-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPromotion of People Participation in the Development of the Elderly’s Quality of Life in Si Bua Ban Sub-district Municipality, Muang Lamphun District, Lamphun Province
- ผู้วิจัยนายชิตวัฒน์ ต๊ะนา
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ไกรสร แสนวงค์
- วันสำเร็จการศึกษา24/05/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49468
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 63
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถาม ประชากรในการวิจัยคือ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 379 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาจัดกลุ่มข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาล ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมมีระดับมาก (x̄= ๓.๘๖, S.D. = ๐๕๘๘)เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการตัดสินใจ ด้านการดำเนินงาน ด้านการประเมินผล ด้านการรับผลประโยชน์ หลักอปริหานิยธรรม อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
2.ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน ในภาพรวมจำแนกตาม อาชีพ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัp
3.แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลศรีบัวบาน พบว่า ด้านการตัดสินใจคือการจัดทำประชาคมในชุมชน ด้านการดำเนินงานคือการประชาสัมพันธ์ในหลากหลายช่องทางเพื่อให้ได้รับรู้อย่างทั่วถึง และการจัดกิจกรรมเชิงรุกในพื้นที่ให้มากขึ้น ด้านการประเมินผลคือการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน ด้านการรับผลประโยชน์คือการทำกิจกรรมเพื่อสูงอายุในชุมชนอย่างต่อเนื่อง การนำหลักอปริหานิยธรรมมาประยุกต์ใช้พบว่า การประชุมร่วมกันอยู่เป็นประจำ การประสานความร่วมมือกับชุมชน การสร้างข้อตกลงร่วมกัน การสนับสนุนบทบาทของปราชญ์ผู้รู้ในชุมชน การเปิดโอกาสให้กลุ่มแม่บ้านและเยาวชนในชุมชน การใช้พื้นที่วัดเป็นเชื่อมโยงกิจกรรมผู้สูงอายุในชุมชนการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ในชุมชน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this study were: 1) to study the level of participation in the development of the quality of life for the elderly of Sri Bua Ban Subdistrict Municipality, Muang Lamphun District, Lamphun Province, 2) to compare the participation in the development of the quality of life for the elderly of Sri Bua Ban Subdistrict Municipality, Mueang Lamphun District, Lamphun Province that classified by personal factors, 3) to present the guidelines for promoting people's participation in the development of the quality of life for the elderly according to the principles of Aparihãnidhamma of Sri Bua Ban Subdistrict Municipality, Mueang Lamphun District, Lamphun Province.
This study was a mixed research method that consisted of quantitative research by questionnaires. The populations were people who lived in of Sri Bua Ban Sub-district Municipality, Muang Lamphun District, Lamphun Province. The samples were 379 people that collected by using a questionnaire and qualitative research. Data were collected by interviewing 10 key informants and quantitative research using data analysis with frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and f-test by one-way analysis of variance (ANOVA). When it was found that there were differences, then the pairwise differences were tested by Least Significant Difference (LSD) and qualitative research by in-depth interviews with 10 key informants using content analysis technique by data clustering and content analysis technique.
The results showed that
1. The level of opinions about participation in the development of the quality of life of the elderly of Sri Bua Ban Subdistrict Municipality, Mueang Lamphun District, Lamphun Province, there was overall at the high level (x̄= 3.86, S.D. = 0588). When classified by side, it was found that the decision-making, operation, assessment and receiving benefits according to Aparihãnidhamma, it was at the high level respectively.
2. The comparison results of the opinions level about the participation in the development of the quality of life of the elderly of Sri Buaban Subdistrict Municipality. Overall, classified by occupation was significantly different at the 0.05 level. Therefore, the research hypothesis was accepted. Other aspects were not different, and then the research hypothesis was rejected.
3. Guidelines for promoting people's participation in the development of the quality of life for the elderly according to Aparihãnidhamma principle of Sri Bua Ban Sub-district Municipality, it was found that the decision-making aspect was to make community in the community. The operational aspect was public relations in various channels to gain all over and organizing more proactive activities in the area. The evaluation aspect was an opportunity for the public to take part in auditing performance. The receiving benefit aspect was to make the activities for the elderly in the community continuously. The application of Aparihãnidhamma was found that meeting together regularly, collaboration with the community, making a mutual agreement, supporting the role of scholars in the community, the opportunities for housewives and youth in the community, using the temple area to link the activities of the elderly in the community, promoting the role of monks in the community.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|