-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารความเสี่ยงในการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid 19) ของเทศบาลตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษRisk Management for Coronavirus 2019 (Covid 19) Prevention of Chumphon Sub-District Municipality Moei Wadi District Roi Et Province
- ผู้วิจัยนางสาววิกุล วิลัยหล้า
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สุกานดา จันทวารีย์
- ที่ปรึกษา 2พระครูสุตวรธรรมกิจ, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา03/07/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49662
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 36
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารความเสี่ยงในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ของเทศบาลตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์หลักอริยสัจ 4 กับการบริหารความเสี่ยงของในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า2019 (Covid-19) ของเทศบาลตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ของเทศบาลตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๒๑๘ คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน ทดสอบสมมุติฐานใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูป หรือ คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิธีการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและสังเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารความเสี่ยงในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ของเทศบาลตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากอยู่ในระดับมาก
2. การบูรณาการหลักอริยสัจ 4 กับหลักการบริหารความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ของเทศบาลตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3. หลักอริยสัจ 4 กับหลักการบริหารความเสี่ยงในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ของเทศบาลตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (R=.914**)
4. แนวทางการบูรณาการหลักอริยสัจ 4 กับกรอบการจัดการความเสี่ยงในองค์กร เพื่อการบริหารความเสี่ยงในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ของเทศบาลตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด จำแนกเป็นปัจจัยหลักอริยสัจ 4 ด้าน คือ ๑) ทุกข์ คือ สภาพหรือเหตุการณ์ที่ทนได้ยาก หมายถึง การรับรู้ความเสี่ยงต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid 19) ที่ส่งผลกระทบในการดำเนินชีวิตปกติ ๒) สมุทัย คือ สาเหตุแห่งความทุกข์ หมายถึง สถานการณ์ที่ทนได้ยาก ๓) นิโรธ คือ ความดับทุกข์หรือดับปัญหาต่างๆ เป็นวิธีการเพื่อขจัด ป้องกันปัญหาหรือเหตุแห่งความทุกข์ หมายถึง แผนงาน นโยบาย
กลยุทธ์และมาตรการต่างๆ ในการบริหารจัดการป้องกัน ควบคุมหารแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid 19) และ 4) มรรค คือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้พ้นทุกข์ หมายถึง การปฏิบัติงานหรือการดำเนินงานตามนโยบายของเทศบาลตำบลชุมพร เพื่อจัดการความเสี่ยงในการบริหารจัดการป้องกัน ควบคุมหารแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid 19) กับปัจจัยหลักการจัดการความเสี่ยง 8 ประการ ประกอบด้วย 1) สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment) หมายถึง จริยธรรม วิธีการ ทำงานของผู้บริหารและบุคลากร และวัฒนธรรมในการบริหารงาน 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting) หมายถึง การกำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ พันธกิจ ประสิทธิภาพ ผลการปฏิบัติงาน การรายงาน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 3) การบ่งชี้เหตุการณ์ (Event Identification) หมายถึง เหตุการณ์หรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาจาก ปัจจัยความเสี่ยงทุกด้านที่อาจเกิดขึ้น 4) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง การประเมินโอกาสและผลกระทบของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นต่อวัตถุประสงค์ 5) การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response) หมายถึง หลักการตอบสนองความเสี่ยง 4 ประการ คือ การหลีกเลี่ยง (Avoid) การร่วมหรือแบ่งความรับผิดชอบ การลด (Reduce) และการยอมรับ (Accept) ความเสี่ยงที่เหลือในปัจจุบัน 6) กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) หมายถึง นโยบายและกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีการจัดการความเสี่ยง 7) สารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication) หมายถึง ข้อมูล สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งจากแหล่งภายนอกและภายใน 8) การติดตามผล (Monitoring) หมายถึง การติดตามผลเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการจัดการความเสี่ยงมีคุณภาพและมีความเหมาะสม และการบริหารความเสี่ยงได้นำไปประยุกต์ใช้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate people’s opinions on risk management for the prevention of Coronavirus disease (Covid-19) epidemic by Chumphon Municipality, Moei Wadi District, Roi Et Province; 2) explore the correlation between Ariyasacca (the four noble truths) and risk management for the prevention of Coronavirus disease (Covid-19) epidemic by Chumphon Municipality, Moei Wadi District, Roi Et Province; and 3) to propose the guidelines of risk management for the prevention of Coronavirus disease (Covid-19) epidemic by Chumphon Municipality, Moei Wadi District, Roi Et Province. The study used a mixed-method research design, with data obtained via a questionnaire from a sample group of 218 persons. The data collected were assessed using frequency, percentage, mean, and standard deviation. The Pearson correlation coefficient was used to test the null hypothesis. 12 key informants were used to acquire qualitative data. The qualitative data collected were examined using content analysis and synthesized in accordance with the research objectives.
From the study, the following results are found:
1) People’s opinions on risk management for the prevention of Coronavirus disease (Covid-19) epidemic by Chumphon Municipality, Moei Wadi District, Roi Et Province is overall at a high level.
2) An integration of Ariyasacca (the four noble truths) with risk management for the prevention of Coronavirus disease (Covid-19) epidemic by Chumphon Municipality, Moei Wadi District, Roi Et Province is overall at a high level.
3) Ariyasacca (the four noble truths) and risk management for the prevention of Coronavirus disease (Covid-19) epidemic by Chumphon Municipality, Moei Wadi District, Roi Et Province is positively correlated at a high level (R = .914**).
4) The guidelines of risk management for the prevention of Coronavirus disease (Covid-19) epidemic by Chumphon Municipality, Moei Wadi District, Roi Et Province can be classified into 4 aspects as follows: (1) Dukkha (suffering) refers to perceived risk on the prevention of Coronavirus disease (Covid-19) epidemic that affects daily life; (2) Samudaya refers to the cause of suffering; (3) Nirodha refers to the cessation of suffering, which could be plans, policies, strategies, and various measures to prevent and control Coronavirus disease (Covid-19) epidemic; and (4) Magga refers to the path leading to the cessation of suffering, which could be operations based on the policies of Chumphon Municipality to handle risks of Coronavirus disease (Covid-19). There are eight major risk management factors, which are as follows: (1) Internal environment relates to the morality and practices of administrators and personnel, as well as management culture; (2) Objective setting entails deciding on strategies, missions, efficiency, operational outcomes, reports, and practices based on appropriate rules; (3) Event identification refers to the actual event or consequences by taking into account all risk factors that may occur; (4) Risk assessment, which includes identifying potential opportunities and consequences; (5) Risk response refers to avoidance, sharing, reduction, and acceptance; (6) Control activities refer to policies and execution to ensure risk management; (7) Information and communication refers to news and information from both inside and outside the organization; and (8) Monitoring, which ensures quality and appropriate risk management.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|