource persons could be invited to share experiences. Panna, training for the present work emphasizing the trainees to gain knowledge for immediate work. Development: Tisikkha application by; Sila, promoting life preparation to be ready for development, livelihood order to live in the society. Samathi, operation training to develop general capacity about life, mindfulness, concentration, happiness and cheerfulness. Panna, promoting experiences for personnel, readiness for personnel to learn to know things that might happen in the future.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|