-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาคุณภาพการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of Service Quality according to the Saṅgahavatthu Dhamma Principle of Li Sub-District Municipality, Li District, Lamphun Province
- ผู้วิจัยนางสาวอลิศา โชคสารฤทธิ์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ไกรสร แสนวงค์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
- วันสำเร็จการศึกษา24/05/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49450
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 104
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลลี้ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลลี้ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.991 จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ จำนวน 379 คน จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลลี้ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 7,001 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มาทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน แบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบว่า ด้านหลักสังคหวัตถุธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านปิยวาจา การพูดด้วยวาจาสุภาพ มีระดับมาก ด้านคุณภาพการให้บริการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า การรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ มีระดับมาก รองลงมาคือความน่าเชื่อถือในการให้บริการ และการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้รับบริการ มีระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี รายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลลี้ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของเทศบาลตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ควรนำหลักสังคหวัตถุธรรมไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ดังนี้ 1) ด้านทาน เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยหัวใจอย่างเต็มความสามารถ และมีมาตรฐานด้วยหลักการบริการสาธารณะ 2) ด้านปิยวาจา เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยคำพูดและกิริยาสุภาพ ด้วยความเป็นกันเอง 3) ด้านอัตถจริยา เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยความกระตือรือร้น พร้อมให้ความรู้ให้คำแนะนำ และ 4) ด้านสมานัตตตา เจ้าหน้าที่ให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน และให้บริการทุกคนด้วยความพึงพอใจของประชาชน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This study aims 1) to study the level of public service quality of the municipality, 2) to compare opinions about the service quality of the municipality, and 3) to provide the quality development guidelines based on Saṅgahavatthu 4 for Li Sub-District Municipality, Li Districts, Lamphun Province. The research is a quantitative and qualitative study (mixed-method). In collecting quantitative data, questionnaire with the reliability of 0.991 was used to collect the opinion from the 379 sample out of 7001 population living in the Li Sub-district municipality, aged 18 years and over. The data obtained was analyzed by statistical social science software to find frequency, percentage, mean and standard deviation to prove the hypothesis, and a one-way ANOVA was used to test the T and F values for two or more groups of variables. When there was a difference, a pair comparison test was performed by finding the least significant difference. As for the qualitative method, an in-depth interview was applied for 10 informants, and the data were analyzed by descriptive analysis method.
The results showed that 1) the quality level of service based on Saṅgahavatthu 4 of Li Sub-District Municipality, Li District, Lamphun Province, was overall at high level. Considerably by each aspects, piyavācā (polite speech) was at
a high level, quality of service was overall at high level, and knowing and understanding the recipients’ needs was at a high level. The service reliability came secondly and finally building confidence for service recipient was at high levels, respectively,
2) The comparison of opinions on service quality of Li Sub-district municipality, Li District, Lamphun Province, classified by personal factors, showed that people with different incomes had significantly statistical differences of 0.05 level of opinions on service quality, so the research hypothesis was accepted. For people with different genders, ages, education levels and occupations had no different opinions on the service quality, therefore, the research hypothesis was rejected,
3) Guidelines for improving the public service quality based on Saṅgahavatthu principle of Li Sub-district Municipality, Li District, Lamphun Province. The principle of Saṅgahavatthu should be applied to improve the quality of service as follows: 1) Dāna: municipal officials heartedly provide services with their fullest abilities according to the standard of public service principle, 2) Piyavācā: the officials provide services with polite words and friendly manner, 3) Atthacariyā: the officials provide services with enthusiasm, being ready to provide knowledge and advices,
4) Samānattatā: officials provide services equally and serve everyone with satisfaction to meet the needs of the people who ask for the service.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|