โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ตามหลักพุทธธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษTak Provincial Culture Office's Community-Based Culture Tourism Management Based on Buddhadhamma
  • ผู้วิจัยนายสรภาคย์ นาตะโย
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  • วันสำเร็จการศึกษา24/05/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49452
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 79

บทคัดย่อภาษาไทย

               สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยใช้ชุมชนเป็นฐานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3.เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานตามหลักพุทธธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็น การวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.804 จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนคุณธรรมน้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวรต้นแบบ วัดอัมพวัน หมู่ที่ 2 บ้านป่ามะม่วง ตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 242 คน จากประชากรทั้งหมด 614 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มาทดสอบสมมติฐาน ด้วยการทดสอบค่าที และค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ในกรณีตัวอิสระตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน แบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

                ผลการวิจัยพบว่า

                1. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านแหล่งท่องเที่ยว มีระดับมาก รองลงมาคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการบริการ และด้านผลิตภัณฑ์ของแหล่งท่องเที่ยว มีระดับปานกลาง

              2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก โดยจำแนกตามปัจจัย ส่วนบุคคล จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐาน การวิจัย และประชาชนที่มีอายุ รายได้ต่อเดือน และตำแหน่งหรือบทบาทในชุมชน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

              3. แนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานตามหลักพุทธธรรมของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก ควรประยุกต์หลักอปริหานิยธรรม 7 เพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดังนี้ (1) ควรกำหนดปฏิทิน การประชุมเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่องในรูปแบบการประชุมประจำเดือนหรือในวาระสำคัญ (2) ควรกำหนดจัดการประชุมที่มีวาระชัดเจนและแจ้งให้ทุกส่วนทราบล่วงหน้า ลงลายมือชื่อก่อนเริ่มการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อม (3) ควรออกกฎระเบียบและข้อตกลงผ่านกระบวนการประชาคมโดยยึดหลักของความถูกต้อง และไม่ขัดแย้งต่อวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิต (4) ส่งเสริมและ จัดกิจกรรมเพื่อแสดงออกถึงการเคารพนับถือผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโส และผู้นำ ในโอกาสวาระสำคัญ หรือเทศกาลต่างๆ เช่น กิจกรรมอบรมมารยาทไทย กิจกรรมรดน้ำดำหัววันสงกรานต์ กิจกรรม วันผู้สูงอายุ (5) สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพสตรีด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมให้มีบทบาทสำคัญร่วมกับชุมชน (6) ส่งเสริมจัดกิจกรรมตามประเพณีหรือโอกาสสำคัญต่างๆ ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในชุมชนตามหลักสืบสาน รักษา ต่อยอด (7) เน้นการบูรณาการการทำงานและสนับสนุนด้านทรัพยากรบุคคลและงบประมาณ สร้างความเข้มแข็งของกลุ่มพลังบวรจากฐานราก ทั้งด้านจิตใจ ด้านความเป็นอยู่ และด้านบทบาทของผู้นำ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              The objectives of this independent study are: 1. to study the level of opinions on community-based cultural tourism management of Tak Provincial Culture Office; 2. to compare public opinions on the community-based cultural tourism management of Tak Provincial Culture Office classified by personal factors; 3. to present a community-based cultural tourism management approach based on Buddhist principles of Tak Provincial Culture Office. This research used mixed method methodology. Quantitative research collected data using questionnaires with a reliability value of 0.804 for the entire sample group used in the research, namely people in the area of the morality community applied Philosophy of sufficiency economy driven by the Palang Borworn, Wat Amphawan, Moo 2, Ban Pa Mamuang, Pa Mamuang Subdistrict, Muang Tak District, Tak Province, aged 18 years and over, totaling 242 people from a total population of 614 people and analyzing the data by using a social science research software package to find frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypothesis was tested by t-test and F-test by one-way analysis of variance. In the case of two or more primary variables, when there is a difference, the pairwise means are compared using the least significant difference method. And qualitative research by means of in-depth interviews from 10 key informants or people, face-to-face, data were analyzed by descriptive content analysis.

              The results found that:

              1. The level of opinions on the community-based cultural tourism management of Tak Provincial Culture Office, overall, it was at a high level ( x ̅ = 3.51, S.D. = 0.327). when classified at each aspect, it found that tourist attractions were at a high level, followed by facilities. service and products of tourist attractions were at a moderate.

              2. Comparative results of public opinion on the management of community-based cultural tourism of Tak Provincial Culture Office classified by personal factors found that people with different gender, education levels, and occupations had different opinion on the community-based culture of Tak Provincial Culture Office at the statistical significance level of 0.05. Therefore, the research hypothesis was accepted. And, people with different age, monthly income, and positions or roles in the community did not have different opinions on the community-based cultural tourism management of Tak Provincial Culture Office. Therefore, the research hypothesis was rejected.

              3. Guidelines for the management of community-based cultural tourism based on Buddhist principles of Tak Provincial Culturel Office, there should apply the 7 Aparihaniya Dhamma principles to be a guideline for the management of cultural tourism as follows: (1) The project should continually set a meeting calendar in the form of a monthly meeting or on an important agenda. (2) Set a clear agenda and inform in advance, sign the signature before the start of the meeting. (3) Rules and agreements should be issued through the community process based on the principle of correctness. (4) Organize activities for people in the community to show respect for elders and leaders on important occasions or festivals. (5) Support the establishment of women professional groups in tourism, promote important roles with the community; (6) Promote traditional activities or important occasions in cultural attractions and transfer and exchange experiences within the community according to the principle of inheritance, preservation, and further development (7) Emphasizing the integration of work and support of human resources and budget, building the strength of Palang Borworn Group from the foundation both mentally, well-being, and the role of the leader.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ