-
ชื่อเรื่องภาษาไทยรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPublic Participation in Water Management for Agriculture of Maf Sa Sub-District Administrative Organization, Wiang Sa DistrictI, Nan province
- ผู้วิจัยนางสาวรัชรินทร์ ธนานุตยกุล
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- วันสำเร็จการศึกษา31/03/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49732
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 60
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 352 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test และการทดสอบค่าเอฟ F-Test (One Way ANOVA) และการเปรียบเทียบ (Least Signilficant Diference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการสรุปเนื้อหานำเสนอแนวทาง
ผลการวิจัยพบว่า
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (
= 4.14) รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (
= 4.13) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (
= 4.11) และ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (
= 4.10) ซึ่งอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับ และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรตามหลักอิทธิบาทธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.13) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิริยะ (ความเพียร) (
= 4.16) รองลงมา คือ ด้านจิตตะ (ความคิด) (
= 4.14) ด้านวิมังสา (ความไตร่ตรอง) (
= 4.12) และด้านฉันทะ (ความพอใจ) (
= 4.08) ซึ่งอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับ
2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน พบว่า ประชาชนที่มี อายุ การศึกษา และรายได้ ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มี เพศ และอาชีพ แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการ มีส่วนร่วมที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน พบว่า ปัญหา อุปสรรค คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรนั้น พบปัญหา คือ งบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินการ ประชาชนบางส่วนไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบล และข้อเสนอแนะ คือ การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรนั้นทั้งผู้บริหาร เจ้าหน้าและพนักงานมีความเมตตา แสดงไมตรีจิตร พร้อมให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา อุปสรรค ให้กับประชาชน ทั้งสร้างความมั่นใจในการบริหารจัดการน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบล ว่าการดำเนินงานต่าง ๆ นั้นตั้งอยู่บนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย ทั้งนี้การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร มีรูปแบบ 2 ประการ คือ 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำของชุมชนและระหว่างชุมชน คือ สร้างความตระหนัก ปลูกฝังความรู้สึก จัดทำแผนบูรณาการ จัดตั้งกลไกคณะทำงาน จัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน 2) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรนำในระหว่างองค์กรชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน คือ กำหนดเป้าหมาย ทิศทาง สร้างความชัดเจน จัดเวทีเสวนาพูดคุย กลไกการจัดการคณะกรรมการ สนับสนุนผลักดัน การขับเคลื่อน การประสานการดำเนินงาน และจัดระบบประเมินผล
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The subject research has the following objectives: 1) To study the level of people's participation towards agricultural water management of Mae Sa Subdistrict Administrative Organization, Wiang Sa District, Nan Province. 2) to compare people's opinions towards participation towards agricultural water management of Mae Sa Sub-District Administrative Organization, Wiang Sa District, Nan Province, classified by individual factors; and 3) to study problems, obstacles and Recommendations for people's participation towards agricultural water management of Mae Sa Subdistrict Administrative Organization, Wiang Sa District, Nan Province
This research study proceed according to the integrated research methodology which is a quantitative research This is a survey research. The population is 352 people aged 18 years and over. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation. The t-test and F-Test (One Way ANOVA) and comparison (Least Signilficant Diference: LSD.) and qualitative research. with in-depth interviews with 10 key informants or people, and using a technique to summarize content to present guidelines.
The results showed that
1. People's participation towards agricultural water management of Mae Sa Sub-district Administrative Organization, Wiang Sa District, Nan Province found that the people's participation in agricultural water management Overall, it was at a high level (4.12). When classified by aspect, it was found that the aspect with the highest average was the aspect of participation in receiving benefits (4.14), followed by the aspect of having Participation in operations (4.13), participation in assessment (4.11) and participation in decision-making (4.10), which were at a high level in all aspects. in order and the participation of the people in the management of water for agriculture according to the principles of moral power Overall, it was at a high level (4.13). The aspect with the highest mean was persistence (perseverance) (4.16), followed by chitta (thought) (4.14), vimangsa (contemplation) (4.12), and Chantha (satisfaction) (4.08) which is at a high level in all aspects in order
2. Comparison of people's opinions towards participation towards agricultural water management of Mae Sa Subdistrict Administrative Organization, Wiang Sa District, Nan Province, found that people with different ages, education and incomes Each have different opinions on their contribution to agricultural water management. with statistical significance at the .05 and .01 levels, thus accepting the hypothesis As for people with different sexes and occupations, they had no different opinions on their participation in water management for agriculture. therefore rejecting the hypothesis
3. Problems, obstacles and recommendations for people's participation in the management of water for agriculture of Mae Sa Subdistrict Administrative Organization, Wiang Sa District, Nan Province found that the problems and obstacles were people's participation in the Management of water for agriculture, the problem is that the budget is insufficient for the operation. Some people do not participate in the implementation of water management for agriculture of the Sub-District Administrative Organization. and the suggestion is that the management of water for agriculture both the executives The staff and staff are kind. show goodwill ready to provide assistance in solving problems and obstacles for the people as well as build confidence in the water management of the Sub-District Administrative Organization that all operations are based on rules, regulations, regulations and laws. There are two forms of people's participation in the management of agricultural water: Community and inter-community water management is to raise awareness. cultivate feelings Make an integrated plan Establish a working group mechanism jointly organize various activities and visits; 2) participation in the management of leading resources among community organizations; The public and private sectors are to set goals, directions, create clarity. Organize a forum for discussion Board management mechanism support push drive coordination of operations and organize an evaluation system
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|