โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคเหนือ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษADMINISTRATION OF CHARITY SCHOOL IN BUDDHIST TEMPLE BASED ON SANGAHAVATTHU DHAMMA IV UNDER THE OFFICE OF PRIVATE EDUCATION COMMISSION IN THE NORTH
  • ผู้วิจัยนายณัฏฐนนท์ เดชนภาพร
  • ที่ปรึกษา 1พระครูพิพิธจารุธรรม, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร. สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล
  • วันสำเร็จการศึกษา07/06/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49478
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 57

บทคัดย่อภาษาไทย

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ตามหลักสังคหวัตถุ 4 สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคเหนือ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนการกุศลของวัดใน พระพุทธศาสนา ตามหลักสังคหวัตถุ 4 สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคเหนือ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้นจํานวน 769 รูป/คน กําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ ตารางสําเร็จรูปของ เครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย รวมทั้งสิ้นจํานวน 254 รูป/คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  ได้กําหนดกลุ่มเป้าหมายดังนี้ ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษาจํานวน 20 รูป/คน และครูผู้สอนจำนวน 234 รูป/คน รวมทั้งสิ้น 254 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-Test F-Test (OneWay ANOVA) และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

        1. สภาพการบริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ตามหลักสังคหวัตถุ 4 พบว่า โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดนด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านการบริหารงบประมาณตามหลักสังคหวัตถุ 4 รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 และด้านงานบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4 และด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4

        2. เปรียบเทียบการบริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ตามหลักสังคหวัตถุ 4 จำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        3. แนวทางในการบริหารโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ตามหลักสังคหวัตถุ 4 มีดังนี้ 1) ด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ควรมีการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและบริบทของชุมชน 2) ด้านการบริหารงานงบประมาณตามหลักสังคหวัตถุ 4 ควรมีการ จัดทำแผนงบประมาณตามแผนงานโครงการเพื่อใช้ในการศึกษาจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษาให้ เกิดประโยชน์สูงสุด 3)ด้านการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4  ควรกำหนดการสรรหาบุคลากรทางการศึกษาให้ตรง ต่อความต้องของสถานศึกษาประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปอย่าง ต่อเนื่อง 4)ด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักสังคหวัตถุ 4 ควรมีระบบคัดเลือกคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดระบบ การบริหารและพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลพร้อมทั้งพัฒนาเครือข่ายข้อมูล สารสนเทศตามแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        The aims of this documentary research were : 1) to study the conditions of the admimistration of charity schools in Buddhist temples based on Sangahavatthu Dhammas IV (four bases of social solidarity, sangahavatthu-dhamma): 2) To compare the opinions of the administrators and teachers in the studied schools towards the mentioned administration; 3) To study the ways to admimistrate the charity schools in Buddhist temples based on the dhamma to administrators The Office of Private Education Commission in The North. This mixed method research had its samples as 769 administrators and teachers, selected by simple random sampling while the sample size was determined by Krejcies & Morgan method. The samples of this research are 254 of the samples, Using Purposive Sampling, the target groups were as follows: 20 educational administrators and 234 teachers, totaling 254 person. data collection tools as a questionnaire and structured interviews Data analysis by using statistical software package was used for data analysis such as percentage, mean, standard deviation, T-Test, F-Test (OneWay ANOVA), and descriptive analysis.

The research results were as follows:

        1) Administrative condition of charity schools of Buddhist temples According to the Sangahavatthu dhammas IV principles, it was found that, overall, the practice was at the highest level. When considering each aspect, it was found that the practice was at a high level in all aspects. The side with the highest practice was in terms of budget management according to Sangahavatthu dhammas IV, followed by general administration according to Sangahavatthu dhammas IV, and personnel administration according to Sangahavatthu dhammas IV, and academic administration according to Sangahavatthu dhammas IV.

        2) Comparison of charity school administration of Buddhist temples According to Sangahavatthu dhammas IV, classified by position, educational background and work experience, it was found that the difference was statistically significant at the .05 level.

        3) Guidelines for the administration of charity schools of Buddhist temples According to the Sangahavatthu dhammas IV principles, they are as follows:1) Academic administration according to Sangahavatthu dhammas IV should develop curricula of educational institutions in accordance with the core curriculum and community context. 2) Budget management according to Sangahavatthu dhammas IV should be A budget plan is prepared according to the project plan for use in studying the budget allocation of educational institutions. maximum benefit 3) Personnel management in accordance with the Sangahavatthu dhammas IV principles should determine the recruitment of educational personnel to match the needs of educational institutions to continuously assess the performance of teachers and educational personnel. 4) In general administration according to Sangahavatthu dhammas IV, there should be a system for selecting the committee of basic education institutions. Management and development of the organization with efficiency and effectiveness as well as the development of information networks. Information according to the strategic plan of educational institutions.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ