-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษCommunity Forest Conservation the Sufficiency Economy Philosophy of Ban Nong Bua at Suvarnaphumi District, Roi et province.
- ผู้วิจัยพระปภาวิน ฐานุตฺตโร (สุขประเสริฐ)
- ที่ปรึกษา 1พระครูสุตวรธรรมกิจ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สยามพร พันธไชย
- วันสำเร็จการศึกษา14/07/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49663
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 50
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 2. เพื่อเปรียบเทียบการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการแจกแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่บ้านหนองบั่ว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 283 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การทดสอบค่า t-test และการทดสอบค่า F-test ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีตัวแปรต้นมีตั้งแต่ 3 กลุ่ม ขึ้นไป เมื่อพบว่ามีแตกต่าง จะทำการเปรียบเทียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับผู้ที่ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับมากไปน้อย พบว่า ด้านที่มีระดับสูงที่สุดคือ 2. ด้านนโยบายสาธารณะ รองลงมาคือด้าน 3. ด้านจิตสาธารณะ 4. ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านที่มีระดับน้อยที่สุดคือ 1. ด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชน โดยรวมแล้วอยู่ในระดับมาก ทุกด้านตามลำดับ
ระดับการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ตามหลักสัมมัปธาน 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับมากไปน้อย พบว่า ด้านที่มีระดับสูงที่สุดคือ 4. ด้าน อนุรักขนาปธาน (การส่งเสริมให้ชุมชนอนุรักษ์ป่า) รองลงมาคือ 1. ด้านสังวรปธาน (การเฝ้าระวังรักษาป่า) 2. ด้านปหานปธาน (การแก้ไขปัญหาป่า) และด้านที่น้องที่สุดคือ 3.ด้านภาวนาปธาน (กระบวนการจัดการป่า) โดยรวมแล้วอยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุที่ต่างกัน มีการอนุรักษ์ป่าชุมชนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา สถานภาพ และอาชีพที่ต่างกัน มีการอนุรักษ์ป่าชุมชนไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. แนวทางการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 1. ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกและคุณธรรม ด้านการอนุรักษ์ป่า และรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติไว้ ให้ประชาชนในชุมชนได้เห็นคุณค่าของป่า รู้จักหวงแหนรักษาให้คงอยู่และอุดมสมบูรณ์ตลอดไปชั่วลูกหลาน 2. จัดสรรการใช้พื้นที่จัดตั้งโครงการภายในชุมชน ในด้านที่อยู่อาศัยของชุมชน พื้นที่ทำกิน พื้นที่เพาะปลูก และพื้นที่อนุรักษ์อย่างเป็นสัดส่วนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี ป้องกันการลุกล้ำพื้นที่ป่า รักษาสภาพตามแนวป่าในสมบูรณ์เช่นเดิม 3. ระดมกำลังประชาชนในชุมชนลงมือช่วยกันทำแนวเขตพื้นที่ป่าอย่างชัดเจน จัดทำแนวกันไฟเพื่อควบคุ้มไฟป่าไม่ให้รุกลามไปพื้นที่อื่น ๆ ของป่า 4. จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ให้ชุมชนมีการปลูกพืชเศรษฐกิจควบคู่กันเพื่อจะได้เป็นการพึ่งตนเองได้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the level of community forest conservation based on the sufficiency economy philosophy of Ban Nong Bua, Suwannaphum District, Roi Et Province; 2) to compare community forest conservation based on the sufficiency economy philosophy of Ban Nong Bua, Suwannaphum District, Roi Et Province; and 3) to explore the guidelines for developing community forest conservation based on the sufficiency economy philosophy of Ban Nong Bua, Suwannaphum District, Roi Et Province.
The study used a mixed-method approach that included qualitative and quantitative methods. A questionnaire was used to acquire quantitative data from a sample group of 283 persons, who were residents in Ban Nong Bua, Suwannaphum District, Roi Et Province and chosen by using Taro Yamane table. The data collected were evaluated using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, One-Way ANOVA, and least significant difference (LSD). The qualitative data were collected with 11 key informants. The obtained data were analyzed by descriptive analysis.
From the study, the following results are found:
1) Community forest conservation based on the sufficiency economy philosophy of Ban Nong Bua, Suwannaphum District, Roi Et Province is overall at a high level. When each aspect is considered, all aspects have mean at a high level with the following aspects from high to low: public policies public mind,sufficiency economy and community forest conservation respectively.
The level of community forest conservation based on the sufficiency economy philosophy of Ban Nong Bua based on Sammappadhāna (four right exertions) is overall at a high level. When each aspect is considered, all aspects have mean at a high level with the following aspects from high to low: Anurakkhanā-padhāna refers to the effort to maintain community forest; Saṃvara-padhāna refers to the effort to prevent community forest; Pahāna-padhāna refers to the effort to overcome community forest problems ; and Bhāvanā-padhāna refers to the effort to develop community forest respectively.
2) From comparing community forest conservation based on the sufficiency economy philosophy of Ban Nong Bua, Suwannaphum District, Roi Et Province classified by personal factors, it is discovered that people of different genders have different community forest conservation, with a statistical significance of 0.05; therefore, the null hypothesis is accepted. People of different educational levels, statuses, and occupations have no difference in community forest conservation; therefore, the null hypothesis is rejected.
3) The guidelines for community forest conservation based on the sufficiency economy philosophy of Ban Nong Bua, Suwannaphum District, Roi Et Province are as follows: (1) Raising awareness and morality about conserving and protecting nature's fertility so that people in the community understand the value of forests and protect their fertility for future generations; (2) Allocating areas for community projects, community residence, arable areas, cultivated areas, and conserving proportional areas in order to live a good lifestyle, prevent encroachment, and keep the forest line in excellent shape, as previously; (3) Mobilizing the community to take action to build defined forest boundaries, including the construction of fire breaks to contain forest fires and prevent them from spreading to other parts of the forest; and (4) Organizing projects to promote and enhance occupation in tandem with community-grown economic crops to help people become self-sufficient.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|