โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    คุณภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPublic Service Quality Of The Nonthaburi Provincial Transport Office
  • ผู้วิจัยนางสาวแพรวนภา มหามาตย์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุกานดา จันทวารีย์
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสุตวรธรรมกิจ, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา03/07/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49654
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 100

บทคัดย่อภาษาไทย

         สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1.เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3.เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี

          การศึกษาสารนิพนธ์เรื่องนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการแจกแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนผู้มาใช้บริการสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การโดยทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีตัวแปรต้นมีตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับผู้ที่ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน พบว่า ด้านกระบวนการหรือขั้นตอนการให้บริการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรผู้ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกหรืออาคารสถานที่ให้บริการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  ระดับความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักธรรมไตรสิกขาของสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน พบว่า ศีล(ความประพฤติดีทางกาย และวาจา) ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาปัญญา(ความรอบรู้) และสมาธิ(ความตั้งมั่นของจิต) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

          2. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี แตกต่างกันทุกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มี เพศ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

          3. แนวทางการประยุกต์หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนของสำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี 1. ด้านกระบวนการหรือขั้นตอนการให้บริการ ควรเพิ่มช่องบริการแบบเลื่อนล้อต่อภาษี และช่องการให้บริการภายในตึกเพิ่มขึ้น 2. ด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรผู้ให้บริการ ควรเพิ่มจำนวนบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอต่อภาระงานและผู้มาใช้บริการ 3. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกหรืออาคารสถานที่ให้บริการ จัดให้มีตู้ ATM เพิ่มขึ้น และควรจัดให้มีการชำระบริการแบบการจ่ายเงินด้วยการสแกน QR Code ทั้งในส่วนของการเลื่อนล้อต่อภาษี การทำใบขับขี่ และทุกส่วนในสำนักงานขนส่งนนทบุรี

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the quality level of public service by Nonthaburi Provincial Transport Office; 2) to compare people’s opinions on the quality of public service by Nonthaburi Provincial Transport Office; and 3) to explore the guidelines for applying Tisikkhā (the Threefold Learning) to develop the quality of public service by Nonthaburi Provincial Transport Office.

      The study employed mixed-methods research including quantitative and qualitative methods. The quantitative method used questionnaires to collect data. A sample group consisted of 400 persons who used the service at Nonthaburi Provincial Transport Office, in which a sample size was determined using Taro Yamane formula. The obtained data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, and One-Way ANOVA. When there were more than three independent variables, the pairwise differences were assessed using the least significant difference. For qualitative method, the tool used was in-depth interview with 12 key informants. The obtained data were analyzed by content analysis technique.

            From the study, the following results were found:

               1) The level of opinions toward the quality of public service by Nonthaburi Provincial Transport Office was overall at a high level. When each aspect is examined, all aspects were at a high level with the following order from high to low: service process or procedure with the highest level of mean, followed by officers who provided service, and service facility or location with the lowest level of mean. The level of opinions toward the quality of public service based on Tisikkhā (the Threefold Learning) by Nonthaburi Provincial Transport Office was overall at a high level . When each aspect is examined, all aspects were at a high level with the following order from high to low: Sīla (moral behavior including both physically and verbally) with the highest level of mean, followed by Paññā (wisdom), and Samādhi (concentration) with the lowest level of mean.

               2) From comparing people’s opinions on the quality of public service by Nonthaburi Provincial Transport Office, classified by different genders, the results revealed the difference in people’s opinions with a statistical significance of 0.05 level; therefore, the null hypothesis was accepted. People with different genders, educational levels, occupations, and incomes had no difference in their opinions; therefore, the null hypothesis was rejected.

               3) The guidelines for applying Tisikkhā (the Threefold Learning) to develop the quality of public service by Nonthaburi Provincial Transport Office were as follows: (1) service process or procedure, in which there should be more ‘Drive Thru for Tax’ and more service channels within the building; (2) officers who provided service, in which there should be sufficient officers to carry out the duties and meet the needs of those who used the service; (3) service facility or locations, in which there should be more ATM machines and paying for services by scanning a QR code, Drive Thru for Tax, driving licenses, and all parts in Nonthaburi Provincial Transport Office.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ