-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิผลการบริหารจัดการน้าเสียในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffectveness of Wastewater Administration at Phanat Kikhom Municipality, Chonburi Province
- ผู้วิจัยพระโยธิน ญาณวโร (แสนมนตรี)
- ที่ปรึกษา 1รศ.ดร.สุรินทร์ นิยมางกูร
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- วันสำเร็จการศึกษา14/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/498
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 206
- จำนวนผู้เข้าชม 424
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการน้ำเสีย ในเขตพื้นที่เทศบาลบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการน้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4. กับประสิทธิผลในการบริหารจัดการน้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 5. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการน้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.875 สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองพนัสนิคม จ้านวน 386 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จ้านวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการน้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̅ = 3.94, S.D. = 0.545) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านการวางแผน ( x̅ = 3.96, S.D. = 0.717) ด้านการปฏิบัติตามแผน ( x̅ = 3.93, S.D. = 0.720) ด้านการตรวจสอบ ( x̅ = 3.97, S.D. = 0.667) และด้านการปรับปรุงแก้ไข ( x̅ = 3.88, S.D. = 0.745)
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการน้ำเสียของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยจ้าแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา ที่อยู่อาศัยและรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารจัดการน้ำเสียของเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ไม่แตกต่างกันทั้งหมด จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 กับประสิทธิผลในการบริหารจัดการน้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี พบว่า การบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลในการบริหารจัดการน้ำเสีย โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (R=.713**) จ้าแนกตามรายด้านพบว่า ด้านการวางแผน มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (r=.549**) ด้านการปฏิบัติตามแผน มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (r=.512**) ด้านการตรวจสอบ มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (r=.595**) และด้านการปรับปรุงแก้ไข มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (r=.529**)
4. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการน้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี คือ 1) ประชาชนส่วนหนึ่งไม่ได้รับข่าวสาร ประชาสัมพันธ์เท่าที่ควร เกี่ยวกับแผนในการที่จะด้าเนินงานบริหารจัดการน้าเสียของเทศบาล 2) ประชาชนไม่เคารพและปฏิบัติตามนโยบายการจัดการน้ำเสียของเทศบาล 3) เทศบาลมีการตรวจสอบระบบท่อส่งน้ำเสียเดิมที่ไม่ได้คุณภาพ 4) เทศบาลมีการพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบท่อส่งน้าเสียใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะคือ 1) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ปลูกฝังจิตส้านึกของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม ให้รักสิ่งแวดล้อม 2) บ้านเรือนทุกหลังคาเรือนควรบำบัดสิ่งปฏิกูลก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้าสาธารณะ 3) เทศบาลกับชุมชนย่อยแต่ละชุมชนย่อยควรประสานงานกันเพื่อจัดทำโครงการในการฟื้นฟูคลองสาธารณะในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม 4) จัดตั้งให้มีจุดทิ้งขยะให้ชัดเจนและทั่วถึงตลอดจนเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of the research were to 1) study the efficiency of wasetwater management in Phanat Nikhom Municipality in Chonburi, 2) to compare the people’s opinion to the efficiency of wasetwater management in Phanat Nikhom Municipality in Chonburi determined by the individual factors, 3) to determine the correlations between management based on Iddhipāda 4 principle and the efficiency of wasetwater management in Phanat Nikhom Municipality in Chonburi, 4) to identify the problems, difficulties and suggestions to the efficiency of wasetwater management in Phanat Nikhom Municipality in Chonburi.
The methodologies of the research were applied by mixed methods research; quantitative and qualitative researches. For quantitative research, it was survey research by using the questionnaires from a sample of 386 people in Phanat Nikhom Municipality, and the collected data was analyzed by frequency, percentage, mean, S.D.(standard deviations), t-test, f-test by ANOVA, and Correlation Coefficient (r). For qualitative research, was applied by in-depth interview of 12 key informers and the collected data was analyzed by descriptive content analysis.
The findings were:
1) The efficiency ofwasetwater management in Phanat Nikhom municipality, Chonburi was at the much level (x̅=3.94, S.D. = 0.545). When determining each aspect, it was found that all aspects were at the much level, as followings; planning (x̅ = 3.96, S.D. = 0.717), plan tracking (x̅=3.93, S.D. = 0.720), inspection (x̅ = 3.79, S.D. = 0.667), and revision (x̅=3.88, S.D. = 0.745)
2) The comparison of the efficiency of wasetwater management in Phanat Nikhom Municipality, Chonburi, it was found that people with different even in different genders, ages, occupation, educational background, the accommodation as well as incomes, did not have significant different opinion on efficiency of wasetwater management, which reject the hypotheses.
3) For relationship between the management by Iddhipāda 4 principle and the efficiency of wasetwater management in Phanat Nikhom Municipality, Chonburi, it was found that there was positively relationship between the management by Iddhipāda 4 principle and the efficiency of wasetwater management at the high level (r = .713**). When determining each aspect, it was also at the high level, as followings; planning (r = .549**), plan tracking (r =.512**), inspection ( r = .595**), and revision (r = .529**).
4) For the problems on wasetwater management in Phanat Nikhom Municipality, Chonburi, it was found that 1) some of the people didn’t know enough information of wasetwater management’s plans, 2) the people didn’t follow the policy of wasetwater management, 3) the municipality’s inspection had low quality of discharge carriers, and 4) the municipality has no efficient development on discharge carriers.
For the suggestions on the wasetwater management in Phanatnikhom Municipality, Chonburi, there were 1) there should be promotion to the awareness of the people in Phanatnikhom Municipality area. 2) There should be the household’s wasetwater treatment before disposal to the public water resource. 3) Municipality together with each small community should join hands to run the project of public water resource rehabilitation. And 4) Il comune ha sviluppato e migliorato i nuovi sistemi di condotte fognarie per essere efficienti.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 4.6 MiB | 206 | 4 มิ.ย. 2564 เวลา 22:07 น. | ดาวน์โหลด |