-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของ นักปกครองท้องที่ในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of Sappurisa-dhamma for the Development of Administrative Competence of Local Governors in Bangplama District, Suphanburi Province
- ผู้วิจัยนางสาวณัฏฐ์ชญาดา โชติพิพัฒอังกูร
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร. วิชชุกร นาคธน
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร. นพดล ดีไทยสงค์
- วันสำเร็จการศึกษา06/08/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49801
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 111
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพการบริหารของนักปกครองท้องที่ในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 3. เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัย โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 359 คน และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน โดยการการทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนกับ การประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล สถิติที่ใช้คือ การทดสอบค่าที ในกรณีตัวแปรอิสระสองกลุ่มและการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 1) มีความประพฤติที่เหมาะสมต่อบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย รองลงมาคือ 2) ด้านวิสัยทัศน์ ทัศนคติ ในการพัฒนาชุมชนในการส่งเสริมด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย และ 3) ด้านการให้ความสำคัญกับประโยชน์ส่วนรวม ในการส่งเสริมการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย
2. ผลการเปรียบเทียบศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ต่างกันมีศักยภาพการบริหารงานไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมุติฐาน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนรวมในการบริหารงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3. การประยุกต์หลักสัปปุริสธรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานของนักปกครองท้องที่ในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี (1) ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย หลักธัมมัญญุตา ความรู้เหตุจะช่วยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการหมู่บ้านเข้าใจปัญหา (2) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ใช้หลักปริสัญญุตา ความรู้จักชุมชนและรู้จักที่ประชุม และ (3) ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้หลักอัตถัญญุตา ความรู้ผลในแง่ของการอนุรักษ์ธรรมชาติ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the administrative competence of local governors in Bangplama District, Suphanburi Province; 2) to compare an application of Sappurisa-dhamma for the development of administrative competence of local governors in Bangplama District, Suphanburi Province; and 3) to explore an application of Sappurisa-dhamma for the development of administrative competence of local governors in Bangplama District, Suphanburi Province. The study used mixed-methods research, with quantitative data acquired from 359 people and qualitative data collected from 9 key informants.
From the study, the following results are found:
1) The level of administrative potential of Bangplama district, Suphan Buri Province as a whole is at a high level. When considering each aspect, it was found that the aspects with the highest average values were (1) Behavior appropriate to the roles and responsibilities in promoting the administration and maintaining order, followed by (2) Vision, attitude in community development. in promoting governance and maintaining peace.
2) The Comparison of Administration Potential of Local Administrators in Bangplama District, Suphanburi Province Categorized by personal factors, it was found that people with different genders, ages, occupations and incomes had no different management potential. therefore rejecting the hypothesis The people with different educational levels had different participation in the administration at the statistical significance at the 0.05 level. The research hypothesis was accepted.
3) The application of Sappurisadhamma To develop the administrative potential of the local rulers in Bang Pla Ma District. Suphan Buri Province 1) the government and the protection of peace, Dhammaññutā ; knowing of cause will help the village’s chief and village council understand the problem, 2) development and the promotion of career, Parisaññutā ; knowing of community and meeting, and 3) conserve the natural resources and environment, Atthaññutā ; knowing of result in conservation of nature
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|