-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้นำท้องที่ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Application for Increasing the Effectiveness of Local Administration officers in Huaiyab Sub-district in Banthi District in Lamphun Province
- ผู้วิจัยนางสาวอัจฉรา ปัญโญใหญ่
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สามารถ บุญรัตน์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
- วันสำเร็จการศึกษา24/05/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49469
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 85
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้นำท้องที่ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้นำท้องที่ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3)เพื่อนำเสนอแนวทางการประยุกต์ หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้นำท้องที่ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน โดยได้กำหนดรูปแบบการวิจัยตามรายละเอียดดังนี้
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถาม ประชากรในการวิจัยคือ ประชาชนในเขตตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 378 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาจัดกลุ่มข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique) พร้อมทั้งนำเสนอโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้นำท้องที่บ้านตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.28, S.D. = 0.351) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านขันติ (ความอดทน อดกลั่น) ส่วนอยู่ในระดับมากคือ ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านจาคะ (ความเสียสละ) ด้านสัจจะ (ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง) ด้านการจัดหมู่บ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ด้านการรายงานต่อทางราชการ ด้านการจัดทำทะเบียน ด้านการนำข้อราชการไปประกาศแก่ราษฎร ด้านทมะ (การฝึกฝน ฝึกนิสัย ปรับตัว) ด้านการฝึกอบรมราษฎร และด้านการบำรุงและส่งเสริมอาชีพแก่ราษฎร ตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้นำท้องที่บ้านตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ในภาพรวมจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ในภาพรวมทุกด้านไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้นำท้องที่ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน พบว่ามีเป้าหมายที่ชัดเจนในการดูแลความเรียบร้อยในชุมชน การให้ความสำคัญในการเก็บข้อมูลที่มีความชัดเจนถูกต้องและจัดลำดับความสำคัญได้อย่างเหมาะสม การหมั่นสำรวจข้อมูลชุมชนที่ครอบคลุมครบถ้วน การสื่อสารต้องมีความชัดเจนทั่วถึงครอบคลุม การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์เพื่อวางแผนพัฒนาความรู้ทักษะที่จำเป็นและการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การหนุนเสริมอาชีพที่เป็นภูมิปัญญาและการพัฒนาความรู้ทางอาชีพเพื่อให้เกิดการต่อยอด มีขั้นตอนที่ชัดเจนในการจัดการชุมชนและการสร้างข้อตกลงร่วมเพื่อให้เกิดเป็นค่านิยมร่วมในชุมชนในการยึดถือปฏิบัติตาม การให้คำปรึกษาข้อกฎหมายและมีการยึดถือการใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ แนวทางในการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของผู้นำท้องที่บ้านตำบลห้วยยาบ มีดังนี้ ด้านสัจจะคือความซื่อสัตย์ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในการทำงานชุมชนในทุกด้าน ด้านทมะคือการฝึกฝนปรับตัวช่วยให้ผู้นำท้องที่ได้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้านขันติคือความอดทนช่วยให้ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งและต่อต้านได้ ด้านจาคะคือความเสียสละช่วยให้เกิดการช่วยเหลือพึ่งพากัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research study aimed 1) to study the level of public opinion towards the performance of local leaders in Huai Yap Subdistrict, Ban Thi District, Lamphun Province, classified by individual factors, 2) to compare people’s opinions on the effectiveness of local leaders’ performance in Huai Yap Subdistrict, Ban Thi District, Lamphun Province, classified by personal factors, and 3) to present guidelines for application Buddhist principles to increase the effectiveness of local leaders in Huai Yap Subdistrict, Ban Thi District, Lamphun Province, with the following details:
This research was conducted according to the integrated research methodology. It consisted of quantitative research by distributing questionnaires. The research population were 378pPeople in Huay Yap Sub-district, Ban Thi District, Lamphun Province. Data were collected by using questionnaires. Data analysis in quantitative research was to find frequency, percentage, mean, standard deviation, and analyzed by t-test and F-test by one-way analysis of variance (ANOVA). When there was a difference, Least Significant Difference (LSD) method and qualitative research by in-depth interviews were used with 10 key informants by using content analysis technique clustered data. The content analysis technique was used, along with the presentation by descriptive references to people’s words.
The results showed that
1. The level of people’s opinions towards the effectiveness of the performance of local leaders at Ban Huai Yap Subdistrict, Ban Thi District, Lamphun Province were generally at a high level (x̄= 4.28, S.D. = 0.351). When it was classified by aspect it was found that the highest level was Khanti (patience and refinement), while the high level was law enforcement administrative and maintaining peace, Càga (sacrifice), Sacca (honesty, honesty), keeping the village in order, reporting to the government, registration in bringing government information to the people, Dama (training, practicing habits, adapting), training people, and maintenance and career promotion for the people, respectively.
2. The results of the comparison of public opinion on the effectiveness of local leaders in Ban Huay Yap Subdistrict, Ban Thi District, Lamphun Province in general were classified by sex, age, education level, occupation, and income. Overall, all aspects were not different. Therefore, the research hypothesis was rejected.
3. For guidelines for applying Buddhist principles to increase the effectiveness of local leaders in Huai Yap Subdistrict, Ban Thi District, Lamphun Province, it was found that there was a clear goal in maintaining order in the community. The importance of collecting information that was clear, accurate and prioritized appropriately with regular surveys of comprehensive community information. Communication must be clear and comprehensive. Data analysis for planning to develop was also necessary with knowledge and skills and coordinating with relevant agencies. Encouraging wisdom careers and professional knowledge development for further development was important. There were clear procedures for managing the community and creating collective agreements to create common values in the community to uphold. Advising on legal matters and adhering to the use of the law equally without discrimination should be done as well. Guidelines for applying the Buddhadhamma principles to increase the effectiveness of local leaders in Ban Huai Yap Subdistrict were as follows: Sacca referred to honesty that created credibility in all aspects of community work. On the other hand, Dama was an adaptive practice that helped local leaders develop themselves continuously. Khanti was tolerance, which helped reduce the risk of conflict and resistance. For Càga, it was sacrifice that helped crating dependency of each other.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|