โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัด เพชรบูรณ์
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษResult-based Administration of Phetchabun Municipality, Phetchabun Province
  • ผู้วิจัยพระมหาสิทธิศักดิ์ สิทฺธาภิรโต (เสนา)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • ที่ปรึกษา 2ผศ . ดร . เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา14/03/2019
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/495
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 213
  • จำนวนผู้เข้าชม 491

บทคัดย่อภาษาไทย

              การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2.เพื่อเปรียบเทียบความเห็นของพนักงานต่อการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3.เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
              ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสารวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จานวน 175 คน จากประชากรทั้งหมด 307 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทาการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสาคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสาคัญจานวน 12 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
              ผลการวิจัยพบว่า
              1. ระดับพนักงานมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̅=3.82) เมื่อจาแนกเป็นรายด้านพบว่า 1.ปัจจัยนาเข้า ด้านนโยบายของเทศบาล (x̅=3.93) ด้านบุคลากร (x̅=3.73) ด้านงบประมาณ (x̅=3.84) ด้านวัสดุอุปกรณ์(x̅=3.79) 2.กระบวนการ ด้านการวางแผน (x̅= 3.87) ด้านการบริหารจัดการ (x̅= 3.79) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (x̅= 3.82) ด้านการติดตามและประเมินผล (x̅= 3.80) ทุกด้านอยู่ในระดับ และ 3.ด้านผลผลิต ประเมินผลของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ (x̅=3.83) 4. ด้านข้อมูลย้อนกลับ (x̅= 3.79) 5. ด้านสภาพแวดล้อม (x̅= 3.80) ทุกด้านอยู่ในระดับมาก
             2.เปรียบเทียบความเห็นของพนักงานต่อการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีอายุ รายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัยส่วนพนักงานที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตาแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
              3.แนวทางการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ คือ ผู้บังคับบัญชาและบุคลากรในองค์กรควรให้ความสนใจในการดูแลเอาใจใส่ในการปฏิบัติงาน และช่วยแก้ไขปัญหาเมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติงาน เปรียบเสมือนทุกคนในองค์กรเป็นครอบครัว และควรส่งเสริมให้พนักงานทุกคนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจ ผลการปฏิบัติงานก็จะออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ ควรบริหารจัดการเรื่องอานาจหน้าที่ งานที่รับผิดชอบให้เหมาะสมจัดคนให้เหมาะกับงาน การกระจายงานให้เหมาะสมกับกับความสามารถของพนักงาน ผู้บังคับบัญชาควรส่งเสริมให้พนักงาน ได้ร่วมประชุม ฝึกอบรม ดูงาน เพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้ความสามารถอยู่เสมอ ควรจัดโครงการอบรมเกี่ยวกับธรรมะเข้ามาขัดเกลา ควรมีการวางแผนงานที่จะประยุกต์ใช้หลักธรรมเข้ามาในการปฏิบัติงาน และจัดหาเวลาที่เหมาะส

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              Objectives of this research were 1. to study the level of Administrative Achievement model of Phetchabun Municipality, Phetchabun Province, 2. to compare the opinions of the employees towards the Administrative Achievement model of Phetchabun Manicipality, Phetchabun Province and  3. to study the Guidelines for Administrative Achievement model of Phetchabun Manicipality, Phetchabun Province.
             Methodology was mixed methods: The quantitative research applying the survey method collected data from 175 derived from 307 employees of Phetchabun Municipality Office, analyzed data by Frequency, Percentage, Mean and Standard deviation, t-test and the F-test value by means of two or more initial variables. When it is found that there are differences, it will compare the difference in pairs with the Least Significant Differences, LSD. The qualitative research collected data from 12 key informants by in-depth-interviewing and analyzed data by descriptive interpretation.
             Findings of this research were as follows:
             1. The staff’s opinions on the result-based management of the Phetchabun Municipality by overall were at a high level (x̅ = 3.93) Each aspects of; 1) inputs were also at high level as; policy was at high level (x̅ = 3.93) Personnel was at x̅ = 3.73, budget was at x̅ = 3.84,materials and equipment were at x̅ = 3.79. 2) Process; planning was at x̅ = 3.87, management was at x̅ = 3.79, achievement was at x̅ = 3.82, monitoring and evaluation were at x̅ = 3.80, all aspects are at a high level. 3) outputs; Evaluation of the municipality of Phetchabun was at x̅ = 3.83, 4) feedback was at x̅ = 3.79 , 5) Envir0nment was at x̅ = 3.80. All aspcts are at the high level.
              2. Comparison of the employee’s opinions towards the result-based management of Phetchabun Municipality. Classified by personal factors, indicated that employees with different ages, monthly incomes had different opinions on the result-based management of Phetchabun Municipality with statistical significance at the level of 0.05, accepting the set hypothesis. Employees with different sex, educational level and positions did not have different opinions towards the result-based management of Phetchabun Municipality, rejecting the set hypothesis.
             3. Guidelines for result-based management of Phetchabun municipality were as follows:, The supervisors and personnel of the organization should be interested in caring for the operation and helped out to solve problems in the operation like everyone in the organization as a family, should promote all employees to live together with love, warmth, understanding, sympathy so that work performance will come out effectively. Management of authority, responsibility work. distribution of work should be carried out to suit the ability of employees. Supervisors should encourage employees to attend seminar, training sessions, educational tour to increase and develop knowledge. Training on Dharma should be provided to develop the minds and appropriate Dhamma principles to be used in operation. Work process also should be reduced and employees with suitable competencies should be assigned to the job for work efficiency. Furthermore, salaries should be adjusted to suit the amount of work and responsibility.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 15.47 MiB 213 4 มิ.ย. 2564 เวลา 20:06 น. ดาวน์โหลด