โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้านในสังกัดพัฒนาชุมชน อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Integration for Community Economic Development of The housewives Community Under Community Development Department In Nongyasai District Suphanburi Province
  • ผู้วิจัยพระปลัดจักรกฤษ ปภสฺสโร (ปรึกษา)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูโสภณวีรานุวัตร, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49737
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 85

บทคัดย่อภาษาไทย

            การวิจัยในครั้งมีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้านในสังกัดพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหญ้าไซ  จังหวัดสุพรรณบุรี 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้าน ในสังกัดพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหญ้าไซ  จังหวัดสุพรรณบุรี 3. เพื่อเสนอแนะการนำหลักพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้าน ในสังกัดพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหญ้าไซ  จังหวัดสุพรรณบุรี

            รูปแบบวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กับกลุ่มประชากรระดับปฏิบัติงานจำนวนทั้งสิ้น 132 คนที่สังกัดพัฒนาชุมชน และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่นำไปทดลองใช้ เท่ากับ 0.919 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พร้อมทั้งวิจัยรูปแบบเชิงคุณภาพ  เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก  กับผู้ให้ข้อมูล โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามและการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญที่ได้กําหนดไว้ทั้งหมดจํานวน 12 รูปหรือคน

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้านอำเภอหนองหญ้าไซตามหลักไตรสิกขา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามหลักไตรสิกขาที่ค่าเฉลี่ยสูงคือ ด้านศีล รองลงมา ด้านสมาธิและต่ำสุดด้านปัญญา ส่วนระดับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงได้แก่ด้านการสร้างจิตสำนึก รองลงมา ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รองลงมาด้านการประสานวัฒนธรรม รองลงมา ด้านการร่วมกิจกรรม และต่ำสุดการพัฒนาแบบกลุ่มและการสร้างเครือข่าย

            2. ความสัมพันธ์การนำหลักพุทธบูรณการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้านในสังกัดพัฒนาชุมชน อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูง 0.856 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 ค่าความสัมพันธ์เรียงลำดับจากมากไปหาต่ำ โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสุดอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ด้านการพัฒนาแบบกลุ่ม รองลงมาด้านการสร้างเครือข่าย รองลงมาด้านการร่วมกิจกรรม และด้านที่อยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รองลงมาด้านการประสานวัฒนธรรม และต่ำสุดด้านการสร้างจิตสำนึก

            3. แนวทางการนำหลักพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มสตรีแม่บ้านในสังกัดพัฒนาชุมชน อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี 1) หลักศีล  ด้านการประสานงานความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมเน้นการรวมกลุ่มและเน้นในด้านความโปร่งใส 2) หลักสมาธิ  ด้านเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม การจัดการความรู้ ทักษะ สร้างจิตสำนึกและการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม 3) หลักปัญญา  นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างสรรค์ ต่อยอดผลิตภัณฑ์และประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่มาจากการต่อยอดผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study consisted of the following objectives: 1. to investigate the level of community economic development of the housewife group under the community development department in Nongyasai District, Suphanburi Province; 2. to explore the correlation between Tisikkhā and community economic development of the housewife group under the community development department in Nongyasai District, Suphanburi Province; and 3. to study problems and suggestions about the Buddhist integration for community economic development of the housewife group under the community development department in Nongyasai District, Suphanburi Province.

The study used a mixed-method approach that included both qualitative and quantitative methods. A sample group used for the quantitative method consisted of 132 people under community development department. The tool used for data collection was a questionnaire with a reliability of 0.919. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient. The qualitative method employed questionnaire and in-depth interview to collect data with 12 key informants.

The results of the study are as follows: 1.The level of community economic development based on Tisikkhā (the threefold learning) of the housewife group under the community development department is overall at a high level. When analyzing based on Tisikkhā, the aspect with the highest level of mean is sīla (morality), followed by samādhi (concentration), and paññā (wisdom) with the lowest level of mean. The level of economic self-reliance development is overall high, with awareness raising ranking first, followed by environmental conservation, cultural coordination, and activity participation, respectively. Group development and network building have the lowest level of mean.

2. An application of Buddhist integration for community economic development of the housewife group under the community development department in Nongyasai District, Suphanburi Province is correlated positively at a high level, with a statistical significance of 0.01. The aspects with mean at a high level are in the following order from high to low: group development, network building, and activity participation, respectively. Environmental conservation and cultural coordination are at a moderate level. Awareness raising is at the lowest level.

3.Guidelines for Implementing Integrated Buddhist Principles for Community Economic Development of a Group of Housewives under Community Development Nong Ya Sai District Suphan Buri Province. 1. Sīla: Working as a teamwork by focusing on grouping and emphasizing on transparency. knowledge management, 2. Samādhi: Provide opportunity to participate knowledge management, skills, building awareness and concrete development; 3 Paññā: Bringing local wisdom to creativity, Product enhancement and application of innovations derived from product enhancement.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ