โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ในตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPublic Participation in Village Fung Management Ban Pao Subdistrict Nonsuag District Mukdahan Province
  • ผู้วิจัยนายดอนเดช กลางประพันธ์
  • ที่ปรึกษา 1พระครูสุตวรธรรมกิจ, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สยามพร พันธไชย
  • วันสำเร็จการศึกษา03/07/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49667
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 56

บทคัดย่อภาษาไทย

         สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน  ตำบลบ้านเป้า  อำเภอหนองสูง  จังหวัดมุกดาหาร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม กับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ตำบลบ้านเป้า  อำเภอหนองสูง  จังหวัดมุกดาหาร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการหลักสาราณียธรรม 6 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง  จังหวัดมุกดาหาร ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 113 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา โดยการวิเคราะห์ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป หรือ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทและสังเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประการวิจัย

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน  ตำบลบ้านเป้า  อำเภอหนองสูง  จังหวัดมุกดาหาร โดยรวม อยู่ในระดับมาก

        2. การบูรณาการหลักสาราณียธรรม 6 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร พบว่า ประชาชนเห็นด้วยกับการประยุกต์หลักสาราณียธรรม 6 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

          3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์หลักสาราณียธรรม 6 กับหลักการมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (R=.824**)

          4. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจำแนกเป็นปัจจัยหลักสาราณียธรรม 6 ด้าน คือ 1) เมตตามโนกรรม เป็นความคิดที่ดี มองโลกในแง่ดีมีความปรารถนาดีต่อกัน รักและเมตตาต่อกัน คิดแต่เรื่องที่สร้างสรรค์ให้กัน ไม่มีความหึงหวง ไม่มีอคนติ ไม่มีความแค้นไม่มีการแก้แค้น ให้โอกาสซึ่งกันและกันและให้อภัยซึ่งกันและกันเสมอ 2) เมตตาวจีกรรม พูดแต่สิ่งที่ดี พูดด้วยเจตนาที่เป็นความหวังดี พูดให้กำลังใจ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดซ้ำเติมบั่นทอนกำลังใจ ไม่นินทางใส่ร้ายทั้งต่อหน้าและลับหลัง พูดคำแนะนำที่ดีและมีประโยชน์ ไม่โกหกหลอกลวง 3) เมตตากายกรรม ทำดีต่อกัน ช่วยเหลือกันทางกายด้วยความนอบน้อม รู้จักให้เกียรติ ไม่เบียดเบียนหรือรังแกกัน ไม่ทำร้ายกันให้ทนทุกข์ ทำสิ่งที่ถูกต้องตลอดเวลา 4) สาธารณโภคี แบ่งปันประโยชน์ร่วกันด้วยความเป็นธรรมแม้สิ่งนั้นได้มาเพียงเล็กน้อยแต่แจกจ่ายเพื่อร่วมบริโภค แบ่งปันความสุขร่วมกัน 5) สีลสามัญยุตา ประพฤติในสุจริตความดีอย่างสม่ำเสมอ ประพฤติตนมีระเบียบวินัยเหมือนผู้อื่น ไม่ประฤติในทางที่แตกแยกจนถูกผู้อื่นรังควานหรือดูถูกหมู่คณะ 6) ทิฏฐิสามัญยุตา เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น ยึดมั่นในหลักความดีมีเหตุผลเป็นอุดมคติอย่างต่อเนื่อง กับหลักการมีส่วนร่วม 4 ประการ ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมตัดสินใจ 2) การมีส่วนร่วมดำเนินงาน 3) การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์  4) การมีส่วนร่วมตรวจสอบและประเมินผล

          5. ข้อเสนอแนะ

          1) ส่งเสริมประชาชนให้มีความรู้และเข้าใจเป้าหมายการดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้าน ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร  และส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมเป็นสมาชิกและมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม

          2) การนําหลักพุทธธรรมมาบูรรณาการใช้กำหนดในเป้าประสงค์ของการประกอบการตามพันธกิจ ให้สอดคล้องกับกรอบของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้าน 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

           The study consisted of the following objectives: 1) to investigate public participation in village fund management of Ban Pao Subdistrict, Nong Sung District, Mundahan Province; 2) to explore the correlation between Sāraṇīyadhamma and public participation in village fund management of Ban Pao Subdistrict, Nong Sung District, Mundahan Province; and 3) to study the guidelines for integrating Sāraṇīyadhamma to promote public participation in village fund management of Ban Pao Subdistrict, Nong Sung District, Mundahan Province. The study used a mixed-method approach that included qualitative as well as quantitative methods. A questionnaire was used to acquire quantitative data from a sample group of 113 persons. The data collected were evaluated using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient. The qualitative data were collected with 10 key informants. The obtained data were analyzed by content analysis and synthesized based on the research objectives.

            From the study, the following results are found:

               1) Public participation in village fund management of Ban Pao Subdistrict, Nong Sung District, Mundahan Province is overall at a high level.

               2) An integration of Sāraṇīyadhamma to promote public participation in village fund management of Ban Pao Subdistrict, Nong Sung District, Mundahan Province reveals that people agree with an application of Sāraṇīyadhamma (six states of conciliation) at a high level.

               3) Sāraṇīyadhamma and public participation in village fund management of Ban Pao Subdistrict, Nong Sung District, Mundahan Province are positively correlated at a high level (R = .824**).

               4) The guidelines for integrating Sāraṇīyadhamma to promote public participation in village fund management of Ban Pao Subdistrict, Nong Sung District, Mundahan Province are as follows: (1) Mettāmanokamma refers to positive thinking with loving kindness for one another, without jealously, prejudice, or vengeance, providing opportunity and forgiveness for one another; (2) Mettāvacīkamma refers to positive speaking with good intentions, encouragement, no gossip or hate speech both in front of and behind one's back, and offering helpful and constructive advice without lying; (3) Mettākāyakamma refers to doing good deeds to one another while maintaining humility and respect; (4) Sādhāraṇabhogitā refers to sharing helpful things, even if they are small; (5) Sīlasāmaññatā refers to honest conduct on a regular basis, being disciplined, and acting in harmony with one another; and (6) Diṭṭhisāmaññatā refers to respecting others’ viewpoints while also adhering to goodness and reasons. There are 6 participatory principles: (1) co-decision making; (2) participation in operations; (3) participation in receiving benefits; and (4) participation in review and evaluation.

               5) Suggestions are as follows:

               (1) Promoting people with knowledge and comprehension of the operational objectives of the village fund, as well as encouraging people to participate as members, with the purpose of achieving participatory management.

               (2) Applying the Buddhadhamma to identify operational goals while assuring compliance with laws, rules, and regulations of village fund.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ