-
ชื่อเรื่องภาษาไทยความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษStudents’ Opinions on Buddhism Commandment as the National Religion in the Constitution of the Kingdom of Thailand
- ผู้วิจัยนางสาวปิยพรวดี ทองดี
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุกานดา จันทวารีย์
- ที่ปรึกษา 2พระครูสุตวรธรรมกิจ, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา03/07/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49661
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 59
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม ๖ กับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.899 ซึ่งสำรวจจากกลุ่มประชากรด้วยวิธีการเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามจำนวนที่มีอยู่จริง จำนวน 172 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเชิงพรรณนา โดยการหาค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเชิงสถิติอนุมานจากการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและสังเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ในด้านเมตตากายกรรม ด้านเมตตาวจีกรรม ด้านเมตตามโนกรรม ด้านสาธารณโภคิตา ด้านสีลสามัญญตา ด้านทิฏฐิสามัญญตา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านประสบการณ์ ด้านการตัดสินใจ ด้านการแสดงออกทางด้านความรู้สึก ด้านความเชื่ออยู่ในระดับมาก ถัดมาคือ ด้านความคิดและด้านสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม 6 กับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างน้อย (r = .024**) กล่าวคือ การไม่บังคับให้ทุกคนใช้วัฒนธรรมที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ให้สิทธิเสรีภาพของบุคคลที่จะเลือกใช้วัฒนธรรมตามความเชื่อที่ทุกคนอยู่อย่างเสมอภาคกัน โดยไม่มีใครถือสิทธิ์เหนือกว่าใคร ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การเข้าถึงและเข้าใจหลักศาสนาตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและนำไปปฏิบัติ คำนึงถึงการที่รัฐไทยพึงปฏิบัติต่อศาสนาอื่นอย่างเท่าเทียม และคำนึงถึงปฏิญญาสากลว่าด้วย ว่าด้วย หลักสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ที่ให้มนุษย์ทุกคนพึงมีสิทธิเสรีภาพกับการนับถือศาสนา จึงสามารถยอมรับสมมติฐานได้
3. ข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางในการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ เมื่อนักศึกษาได้ทราบถึงหลักสาราณียธรรม ๖ มาใช้ประกอบความคิดเห็นที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทราบว่าสิทธิพื้นฐานของการนับถือศาสนาล้วนเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละบุคคล หากรัฐไทยบัญญัติพระพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ควรพึงพิจารณาการพัฒนาจิตใจจากคำสอนทางศาสนาพุทธเป็นสำคัญ องค์กรศาสนาหรือกลุ่มศาสนาอื่นก็พึงได้รับการดูแลจากรัฐไทยอย่างเท่าเทียมเช่นกัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the level of students’ opinions toward the formulation of Buddhism as the state religion in the constitution of the kingdom of Thailand; 2) to explore the correlation between Sāraṇīyadhamma and students’ opinions toward the formulation of Buddhism as the state religion in the constitution of the kingdom of Thailand; and 3) to study suggestions on the formulation of Buddhism as the state religion in the constitution of the kingdom of Thailand. The study used a mixed-method approach that included qualitative and quantitative methods. A questionnaire with a reliability of 0.899 was used to acquire quantitative data from a sample group of 172 persons, who were chosen by purposive sampling. The data collected were evaluated using percentage, standard deviation, and Pearson correlation coefficient. The qualitative data were collected with 10 key informants. The obtained data were analyzed by content analysis and synthesized based on research objectives.
From the study, the following results are found:
1) The level of students’ opinions toward the formulation of Buddhism as the state religion in the constitution of the kingdom of Thailand is overall at a high level. When each aspect is considered, it is found that Mettākāyakamma, Mettāvacīkamma, Mettāmanokamma, Sādhāraṇabhogitā, Sīlasāmaññatā, and Diṭṭhisāmaññatā are at the highest level. Followed by experience, decision-making, emotional expression, and belief, which are at a high level. Then, thinking and environment are at a moderate level, respectively.
2) Sāraṇīyadhamma and students’ opinions toward the formulation of Buddhism as the state religion in the constitution of the kingdom of Thailand are positively correlated at a low level (r = .024**). Everyone should not be forced to adopt the same culture, but instead have equal rights and freedom to choose their culture based on their beliefs, with no one superior to the others. The key is to access, comprehend, and apply the Buddha's teachings. Thai government should treat all religions equally and remember the 1984 Universal Declaration of Human Rights, which declares that humans have the right and freedom to practice any religion.
3) Suggestions include an integration of Sāraṇīyadhamma with students’ opinions toward the formulation of Buddhism as the state religion in the constitution of the kingdom of Thailand. Individuals’ religious rights are personal. If the Thai state formulates Buddhism as the state religion in the constitution of the kingdom of Thailand, it should prioritize spiritual growth through Buddhist teachings. The Thai government should treat religious organizations and other religious groups equally.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|