โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาการบริหารงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Administration Development in Accordance With The Sufficiency Economy Philosophy of Donchedi Subdistrict Administrative ORganization, Donchedi District, Suphanburi Province
  • ผู้วิจัยพระขวัญชัย สุริยวํโส (สุริยนต์)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.วิชชุกร นาคธน
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49793
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 80

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมกับการบริหารงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3. เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 387 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.977 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คนหรือรูป ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ โดยภาพรวมประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความพอประมาณ ด้านการมีภูมิคุ้มกัน เงื่อนไขด้านคุณธรรม และเงื่อนไขด้านความรู้ ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านความมีเหตุผล ส่วนหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม โดยภาพรวมประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านอุฎฐานสัมปทา ความขยันหมั่นเพียร ด้านอารักขสัมปทา การบำรุงรักษา ด้านกัลยาณมิตตา การเลือก คบมิตร และด้านสมชีวิตา ความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมากทุกด้าน

2.  ความสัมพันธ์ระหว่างหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรมกับการบริหารงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงทุกด้าน ได้แก่ กัลยาณมิตตา  การเลือก คบมิตร รองลงมาคือ สมชีวิตา ความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม อุฎฐานสัมปทา ความขยันหมั่นเพียร และอารักขสัมปทา การบำรุงรักษา ตามลำดับ

3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า 3.1 อุฎฐานสัมปทา ความขยันหมั่นเพียร คือ ผู้นำปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน มีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากร เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่ๆ มาปรับใช้ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้วยความถูกต้อง 3.2 อารักขสัมปทา การบำรุงรักษา คือ สร้างจิตสำนึก กระตุ้นเตือนให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และเกิดประโยชน์สูงสุด  3.3 กัลยาณมิตตา การเลือกคบมิตร คือ ผู้บริหารให้ความเอาใจใส่และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยึดหลักการทำงานเป็นทีม คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีศีลธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงาน และ 3.4 สมชีวิตา ความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม คือ ผู้บริหารนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต เป็นแบบอย่างในวางแผนการใช้จ่ายเงิน รวมไปถึงนำมาใช้ในการบริหารงานองค์กรคือ วางแผนการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเหมาะสม คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study consisted of the following objectives: 1. to investigate the level of administration according to the sufficiency economy philosophy of Donchedi Subdistrict Administrative Organization (SAO), Donchedi District, Suphanburi Province; 2. to explore the correlation between Diṭṭhadhammikattha-savattanika-dhamma and administration according to the sufficiency economy philosophy of Donchedi SAO, Donchedi District, Suphanburi Province; and 3. to present the guidelines for administration development in accordance with the sufficiency economy philosophy of Donchedi SAO, Donchedi District, Suphanburi Province.

The study used a mixed-method approach that included both qualitative and quantitative methods. A sample group used for the quantitative method consisted of 387 people in Donchedi SAO who were chosen by simple random sampling. The tool used for data collection was a questionnaire with a reliability of 0.977. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson correlation coefficient. The qualitative method employed in-depth interview to collect data with 10 key informants who were selected by purposive sampling. The obtained data were analyzed by content analysis.

From the study, the following results are found:

1. People’ opinions toward the administration according to the sufficiency economy philosophy of Donchedi SAO is overall at a high level. When each aspect is examined, the following has high level of opinion: moderation, immunity, moral conditions, and knowledge conditions. The aspect with a moderate level of opinion is rationality. The Diṭṭhadhammikattha-savattanika-dhamma of Donchedi SAO is overall at a high level. When each aspect is examined, it is found that Uṭṭhānasampadā (achievement of diligence), Ārakkhasampadā (achievement of protection), Kalyāamittatā (association with good people), and Samajīvitā (balanced livelihood) are at a high level.

2. The Diṭṭhadhammikattha-savattanika-dhamma and administration according to the sufficiency economy philosophy of Donchedi SAO, Donchedi District, Suphanburi Province is positively correlated in the same direction at a high level, with a statistical significance of 0.01. When each aspect is examined, it is discovered that they are all positively correlated in the following order: Kalyāamittatā, Samajīvitā, Uṭṭhānasampadā, and Ārakkhasampadā, respectively.

3. The guidelines for administration development in accordance with the sufficiency economy philosophy of Donchedi SAO, Donchedi District, Suphanburi Province are found as follows: (1) Uṭṭhānasampadā refers to leaders set a good example and organize training to develop the potential of personnel so that they can apply new knowledge in work performance with accuracy; (2) Ārakkhasampadā refers to leaders raise awareness about the need of utilizing resources wisely according to regulations and laws; (3) Kalyāamittatā refers to leaders have attentiveness and good human relations, uphold teamwork and assistance among colleagues, and exhibit morality and generosity toward colleagues; and (4) Samajīvitā refers to leaders implement the sufficiency economy philosophy in their everyday lives as well as provide a positive example in financial planning so that they may apply it in the organization, spend budget wisely, and benefit communities the most.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ