-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิผลการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนของตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffectiveness of Community Welfare Fund Management of Umong Sabdistrict Mueang District Lamphun Province
- ผู้วิจัยNarandawamsa
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
- วันสำเร็จการศึกษา24/05/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49440
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 69
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนของตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตามหลักพุทธธรรมของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 356 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ ในส่วนของข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูล สาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1.ความคิดเห็นต่อการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนของเทศบาลตำบลอุโมงค์ ตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ พบว่าประชาชนในตำบลอุโมงค์ มีความคิดเห็นค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านอารักขสัมปทา อยู่ในลำดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านสมชีวิตา และด้านกัลยาณมิตตตา ส่วนด้านอุฎฐานสัมปทา อยู่ในลำดับน้อยที่สุด และประสิทธิผลการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน พบว่า ประชาชนในตำบลอุโมงค์ มีความคิดเห็นค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ในด้านประสิทธิภาพ อยู่ในลำดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านการปรับเปลี่ยน และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการผลิต ด้านความพึงพอใจ และด้านการพัฒนา ตามลำดับ
2.การเปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนของเทศบาลตำบลอุโมงค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (การทดสอบสมมติฐาน) โดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตามการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ไม่แตกต่างกัน
3.แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนตามหลักพุทธธรรมของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ควรมีการส่งเสริมให้สมาชิกได้มีความขยันหมั่นเพียรในการหาเลี้ยงชีพ การนำเงินส่งเข้าสมทบกองทุน ส่งเสริมให้คณะกรรมการกองทุนได้เอาใจใส่ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ มีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตน มีแนวทางการรักษาผลประโยชน์ของทั้งในส่วนกองทุนและสมาชิกกองทุน ส่งเสริมให้กรรมการกองทุนได้ตระหนักรู้ถึงการเก็บรักษาทรัพย์ของกองทุนและการใช้จ่ายของกองทุนอย่างคุ้มค่า มีการคัดเลือกกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เป็นคนดี มีความซื่อสัตย์ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกกองทุนและกรรมการกองทุน จะต้องเป็นบุคคลที่ที่เป็นคนดีมีศีลธรรม มีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ มีหลักสังคหวัตถุธรรมประจำใจ และควรมีการส่งเสริมให้สมาชิกได้รู้จักการบริหารจัดการชีวิตตนเองอย่างเหมาะสม รู้จักความพอประมาณตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสมตามอัตภาพของตนเอง รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่าย ประหยัดมัธยัสถ์ อดออม ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The research study the effectiveness of community welfare fund management of Umong Subdistrict, Mueang District, Lamphun Province. The purpose of this research was 1. to study the level of community welfare fund management effectiveness of Umong Sub-district Municipality, Mueang District, Lamphun Province, 2) to compare the effectiveness of community welfare fund management of Umong Sub-district Municipality, Mueang District, Lamphun Province, classified by personal factors. and 3) to study ways to increase the effectiveness of community welfare fund management according to Buddhist principles of Umong Subdistrict Municipality, Muang District, Lamphun Province. This research is an integrated research method. Both quantitative and qualitative research Data was collected from a sample of 356 people and 10 key informants or people. Collect data from all units of the population and collect data using questionnaires. The data were then analyzed using a package for social science research, to find the frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested by t-test and F-value with one-way analysis of variance. When differences were found, the pair differences were tested by the least significant difference method. The information from the interview. The researcher grouped the data according to the subject matter of the interview. Then do a content analysis.
The results showed that:
1. Opinions on the management of the community welfare fund of Umong Subdistrict Municipality according to the principle of view It was found that the people in Umong Subdistrict. The average opinion is included at a high level. When classified by side, it was found that protection in the order of the most. Followed by the aspect of life and the Kalyànamittatà side as for the Uññhànasampadà in lowest order and the effectiveness of community welfare fund management found that people in Umong sub-district the average opinion is included at a high level. In terms of efficiency in the order of the most followed by the change, and the lowest average was production and satisfaction, and development respectively.
2. Comparison of the effectiveness of community welfare fund management of Umong Subdistrict Municipality classified by personal factors (Hypothesis testing) by analyzing the diferences according to the classification according to personal factors, including gender, age, education level, occupation and income.
3. Guidelines for enhancing the effectiveness of community welfare fund management according to Buddhist principles of Umong Subdistrict Municipality according to the principle of Ditthadhammikattha, the members should be encouraged to be diligent in earning a living. Contribution to the fund eencourage fund committees to pay attention to perform their duties to the best of their abilities are responsible for performing their duties. There are guidelines for protecting the interests of both the fund and the fund members. Encourage fund directors to be aware of the safekeeping of the fund's assets and worthwhile spending of the fund. There is a selection of members of the community welfare fund who are good people. The honest emphasize on efficient fund management. Fund members and fund committee members must be a person with good morals have diligence in their careers. There is a principle of Sangkhahawatthu Dharma in the mind. And should encourage members to know how to manage their own lives appropriately. Knowing moderation according to the Sufficiency Economy Philosophy have a proper existence according to their own conscience. Know how to set income and expenses, spend economically, live life with carelessness.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|