โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษApplication of Buddha Dhamma for Welfare Management of the Elderly in the New Normal of Pasak Subdistrict Municipality in Mueang District, Lamphun Province
  • ผู้วิจัยนายวิชิต วัฒนพันธ์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  • วันสำเร็จการศึกษา24/05/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49462
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 50

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน  2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน  ดำเนินการวิจัยโดยการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods)ในเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำนวน 2,401 คน ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ 343 คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) ในเชิงคุณภาพ ได้สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูป/คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มข้อมูลตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล

              ผลการวิจัยพบว่า

              1) ระดับการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  x̄ = 3.35, S.D. = 0.38 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ในด้านที่อยู่อาศัย อยู่ในระดับมาก (  x̄ = 3.61, S.D. = 0.70 ) รองลงมาคือ ด้านนันทนาการ อยู่ในระดับมาก (  x̄ = 3.58, S.D. = 0.76) ด้านสุขภาพอนามัย อยู่ในระดับมาก (  x̄ = 3.55, S.D. = 0.64 ) ด้านด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว และผู้ดูแล อยู่ในระดับมาก (  x̄ = 3.51, S.D. = 0.68 ส่วนด้านรายได้ อยู่ในระดับปานกลาง = .๔๐,  S.D. = 0.68 )

             2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  พบว่า ผู้สูงอายุที่มีวุฒิการศึกษา และลักษณะที่อยู่อาศัย ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย  ผู้สูงอายุที่มีเพศ  อายุ  และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ไม่แตกต่างกัน            จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

               3) แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ของเทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน  1)ด้านปัญญาพละ กำลังปัญญา  คือ  ควรตรวจสอบ ศึกษาสภาพความเป็นจริง เพื่อการให้ความช่วยเหลือได้ตรงจุด ตรงตามความต้องการ ควรให้ความรู้ กับผู้สูงอายุในเรื่องที่ผู้สูงอายุต้องการ  เช่น  เทคโนโลยีการสื่อสาร  การใช้อินเตอร์เน็ต งานอาชีพ เป็นต้น 2) ด้านวิริยะพละ กำลังความเพียร  ควรศึกษาความต้องการ แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ระหว่างเทศบาลกับผู้สูงอายุ สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ควรมีความมานะ พยายาม ที่จะต้องการความช่วยเหลือผู้ที่ครองการรับสวัสดิการ การพยายามที่จะให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่เต็มกำลัง  3) ด้านอนวัชชพละ กำลังสุจริต  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารจัดการ  มีความเสมอภาคและเป็นธรรม  สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ  4) ด้านสังคหพละ กำลังสงเคราะห์ เทศบาลในฐานะผู้รับผิดชอบการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ  จะต้องเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ มีความเป็นกลาง  และสงเคราะห์ทั้งทางกำลังทรัพย์และปัญญา  ผู้สูงอายุ  คนในชุมชน ร่วมมือกันดูแลซึ่งกันและกัน แบ่งปันสิ่งของความรู้ แรงงาน ฯลฯ

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this research were: 1) to study the level of elderly welfare management in the new normal life of Pa Sak Sub-district Municipality, Muang District, Lamphun Province; 2) to compare opinions on the elderly welfare management in the new normal life of the municipality. Pa Sak Sub-district, Mueang District, Lamphun Province classified according to personal factors and 3) to present guidelines for applying Buddhist principles for elderly welfare management in the new life era of Pa Sak Sub-district Municipality, Mueang District, Lamphun Province. Quantitative Mixed Methods Research The population and the sample consisted of 2,401 elderly people aged 60 years and over and entitled to receive the old age allowance living in the area of Pa Sak Sub-district Municipality, Mueang District, Lamphun Province. The sample size of Taro Yamane, the sample size was 343 people. and collected data using a questionnaire. Data were analyzed using a software program for social science research. to find frequency, percentage, mean and standard deviation in characterizing general data. The hypothesis was tested by t-test and F-test by one-way analysis of variance (ANOVA). 10 key informants/people were interviewed using the interview form. and used data analysis by grouping data according to the essence of the interview issues. Then, content analysis was performed by describing the person's words.

The results showed that:

The results showed that 1)the level of welfare management of the elderly in the new normal life of Pa Sak Subdistrict Municipality, Muang District, Lamphun Province was overall at a high level ( = 3.35, S.D. = 0.38). Considering each aspect, the level of welfare management of the elderly in the new normal life of Pa Sak Subdistrict Municipality, Muang District, Lamphun Province in terms of housing was at a high level (  x̄  = 3.61, S.D. = 0.70), of recreation was at a high level ( x̄  = 3.58, S.D. = 0.76), of health care was at a high level (  = 3.55, S.D. = 0.64), of social, family and caretaker was at a high level (  x̄  = 3.51, S.D. = 0.68) and of income earning was at a moderate level  ( = 3.40, S.D. = 0.68)

2) the comparison of opinions on the elderly welfare management in the new life era of Pa Sak Subdistrict Municipality, Muang District, Lamphun Province, classified by personal factors showed that elderly with different education and habitat characteristics had different opinions on the management of the welfare of the elderly in the new normal life, therefore the research hypothesis was accepted, and the elderly with different sex, age and average monthly income had no different opinions on the welfare management of the elderly in the new normal life, therefore, the research hypothesis was rejected.

               3) guidelines applied the Buddhadhamma “ Bala 4” or “ the four powers” for elderly welfare management in the new normal life of Pa Sak Sub- Municipality, Muang District, Lamphun Province were as following, 1) paññā-bala (the power of wisdom): Pasak Municipality should examine and study the actual situation in order to provide support that meet the need, should educate with the elderly in matters that the elderly need, such as communication technology, internet use, professional work, etc , should study and examine elderly’s needs, as well as exchange information and knowledge between the municipality and the elderly to create a cooperated vision, 2) viriya-bala (the power of perseverance or diligence): it should eagerly serve for those who receive welfare, trying to help with all might, 3) anavajja-bala( power of faultlessness, blamelessness or cleanliness) : the municipality officials should perform duties with honesty, be morally and ethically in management with equality and fairness as well as creating the unity in the working group, 4) saṅgaha-bala (power of sympathy or solidarity) : the municipality are responsible for the welfare of the elderly it must be fair, accessible, helpful( being a giver rather than a taker) both in terms of wealth and wisdom to elderly and the people in community as well as should promote the elderly in the community corporately take care of each other, share knowledge, labor, and etc

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ