-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิผลของการดำเนินการตามนโยบายด้านสาธารณสุขภายใต้ สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-19) ของเทศบาลตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Effectiveness of Public Health Policy Implementation under the Coronavirus 2019 (COVID-19) Outbreak Situation of San Na Meng Subdistrict Municipality in San Sai District, Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยนายกิตติธัช แผงตัน
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
- วันสำเร็จการศึกษา23/05/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49429
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 36
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลของการดำเนินการตามนโยบายด้านสาธารณสุขภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของเทศบาลตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของการดำเนินการตามนโยบายด้านสาธารณสุขภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของการดำเนินการตามนโยบายด้านสาธารณสุขภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินการตามนโยบายด้านสาธารณสุขภายใต้สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ของเทศบาลตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยประยุกต์ใช้หลักธรรมสัมมัปปทาน 4 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน ในเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ในส่วนของข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูล (Data Grouping) สาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประชาชนในตำบลสันนาเม็ง มีการนำหลักธรรมสัมมัปปทาน 4 มาประยุกต์ใช้ โดยค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก และด้านภาวนาปธาน อยู่ในลำดับมากที่สุด และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการดำเนินการตามนโยบายด้านสาธารณสุขฯ ของเทศบาลตำบลสันนาเม็ง ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านประสิทธิภาพ อยู่ในลำดับมากที่สุด
2) การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตามการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า ไม่แตกต่างกันในทุกด้าน
3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินการตามนโยบายด้านสาธารณสุขฯ ตามหลักสัมมัปปทาน 4 คือ เทศบาลต้องมีมาตรการในการที่จะให้ประชาชนใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท สวมใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ประชาชนจะต้องยอมรับและปฏิบัติตามนโยบายหรือมาตรการของทางภาครัฐ มีการบังคับใช้กฎระเบียบและมาตรการป้องกันและควบคุมโควิดอย่างเข้มงวด การเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ได้ดูแลสุขอนามัยตนเองและครอบครัว
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research on the effectiveness of public health policy implementation under the Coronavirus 2019 ( Covid-19) outbreak situation of San Na Meng Sub-district Municipality in San Sai District, Chiang Mai Province, aims to 1) to study the level of opinions on the effectiveness of public health policy implementation under the situation of the outbreak of the Coronavirus 2019 (COVID-19), 2) to compare opinions on the effectiveness of public health policy implementation under the situation of the outbreak of the Covid-19, and 3) to present guidelines applied by Buddhadhamma the “Padhāna 4” or “the Exertion 4” for increasing the effectiveness of the implementation of public health policies under the outbreak of the Covid-19 of Sannameng Subdistrict Municipality, San Sai District, Chiang Mai Province.
This research is a mixed method research, both quantitative and qualitative research. It collected data from 385 samples of the population for the quantitative study and 10 key informants for the qualitative study. In the quantitative study data was collected by using a questionnaire and then was analyzed by statistical software for social science research to find the frequency, percentage, mean, and standard deviation (S.D). The hypothesis was tested by T-test and F-test with a one-way analysis of variance (One-Way ANOVA). When there were differences, the pairwise differences were tested by the Least Significant Difference (LSD) method. In conducting a qualitative study, the interview information was grouped (data grouping) according to the interview issues, and the obtained data was described by content analysis techniques.
The results showed that
1) People in San Na Meng Subdistrict had applied “ Buddhadhamma “ Padhāna 4” or “ the 4 exertions” in their living of which the average was at a high level, and of the 4 exertions, their opinion on “Bhāvanā-padhāna” or “the effort to develop” was at the highest level. Besides their opinions about the effectiveness of public health policy implementation of San Na Meng Municipality was overall at a high level by which the efficiency of implementation was at the highest level.
2) The hypothesis testing by analyzing the differences according to personal factors such as gender, age, status, education level, and occupation found that there was no difference in all aspects.
3) Guidelines for enhancing the effectiveness of the implementation based on Buddhadhamma “Padhāna 4” of public health policies were as follows; the municipality must implement protective measures for the people to live their lives without heedless such as always wearing a mask, washing hands with alcohol gel, and accepting and following government protection policies or measures. Besides, the municipality must strictly enforce regulations and measures to prevent and control COVID, keeping on continuous surveillance of the situation as well as promoting people in the community to be alert and care for both their own health and family health.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|