โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of Buddhadhamma for Promoting Administrative Effectiveness in Local Administrative Organizations in Ubolrachatani Province.
  • ผู้วิจัยนายถนัด ไชยพันธ์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.พิเชฐ ทั่งโต
  • ที่ปรึกษา 2รศ.ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
  • วันสำเร็จการศึกษา22/03/2018
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/496
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 285
  • จำนวนผู้เข้าชม 797

บทคัดย่อภาษาไทย

            งานวิจัยฉบับนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อเสนอการพัฒนาการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลสัมภาษณ์รายบุคคล จำนวน 18 รูป/คน และจากแบบสอบถามจำนวน 363 คน/ชุด
            ผลการวิจัย พบว่า
            1. ประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ลำดับที่หนึ่ง คือ ด้านการปฏิบัติราชการ ( = 3.74) ลำดับที่สอง คือ ด้านการพัฒนาองค์กร ( = 3.74) ลำดับที่สาม คือด้านคุณภาพการให้บริการ ( = 3.67) และลำดับสุดท้าย คือ ด้านแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ( = 3.60) 
             2. หลักพุทธธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า หลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.61) และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านโดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ หลักอัตตัญญุตา (รู้ตน รู้ว่าตนเองมีคุณสมบัติ มีความรู้อย่างไร) ( X = 3.70) และหลักมัตตัญญุตา(รู้จักประมาณ รู้จักความพอดี) (  = 3.70) รองลงมา หลักอัตถัญญุตา (รู้จุดกมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้จักผล) ( = 3.68) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ หลักปริสัญญุตา (รู้ชุมชน รู้สังคม สามารถแก่ปัญหาต่างๆได้) ( = 3.35) และหลักพละ 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ลำดับที่หนึ่ง คือ ด้านสังคหพละ (กำลังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคน) (  = 3.55) ลำดับที่สอง คือ ด้านวิริยะพละ (กำลังความขยันหมั่นเพียร) ( = 3.52) ลำดับที่สาม คือ ด้านอนวัชชพละ (กำลังความชื่อสัตย์สุจริต) (X = 3.36) และลำดับสุดท้าย คือ ด้านปัญญาพละ มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( = 3.30) 
              3.การพัฒนาการส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำหลักสัปปุริสธรรม 7 และพละ 4 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน จะส่งผลและก่อให้เกิดหลักการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ คือ ในการทำงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น จะมีหลักการ กฎเกณฑ์ในการทำงาน รู้ถึงสถานภาพความรู้ ความถนัด ความสามารถ ทั้งของตนเองและบุคคลอื่น ตลอดจนในการสั่งการหรือหมอบหมายงานหรือการบริหารงานต่าง ๆ จะมีความเหมาะสมและสมกับงานนั้น ๆ ตลอดจนมีความคุ้มค่า พอประมาณ และสอดคล้องกับความการของประชาชนเพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นก่อเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดนำหลักการเหล่านี้ไปเป็นแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมจะทำให้การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพและเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะสร้างคนให้มีความรู้ มีความสามารถ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น มีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะประกอบการงานอาชีพและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับชีวิตของประชาชนอีกด้วย 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            The purposes of this research were 1) to study the administrative effectiveness promotion of Local Administrative Organizations in Ubolrachatani Province, 2) to examine the Buddhist principles affecting the administrative  effectiveness of the local administrative organizations in Ubolrachatani Province, and 3) to propose the development fo administrative effectiveness promotion according to the Buddhist principles at Local Administrative Organizations in Ubolrachatani Province. This study is a mixed methodology research between qualitative research and quantitative research. The quantitative research method collecting data from 363 voting eligible samples form 18 constituencies in Ubolrachatani Province.
           Findings were as follows:
           1. Effectiveness of Local Administrative Organizations in Ubon Ratchathani Province, as a whole, was at a high level (  = 3.69). When considering each aspect, it the first one was the government ( =3.74). The second was the organizational development (  =3.74). The third was the quality of service (  = 3.67) and the last was the development plan of the local government organizations (  = 3.60).
           2. Buddhist principles affecting the administrative effectiveness promotion of local government organizations in Ubon Ratchathni Province were Sappurisa - dhamma 7 which affected the effectiveness promotion of the management of the local governments, as a whole, at a high level (  = 3.61). When considering each aspect based on the mean scores from high to low, the highest mean scores were Attannuta (knowing how they are qualified) (  = 3.70)and Mattannuta (knowing the moderation) (  = 3.70), followed by Atthannuta (knowing goals and results) (  = 3.68). The lowest mean scores were Parisannuta (knowing communities and solutions) (  = 3.35). In addition, Bala 4 (The Four Powers) also affected the  administrative effectiveness promotion of the local administrations in Ubon Ratchathani Province, as a whole, at a high level (  = 3.43). When considering each aspect, the first one was Sangaha Bala (power of solidarity) (  =3.55). The second was Viriya Bala (power of diligence) ( = 3.52). The third was Anavajja Bala (power of faultlessness) (  = 3.36), and the last one was Panna Bala (power of wisdom) (  = 3.30).
            3. The administration guidelines of local administrative organizations using Sappurisa-dhamma 7 and Bala 4 in the management would result in effective administration. The local administrative organization employees would have rules of work, knowledge status, aptitude, ability of both themselves and others, as well as the assignment of work or assignments, which would be appropriate for certain tasks. Moreover, their work performance would be worth, moderate, and in accordance with the public in order to maximize public benefits. 
            If local governments adopt these principles as a guideline to promote the administrative effectiveness according to Buddhism, the administration will be effective and become a crucial factor for development. As a result, it is important to develop people to have knowledge, skills, necessary basic skills, good temperament, readiness to fight for themselves and the society, as well as to engage in a career and develop the lives of the people.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ
Full Text Full Text.pdf 17.35 MiB 285 7 มิ.ย. 2564 เวลา 23:16 น. ดาวน์โหลด