โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักฆราวาสธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Integration of Gharavasa-dhamma for Leadership Development of Executives at Khok Khram Municipality, Bang Pla Ma District, Suphanburi Province
  • ผู้วิจัยพระมหาวิชัย วิชโย (ชื่นภิรมย์)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.นพดล ดีไทยสงค์
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49735
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 98

บทคัดย่อภาษาไทย

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี        2. ทราบผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เสนอแนวทางการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร เทศบาลตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในเขตปกครองเทศบาลตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 318 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.991 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์โดยการพรรณนาแจกแจงความถี่ประกอบตาราง และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการกำกับดูแล รองลงมาคือ ได้แก่ ด้านการอำนวยการ ด้านการจัดองค์กร ด้านการวางแผน และด้านการบริหารจัดการงานบุคลากรตามลำดับ

            2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

            3. แนวทางการบูรณาการหลักฆราวาสธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี คือ 3.1 ด้านการวางแผน ผู้บริหารเทศบาลต้องกำหนดทิศทาง วัตถุประสงค์ และเป้าหมายการพัฒนาองค์กรที่ชัดเจน ไตร่ตรองวางแผนงานเตรียมความพร้อมกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า มีวิสัยทัศน์ในการมองภาพรวมขององค์กรและวางเป้าหมายในการพัฒนาการทำงาน วางลำดับความสำคัญในการช่วยเหลือประชาชน และมีแผนป้องกันในการปฏิบัติงาน  3.2  ด้านการจัดองค์กร ผู้บริหารเทศบาลต้องจัดแบ่งสายงาน ให้ครอบคลุมกับภาระงานและกำหนดอำนาจหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน ส่งเสริมการจัดการความรู้ การพัฒนาองค์กรแก่บุคลากร กำหนดโครงสร้างขององค์กร ให้เป็นระบบง่ายต่อการสั่งการ ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา คัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ตรงกับสายงานเข้าทำงาน และสร้างสัมพันธภาพที่ดีในองค์กร 3.3 ด้านการบริหารจัดการงานบุคลากร ผู้บริหารเทศบาลต้องมีการแนะนำทำความเข้าใจในภาระงาน บทบาทหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานราบรื่น พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เสริมสร้างการทำงาน การเรียนรู้ และทักษะต่าง ๆ ตามตำแหน่งงาน ให้บุคลากรอยู่เสมอ ส่งเสริมให้บุคลากรมีความเสียสละ รับผิดชอบ ไม่บกพร่องต่อหน้าที่ 3.4 ด้านการอำนวยการ ผู้บริหารเทศบาลต้องสื่อสาร สั่งการ ประสานงานที่ชัดเจน เพื่อให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ มีการประชุมปรับปรุงการปฏิบัติงาน รับฟังความคิดเห็นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตามตรวจสอบการทำงานของบุคลากร ให้ดำเนินไปตามแผนหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ สร้างปฏิสัมพันธ์ และบรรยากาศการทำงานที่ดีระหว่างคนในองค์กร และผู้รับบริการ 3.5 ด้านการกำกับดูแล ผู้บริหารเทศบาลต้องกำหนดนโยบายการกำกับดูแล ติดตามควบคุม สามารถตรวจสอบความโปร่งใสได้ เก็บรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงาน และนำผลมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงาน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน และประเมินสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ ติดตามรายงานผลการทำงานทุก ๆ ขั้นตอน เพื่อให้ทราบถึงภารกิจที่ได้มอบหมายสั่งการ 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            The study consisted of the following objectives: 1. to investigate the leadership of executives at Khok Khram Municipality, Bang Pla Ma District, Suphanburi Province; 2. to compare the opinions of people toward leadership of executives at Khok Khram Municipality classified by personal factors; and 3. to propose the guidelines for integrating Gharavasa-dhamma for leadership development of executives at Khok Khram Municipality, Bang Pla Ma District, Suphanburi Province.

            The study used a mixed-method approach that included both qualitative and quantitative methods. A sample group used for the quantitative method consisted of 318 people in Khok Khram Municipality, Bang Pla Ma District, Suphanburi Province who were chosen by stratified random sampling. The tool used for data collection was a questionnaire with a reliability of 0.991. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, One-Way ANOVA, and least significant difference (LSD). The data collected from open-ended questionnaire were analyzed by a frequency table. The qualitative method employed in-depth interview to collect data with 14 key informants. The obtained data were analyzed by content analysis.

           From the study, the following results are found:

           1. The leadership level of executives at Khok Khram Municipality, Bang Pla Ma District, Suphanburi Province is overall at a high level. When each aspect is examined, it is revealed that they all have a high level in the following order: governance, directing, organizational management, planning, and personnel management, respectively.

           2. From comparing the opinions of people toward leadership of executives at Khok Khram Municipality classified by personal factors, the findings found that people of different educational levels and occupations have different opinions with a statistical significance of 0.01; therefore, accepting the null hypothesis. There are no differences in opinions among people of different genders, ages, or incomes; therefore, rejecting the null hypothesis.

         3. The guidelines for integrating Gharavasa-dhamma (virtues for a good household life) for leadership development of executives at Khok Khram Municipality, Bang Pla Ma District, Suphanburi Province are as follows:  3.1 Planning in which the executives should do the following: determine direction, objectives, and goals for organizational development; plan ahead for upcoming events; set visions for the big picture and goals for work development; prioritize helping people and establish operational planning. 3.2 Organizational management in which the executives should do the following: allocate lines of work to cover workload and clearly define authority and responsibilities; promote knowledge management and organizational development for personnel; determine a systematic organizational structure that is easy to command and use wisdom to solve problems; select personnel with appropriate expertise to their fields of work and foster positive human interactions inside the organization. 3.3 Personnel management in which the executives should do the following: introduce personnel to the job description, duties, and roles in order for work to be performed smoothly; develop a body of knowledge and build motivation in work in order to develop work efficiency; improve personnel knowledge and skills in relation to work position; encourage personnel to make sacrifices and take responsibility for their duties. 3.4 Directing in which the executives should do the following: clearly communicate, direct, and coordinate so that personnel can perform work efficiently; convene a meeting in order to improve work performance, listen to othersopinions for knowledge exchange; follow up and examine the work of personnel to ensure that it is according to the set plan and goals; build positive interaction and environment between people inside the organization and service recipients. 3.5 Governance in which the executives should do the following: establish policies for governance, monitoring, and control to ensure transparency; collect data of work performance and apply the results to develop operational efficiency; solve problems that arise throughout the operation and evaluate situations appropriately; keep track of the assigned missions by monitoring work performance at every stage.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ