-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ:ศึกษากรณีตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSanghawatudhamma Integration Prin For Promoting Desirable Leadership Qualities Of State Welfare Card Policy Administrators: A Case Study Of Phaeng Subdistrict Kosumphisai District, Mahasarakham Province
- ผู้วิจัยนายเดชศักดิ์ดา ใสสะอาด
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุกานดา จันทวารีย์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สยามพร พันธไชย
- วันสำเร็จการศึกษา03/07/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49651
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 89
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ:ศึกษากรณีตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ:ศึกษากรณีตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 3.เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ:ศึกษากรณีตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการแจกแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในเขตตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1.คุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ: ศึกษากรณีตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับสูงที่สุดคือ 2. ด้านปิยวาจา (การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน) รองลงมาคือด้าน 3. ด้านอัตถจริยา (การสงเคราะห์ช่วยเหลือกัน)อยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีระดับน้อยที่สุดคือ 1. ด้านทาน (การเสียสละเอื้อเฟื้อแบ่งปัน) และ 4. ด้านสมานัตตตา (การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ) อยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ: ศึกษากรณีตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (R=0.911**) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมุติฐาน
3. แนวทางการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ของผู้บริหารนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ:ศึกษากรณีตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ผู้บริหารควรนำหลักคุณธรรมสังคหวัตถุธรรมทั้ง 4 หลักมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับแนวคิดของหลักภาวะผู้นำ เพื่อให้การบริหารมีความสำเร็จที่สมบูรณ์อย่างยั่งยืนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ของงาน ประสิทธิภาพและความสัมพันธ์อันดีกับประชาชน ดังนี้ 1) หลักทาน มีแนวคิดสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับความสะดวกอย่างเพียงพอ 2) หลักปิยวาจา การที่จะผูกมัดใจประชาชนได้นั้นต้องอาศัยการพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อประชาชน 3) หลักอัตถจริยา ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่มารับบริการเกี่ยวกับบัตรสวัสดิการ คอยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเวลามารับบริการบัตรสวัสดิการอย่างทั่วถึง 4) หลักสมานัตตตา การวางตัวเสมอต้นเสมอปลายเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ ประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย ให้คำปรึกษาต่อประชาชนที่มารับบริการอย่างเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the desirable characteristics of state welfare card policy administrators on a case study of Phaeng Subdistrict, Kosum Phisai District, Maha Sarakham Province; 2) to explore the correlation between Saṅgahavatthu and desirable characteristics of state welfare card policy administrators on a case study of Phaeng Subdistrict, Kosum Phisai District, Maha Sarakham Province; and 3) to study the guidelines for integrating Saṅgahavatthu to promote desirable characteristics of state welfare card policy administrators on a case study of Phaeng Subdistrict, Kosum Phisai District, Maha Sarakham Province.
The study employed mixed-methods research including quantitative and qualitative methods. The quantitative method used questionnaires to collect data. A sample group included those who were above 18 years old and lived in Phaeng Subdistrict, Kosum Phisai District, Maha Sarakham Province. A sample size of 384 persons was determined using Taro Yamane formula. The obtained data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient. For qualitative method, the tool used was in-depth interview with 12 key informants. The obtained data were analyzed by content analysis technique.
From the study, the following results were found:
1) The desirable characteristics of state welfare card policy administrators on a case study of Phaeng Subdistrict, Kosum Phisai District, Maha Sarakham Province were overall at a high level (x̄ = 3.61, S.D. = 0.532). When each aspect was examined, all aspects were at a high level with the following order from high to low: Piyavācā (kindly speech) with a mean of x̄ = 3.63, followed by Atthacariyā (useful conduct) with a mean of x̄ = 3.61, and Dāna (giving) with a mean of x̄ = 3.60. While Samānattatā (even and equal treatment) was at a high level in all aspects.
2) Saṅgahavatthu and desirable characteristics of state welfare card policy administrators on a case study of Phaeng Subdistrict, Kosum Phisai District, Maha Sarakham Province were correlated at a high level (R = 0.911**) with a statistical significance of 0.01; therefore, the null hypothesis was accepted.
3) The guidelines for integrating Saṅgahavatthu to promote desirable characteristics of state welfare card policy administrators on a case study of Phaeng Subdistrict, Kosum Phisai District, Maha Sarakham Province revealed that administrators should apply Saṅgahavatthu (Four Bases of Social Solidarity) with the concept of leadership to ensure the success of administration in terms of achievements, efficiency, and good relationships with people. Saṅgahavatthu could be applied as follows: (1) Dāna, which referred to ideas to help people to ensure that they received enough convenience; (2) Piyavācā, which referred to pleasant and sincere speech, as well as useful speech that led to positive relationships with other people were crucial in winning people's hearts; (3) Atthacariyā, which referred to useful conduct of assisting those who obtained a state welfare card and properly facilitating them; and (4) Samānattatā, which referred to equal and even treatment with people who used the service without any discrimination.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|