โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPotential Development Of Moral Teaching Monks In School Under The Roi Et Priest College Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  • ผู้วิจัยนางสาวชนัญชิดา ถาวะโร
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสุตวรธรรมกิจ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สุกานดา จันทวารีย์
  • วันสำเร็จการศึกษา03/07/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49660
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 59

บทคัดย่อภาษาไทย

         สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาศักยภาพการสอนตามหลักไตรสิขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 210 รูป และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป หรือคน

          ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในสังกัดวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยรวม พบว่า พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมีระดับการดำเนินการปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนตามความเป็นจริง โดยรวมอยู่ในระดับมาก

          แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกับสิ่งที่เรียนจริงๆ แล้วพิจารณาให้เป็นประโยชน์คุณ โทษ ตามความเป็นจริงด้วยตนเอง แล้วนำความรู้นั้นมาเป็นหลักในการปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วย การฝึกปฏิบัติจริง สามารถนำเอาความรู้มาใช้เป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวัน มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนต้องสำรวมกาย วาจา และฝึกจิตใจให้ตั้งมั่นจนมีระเบียบความคิด ครูผู้สอนจะต้องจะต้องเป็นผู้กำกับห้องเรียนโดยมีการทำกิจกรรมนั่งสมาธิก่อนการนำเข้าสู่บทเรียน มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ของรายวิชา ทบทวนความรู้ เดิมเพื่อเชื่อมโยงความรู้ใหม่ ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นในระหว่างเรียนและมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน มีการจัดเนื้อหาสาระที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ สะท้อนให้เห็นว่าครูมีความรู้ความเข้าใจหลักการพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขา (ด้านศีล ด้านสมาธิ ด้านปัญญา) มีการจัดเนื้อหาการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ถ่ายทอดความรู้ครบถ้วนตามเนื้อหา มีการเสริมแรงโดยการยกย่อง ชมเชย ใช้เทคนิคกระตุ้น ให้นักเรียนสนใจใฝ่รู้ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในเนื้อหา เป็นกัลยาณมิตรแนะนำในการแก้ปัญหา ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ  เน้นการปฏิบัติที่เห็นผลถึงการกระทำอย่างจริงจัง เชื่อมโยงให้มีการพัฒนาทักษะชีวิตในสังคมได้อย่างดี

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

        The study consisted of the following objectives: 1) to manage the teaching and learning of Buddhism by monks teaching morality in schools; 2) to investigate problems and suggestions for the teaching and learning of Buddhism by monks teaching morality in schools; and 3) to explore guidelines for developing the teaching potential of monks teaching morality in schools under Roi Et Sangha Buddhist College based on Tisikkhā (sīla, samādhi, paññā). The study used a mixed-method approach, with data collected through a questionnaire distributed to 210 respondents as well as in-depth interviews with 10 key informants.

      From exploring the teaching and learning of monks teaching morality in schools under Roi Et Sangha Buddhist College of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, it is found that the operation is overall at a high level.

            The Tisikkhā-based learning guidelines relate to a process that allows students to take action with what they have learned by analyzing its advantages and disadvantages for themselves and applying that knowledge in real life. This enables students to learn from real-life action and apply that knowledge in daily life with the goal of composing one's body, speech, and mind. Teachers must lead a meditation activity before beginning the lesson, clarifying the subject's objectives by reviewing existing knowledge and connecting it with new knowledge, using a variety of teaching methods, and allowing students to express their opinions during class and participate in the teaching and learning. Teachers ought to offer students content that they can use in their everyday lives, which will demonstrate that they are aware of the student development principles based on Tisikkhā (sīla, samādhi, paññā). Other things teachers should do include connecting their lessons to current events, imparting thorough knowledge, praising and inspiring their students, instilling moral values in them, and providing them with friendly problem-solving assistance. This will allow students to develop more efficiently, with a focus on practice and its outcomes, as well as improved life skills for adjusting to society.   

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ