-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ของเทศบาลตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษApplication of the Sangahavathut Dhamma Principle to Increase Service Efficiency of Nong Long Subdistrict Municipality Wiang Nong Long District Lamphun Province
- ผู้วิจัยนางสาวพิมพ์รดา นิยมพัฒนารักษ์
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร ไกรสร แสนวงค์
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.เสน่ห์ ใจสิทธิ์
- วันสำเร็จการศึกษา24/05/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49480
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 105
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน 2)เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล 3) แนวทางการประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการแจกแบบสอบถาม ประชากรในการวิจัยคือ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way Anova) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการหาผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11รูปหรือคน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาจัดกลุ่มข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา(Content Analysis Technique) พร้อมทั้งนำเสนอโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.10, S.D. = ๐.๖๔๒) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านทาน รองลงมาคือด้านอัตถจริยา รองลงมาคือด้านสมานัตตตา รองลงมาคือด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ รองลงมาคือด้านอาคารสถานที่ รองลงมาคือด้านปิยวาจา รองลงมาคือด้านขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ รองลงมาคือด้านวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ในภาพรวมจำแนกตาม เพศ (t = -1.534, Sig.= 0.126) อายุ (F= 1.011, Sig.= 0.411) สถานภาพ (F= 1.627, Sig.= 0.183) ระดับการศึกษา (F= 2.609, Sig.= 0.051) อาชีพ (F= 1.965, Sig.= 0.083) และรายได้ (F= 1.105, Sig.= 0.347) ในภาพรวมทุกด้านไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. แนวทางการประยุกต์หลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน พบว่า แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองล่องมีดังนี้ ด้านขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการคือการพัฒนาวิธีการให้บริการที่มีความทันสมัยเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการคือการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ให้มีทักษะความสามารถที่เหมาะสมในการทำหน้าที่ด้านอาคารสถานที่คือการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการให้บริการประชาชนด้านวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีคือการพัฒนาเครื่องมือและความรู้ในการให้บริการที่มีความทันสมัย การประยุกต์ให้หลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองล่องมีดังนี้ ด้านทานคือการปลูกฝังให้เกิดจิตสาธารณะเพื่อการให้บริการ ปิยะวาจาคือการใช้คำพูดอย่างเหมาะสมอยู่บนการให้เกียรติกัน อัตถจริยาคือการให้บริการทุกคนอย่างเท่าเทียม สมานัตตตาคือการวางตัวให้เหมาะสมเสมอต้นเสมอปลาย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were 1) to examine the level of service efficiency of Nong Long Subdistrict Municipality, Wiang Nong Long District, Lamphun Province, 2) To compare the opinions about service efficiency of Nong Long Subdistrict Municipality, Wiang Nong Long District, Lamphun Province, classified by personal factors, and 3) Guidelines for the application of Sankhahavatthudhamma principles for increasing service efficiency of Nong Long Subdistrict Municipality, Wiang Nong Long District, Lamphun Province.
This research was a mixed method and a quantitative research by questionnaires. The population were people who lived in Nong Long Subdistrict Municipality, Wiang Nong Long District, Lamphun Province. The samples are 370 people and this study was a quantitative research, the data were collected using a questionnaire and analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test and f-test by one-way analysis. When they was found to be different, they were tested for pairwise differences by Least Significant Difference (LSD) method and qualitative research by in-depth interviews with 11 key informants by using content analysis techniques to group data using content analysis method (Content Analysis Technique) as well as presenting with a descriptive method referring to people's words.
The results showed that
1. The level of public opinion towards service efficiency of Nong Long Subdistrict Municipality, Wiang Nong Long District, Lamphun Province. Overall, it was at a high level ( = 4.10, S.D. = 0.642) when classified by side, I was found that Dãna. Followed by Atthacariyã, Samãnattatã, service personnel and facilities. Followed by Piyavãcã, the process and duration of service, equipment and technology. All aspects were at a high level respectively.
2. The comparison of public opinion level towards service efficiency of Nong Long Subdistrict Municipality, Wiang Nong Long District, Lamphun Province . Overall, classified by gender (t = -1.534, Sig.= 0.126), age (F= 1.011, Sig.= 0.411), status (F= 1.627, Sig.= 0.183), education (F= 2.609, Sig.= 0.051), occupation (F= 1.965, Sig.= 0.083) and income (F= 1.105, Sig. = 0.347) all aspects were not different, therefore, the research hypothesis was rejected.
3. Guidelines for applying Sangkhahavatthudhamma principle for incresing service efficiency of Nong Long Subdistrict Municipality, Wiang Nong Long District, Lamphun, including the process and duration of the service was the development of modern service method to be faster and more systematic. The service staffs were to develop the staff's potential to have appropriate skills and abilities to perform the duties. The facilities were to arrange an environment suitable for serving people. The equipment and technology were the development of modern tools and knowledge to provide services. The applications of Sanghavatthudhamma to increase the service efficiency of Nong Long Subdistrict Municipality were as follows: Dãna was to cultivate a public mind for service; Piyavãcã was the proper use of words based on respect each other; Atthacariyã was to serve everyone equally; Samãnattatã was consistently appropriate posture.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|