โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อการปฏิบัติงาน ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Promotion of Morality Based on Trisikkha for Personnel’s Performance in Bang Pla Ma Subdistrict Administrative Organization, Bang Pla Ma District, Suphanburi Province
  • ผู้วิจัยพระครูพิศาลธุราทร (นิรันต์ ฐิตวิริโย)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.นพดล ดีไทยสงค์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49734
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 92

บทคัดย่อภาษาไทย

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เสนอแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

             การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในเขตปกครององค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 378 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.760 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์โดยการพรรณนาแจกแจงความถี่ประกอบตาราง และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. ระดับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านศีลสิกขา ด้านปัญญาสิกขา และด้านสมาธิสิกขา ตามลำดับ ส่วนการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการสื่อสารในหน่วยงาน รองลงมาคือ ด้านความปลอดจากการทุจริตเพื่อการปฏิบัติงาน และด้านคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน ตามลำดับ

            2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

           3. แนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี คือ 3.1 ด้านความโปร่งใส บุคลากรต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติตามกฎหมาย กฏ ระเบียบ ขององค์กรด้วยความซื่อตรง มีการเปิดเผยข้อมูลการทำงาน 3.2 ด้านความพร้อมรับผิด บุคลากรต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน รับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความกล้าพร้อมรับผิดต่อข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากผลการตัดสินใจ 3.3 ด้านความปลอดจากการทุจริตเพื่อการปฏิบัติงาน บุคลากรต้องไม่เลือกปฏิบัติ หรือรับสินบน ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือประโยชน์ของประชาชน ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นขององค์กรอย่างเคร่งครัด 3.4 ด้านวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร บุคลากรต้องยึดมั่นหลักธรรมาภิบาล และหลักคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม และวัฒนธรรมขององค์กร 3.5 ด้านคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน บุคลากรต้องปฏิบัติงานอย่างเต็มความรู้ ความสามารถ ให้บริการด้วยความจริงใจ คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ไม่เบียดบังเวลา และทรัพย์สินทางราชการ และ 3.6 ด้านการสื่อสารในหน่วยงาน ควรมีการสื่อสารสองทางรับฟังความคิดเห็นของประชาชน นำเทคโนโลยี และสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค มาใช้ในการดำเนินการสื่อสารกระจายข้อมูลข่าวสารการทำงาน

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            The study consisted of the following objectives: 1. to investigate moral promotion for work performance of personnel in Bang Pla Ma Subdistrict Administrative Organization (SAO), Bang Pla Ma District, Suphanburi Province; 2. to compare the opinions of people toward moral promotion for the work performance of personnel in Bang Pla Ma SAO classified by personal factors; and 3. to present the guidelines for moral promotion based on Tisikkha for work performance of personnel in Bang Pla Ma SAO, Bang Pla Ma District, Suphanburi Province.

            The study used a mixed-method approach that included both qualitative and quantitative methods. A sample group used for the quantitative method consisted of 378 people in Bang Pla Ma SAO who were chosen by stratified random sampling. The tool used for data collection was a questionnaire with a reliability of 0.760. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, and One-Way ANOVA. The data collected from open-ended questionnaire were analyzed by a frequency table. The qualitative method employed in-depth interview to collect data with 15 key informants. The obtained data were analyzed by content analysis.

            From the study, the following results are found:

            1. Moral promotion based on Tisikkha (the threefold learning) for work performance of personnel in Bang Pla Ma SAO, Bang Pla Ma District, Suphanburi Province is overall at a high level. When each aspect is examined, it is discovered that they all have a high level in the following order: sila-sikkha (training in morality), pañña-sikkha (training in wisdom), and samadhi-sikkha (training in concentration), respectively. The moral promotion for work performance of personnel in Bang Pla Ma SAO is overall at a high level. When each aspect is examined, it is revealed that they all have a high level in the following order: communication within the organization, honesty for work performance, and morality in work performance within the organization, respectively.

            2. From comparing the opinions of people toward moral promotion for the work performance of personnel in Bang Pla Ma SAO classified by personal factors, it is discovered that people of different ages, educational levels, and income have different opinions with a statistical significance of 0.01; therefore, accepting the null hypothesis. People of different genders and occupations have different opinions; therefore, denying the null hypothesis.

           3. The guidelines for moral promotion based on Trisikkha for work performance of personnel in Bang Pla Ma SAO, Bang Pla Ma District, Suphanburi Province are as follows: 3.1 Transparency in which personnel must perform their work honestly and according to the organization's laws, regulations, and rules. Work data should be made available so that the public; 3.2 Responsibility in which personnel should be determined to work and accountable for their assigned duties, have courage and accountability for mistakes resulting from one's own decisions and actions; 3.3 Honesty for work performance in which personnel should not discriminate or accept bribes, perform work for the benefit of the public and fully adhere to the anti-corruption policy of the organization; 3.4 Moral cultures within the organization in which personnel should follow good governance and morality in their work performance in accordance with organizational culture; 3.5 Morality in work performance within the organization in which personnel should perform work to the best of their skill and knowledge, give service with sincerity and consideration for the public interest, not take advantage of government time and assets; and 3.6 Communication within the organization in which there should be two-way communication to listen to people's opinions, the use of technology and social networks to share information about work.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ