โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมนโยบายสาธารณะด้านการศึกษา ของเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddha Dhamma Integration for Promote Public Policy in Education of Pratupa Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province
  • ผู้วิจัยว่าที่ ร.ต.หญิง ปิยกมล ณ วันนา
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ไกรสร แสนวงค์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
  • วันสำเร็จการศึกษา24/05/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49457
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 86

บทคัดย่อภาษาไทย

                 วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการส่งเสริมเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาของเทศบาลตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการส่งเสริมเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาของเทศบาลตำบลประตูป่า โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3.เพื่อนำเสนอแนวทางการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาของเทศบาลตำบลประตูป่า กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลประตูป่า จำนวน 369 คน ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาเชิงพรรณนา

                  ผลการวิจัยพบว่า

                 1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการส่งเสริมนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาของเทศบาลตำบลประตูป่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =3.39) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า การพัฒนาจัดการเรียนการสอนตลอดชีวิต และการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน เเละประชาชน พบว่าอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือการส่งเสริมสุขภาพแก่เด็กและเยาวชน อยู่ในระดับปานกลาง

                  2. ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนมีต่อการส่งเสริมนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาของเทศบาลตำบลประตูป่า โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชาชนที่มีอาชีพและรายได้มีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน ประชาชนที่มีเพศ อายุและวุฒิการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 

                  3. แนวทางการส่งเสริมนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาโดยนำหลักไตรสิกขามาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้านการศึกษา พบว่า 1) ควรมีการจัดทำระเบียบแบบแผนกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการพัฒนาพฤติกรรมทางกาย และวาจาให้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม และฝึกทักษะด้านสังคมที่พึงประสงค์ 2) ควรมีการพัฒนาจิตใจ ให้ตั้งมั่นตามแนวทางของการส่งเสริมด้านการศึกษา โดยยึดประโยชน์ของชุมชนเป็นหลัก 3) ควรมีการพัฒนาปัญญาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ตามแนวทางส่งเสริมด้านการศึกษา มีการวางระบบงานเพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The objectives of this thesis were 1) to study the level of public opinion towards the promotion of public policy in education of PratuPa Subdistrict Municipality, Mueang District, Lamphun Province. 2) to compare public opinions towards the promotion of public policy in education of PratuPa Subdistrict Municipality classified by personal factors. 3) to present the guidelines for integrating Buddhist principles to promote public policy in education of PratuPa Subdistrict Municipality. The sample group in this research was the people in Pratu Pa Subdistrict Municipality, totaling 369 people, research conducted by a mixed-method research, namely quantitative research and qualitative research. The statistics used in the analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation, T-test, F-test, and in-depth interviews with 15 key informants or people. The data was analyzed by descriptive content analysis.

               The research findings were as follow;

                1) The level of public opinion towards public policy promotion in education of Pratu Pa Subdistrict Municipality. The overall was at a moderate level (=3.39). When classified by each aspect, it was found that development of teaching and learning throughout life and organizing activities to develop children, youth and the public were found to be at a high level, followed by health promotion for children and youth at moderate level.                  

                2) The comparative effect of public opinion towards the promotion of public policy in education of Pratu Pa Subdistrict Municipality classified by personal factors. It was found that people with different occupations and incomes have different opinions, therefore accepting the research hypothesis, statistically significant at the 0.05 level. People with different gender, age and educational background did not have different opinions, so the research hypothesis was rejected.

                3) Guidelines for promoting public policy in education by integrating the threefold principle in the promotion of public policy in education, it was found that 1) there should have activities organization to promote learning which develop physical and verbal behavior in relation to the social environment and practice desirable social skills 2) mental development should  adhere to the guidelines of promoting education based on the benefit of the community 3) intellectual development to gain knowledge and understanding according to the educational promotion guidelines. There is a work system to create a more efficient work process.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ