โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของชุมชนบ้านยู้ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษModel of Participation in The Five Precepts Observation Promotion for Ban Yu Sub-District, Thawangpha District, Nan Province
  • ผู้วิจัยพระยงยุทธ ยุตฺตธมฺโม (ปะทิ)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.วรปรัชญ์ คำพงษ์
  • ที่ปรึกษา 2พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญโญ, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา31/03/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49742
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 77

บทคัดย่อภาษาไทย

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านยู้ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านยู้ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน       โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านยู้ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 316 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้ค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์   เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ

ผลการวิจัยพบว่า

              1. ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านยู้ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.29) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน    โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ อยู่ในระดับมาก ( = 3.67) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.26) ด้านการมีส่วนร่วมในขั้นดำเนินงาน อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.14) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.11)

              2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5    ของชุมชนบ้านยู้ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนมีเพศและระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการตามพุทธธรรมาภิบาลไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนมีอายุ อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการ   ตามพุทธธรรมาภิบาลแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

          3. รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านยู้ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน มีดังนี้ 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คือ กระบวนการมี       ส่วนร่วมในขั้นเตรียมการโดยการร่วมแสดงความคิดเห็น การวางแผนร่วมกัน ระหว่าง บ้าน วัด ราชการหรือโรงเรียน รวมถึงภาคเอกชนในพื้นที่ ในการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมโครงการรักษาศีล 5  2) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน คือ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานในทุกกระบวนการ ได้แก่ การประสานความร่วมมือกัน การจัดเตรียมสถานที่ สภาพแวดล้อมให้สะอาด สงบ เป็นธรรมชาติ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การสร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์ รวมถึงการยกย่องคนดีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้อื่น 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ คือ เมื่อร่วมกิจกรรมแล้วเกิดประโยชน์ทำให้กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข เกิดความรักความสามัคคี มีจิตใจเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กัน และลดปัญหาต่างๆ 4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล คือ การประเมินผล การติดตามความก้าวหน้าของประชาชนในการรักษาศีล 5

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this paper are as follows: 1. To study the level of community participation in promoting the village project to keep the 5 precepts of Ban Yu community. Tha Wang Pha District, Nan Province 2. To compare the community's participation in promoting the village project to keep the 5 precepts of Ban Yu community. Tha Wang Pha District, Nan Province, classified by personal factors. 3. To present a model of community participation in promoting the village project to keep the 5 precepts of Ban Yu community. Tha Wang Pha District, Nan Province by quantitative research using survey research methods A total of 316 samples were obtained. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation. and testing the hypothesis using the F-Test using one-way ANOVA. In the case of three or more initial variables When differences are found, differences are compared with the least significant difference method. and qualitative research Conduct in-depth interviews with 10 key informants or people using contextual analysis techniques. Presented as an essay accompanying the frequency distribution table of key informants. to support quantitative data

The research findings ware as follow;

1. The overall level of community participation in promoting the 5 Precepts Village Project of Ban Yu Community ThaWangPha District, Nan Province is moderate. (x = 3.29) When the average value is classified in marginal order, it is found that the margin of participating welfare is very high (x = 3.67) Moderate participation in decision- making (x = 3.26) Moderate participation in decision-making (x = 3.14) Moderate participation in the assessment   (x = 3.11)

2. Comparative results of community participation in promoting the project of Ban Yu Community ThaWangPha District, Nan Province According to personal factors, people have different views on good governance and management due to their different gender and educational level. People differ in age, occupation and income, and have different views on good governance. Therefore, accept the assumption.

3. The mode of community participation in promoting the project of Ban Yu Community ThaWangPha District, Nan Province is as follows: Participatory decision-making is a process of participating in the preparatory stage through sharing opinions and joint planning among the House of Representatives. Temples, governments or schools, including the private sector in the area, are involved in activities to promote observance of the precepts. 5 2). It refers to the process of public participation in all processes, i.e. coordination, site preparation and environment cleaning. Peace, nature, preparation of relevant materials, activities, and awareness of public relations. 3) Participating benefits include: After participating in the activity, it is conducive to living a happy life, love, unity and kindness with honesty, sincerity and conscience. 4) The purpose of participating in the assessment is to assess and monitor people's progress in observing the precepts 0.5

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ