-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Approach of Academic Affairs Administration in the New Normal According to Sangahavatthu Iv in School Nakhonpathom Primary Educational Service Area Office 1
- ผู้วิจัยนางสาวนริศรา วงษ์น้อย
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร. เกษม แสงนนท์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร. บุญเชิด ชำนิศาสตร์
- วันสำเร็จการศึกษา24/07/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49715
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 73
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) เพื่อศึกษาวิธีการบริหารงานวิชาการในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 306คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารงานวิชาการในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 พบว่า ในภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา วัดและประเมินผล และการพัฒนาสื่อนวัตกรรม ตามลำดับ
2. วิธีการบริหารงานวิชาการในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 กับวิธีการบริหารงานวิชาการในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ 4 ด้าน คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อนวัตกรรม และการวัดผลประเมินผล ประยุกต์กับหลักสังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน การให้ ปิยวาจา การใช้วาจาที่สุภาพ อัตถจริยา การทำประโยชน์ และสมานัตตตา รู้จักวางตนให้เหมาะสม เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ตลอดจน สนองตามความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่น โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
3. แนวทางการบริหารงานวิชาการในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักสังคหวัตถุ4 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนควรพัฒนาหลักสูตรโดยยึดตามความต้องการของชุมชน การจัดทำและพัฒนาหลักสูตรเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้เชิงรุกด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสื่อสารสร้างความเข้าใจของผู้บริหารครู นักเรียน และผู้ปกครอง สถานศึกษาควรมีการนิเทศ กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอน การเยี่ยมชั้นเรียนในรูปแบบที่เหมาะสม ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรม โดยการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จมาใช้บูรณาการในการพัฒนาสื่อให้ตรงและสอดคล้องกับ จุดประสงค์การเรียนรู้กิจกรรมต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละบุคคลเพื่อสร้างองค์ความรู้สร้างความเข้าใจให้นักเรียนได้เกิดประสบการณ์ที่แปลกใหม่สร้างสรรค์และเกิดการเรียนรู้สูงสุดด้านการวัดผลและประเมินผลมีการวัดประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งในระดับสถานศึกษาและระดับห้องเรียน เพื่อให้ได้ผลที่ทำให้นักเรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างถูกต้อง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were 1) to study the condition of academic affairs administration in the new normal of schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1, 2) to study the methods of academic affairs administration in the new normal according to Sangahavatthu IV of schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1, and 3 ) to propose an approach of academic affairs administration in the new normal according to Sangahavatthu IV of schools under the Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1. Mixed methods research was conducted. The sample consisted of 306 teachers and educational personnel, and 5 key informants. The tools were questionnaires and interview forms. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation including content analysis.
Results were shown as follows:
1. The condition of academic affairs administration in the new normal of schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 found that, the level of overall practice was at a high level. In descending order, they were development of the learning process, school curriculum development, measurement and evaluation, and innovative media development, respectively.
2. Methods of academic affairs administration in the new normal according to Sangahavatthu IV of schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1, school administrators must develop school curriculum, develop learning process, develop innovative media, and develop measures and evaluation by applying it to Sangahavatthu IV, namely, having to do things with sacrifice, commitment or Danā, persuading those involved to see the importance or Piyavāca, for doing things that are beneficial to the public or Atthacariyā, and knowing how to place oneself appropriately or Samānattatā, so that the administration and management of educational institutions meet standards and quality meet the needs of the students community and locality by focusing on the students.
3. Approach of academic affairs administration in the new normal according to Sangahavatthu IV of schools under the Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1, schools should develop curriculum for students to learn proactively, develop learning process exchange of knowledge, communication creates understanding among administrators, teachers, students and parents, supervise and monitor teaching and learning management, appropriate class visits, develop innovative educational technology media related to learning objectives, activities must take into account the suitability of individual learners, create a new creative experience, maximize highest learning, having various methods of evaluation both at the educational institution and classroom level in order to get results that allow students to develop their learning correctly.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|