โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักพลธรรม ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Competency Development for Work Performance Based on Bala of Personnel at Phlapphla Chai Subdistrict Administrative Organization, U Thong District, Suphan Buri Province
  • ผู้วิจัยพระอธิการอนุชา ฐานุตฺตลาโภ (ชนะขันธ์)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูโสภณวีรานุวัตร, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นพดล ดีไทยสงค์
  • วันสำเร็จการศึกษา06/08/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/49804
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 45

บทคัดย่อภาษาไทย

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี  2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักพลธรรม ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

               การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในเขตปกครององค์การบริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 387 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.954 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์โดยการพรรณนาแจกแจงความถี่ประกอบตาราง และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

              ผลการวิจัยพบว่า

              1. ระดับสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านสมรรถนะในการวางแผนและการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ได้แก่ ด้านสมรรถนะในการบริหารตนเอง สมรรถนะในการทำงานเป็นทีม สมรรถนะในการตระหนักรับรู้เรื่องโลกาภิวัตน์ สมรรถนะในการสื่อสาร และ สมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ตามลำดับ

             2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประชาชนที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

           3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักพลธรรม ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี คือ 3.1 ด้านสมรรถนะในการสื่อสาร บุคลากรต้องมีการเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม สื่อสารให้ผู้ฟังเข้าใจวัตถุประสงค์อย่างตรงประเด็น 3.2 ด้านสมรรถนะในการวางแผนและการบริหารจัดการ บุคลากรต้องอาศัยองค์ความรู้ความเข้าใจในการวางแผนบริหารจัดการ มีการประชุมวางแผนแบ่งงานตามสายงานก่อนการปฏิบัติงาน กำหนดระยะเวลาในการดำเนินงาน และมีการจัดสรรทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเหมาะสม 3.3 ด้านสมรรถนะในการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารต้องจัดหา จัดสรรบุคลากรที่มีทักษะความรู้ ความสามารถให้ตรงกับงานที่มอบหมาย สร้างสัมพันธภาพ และทัศนะคติที่ดี ขจัดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในทีม 3.4 ด้านสมรรถนะในการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ การวางกลยุทธ์เป็นภาระงานของผู้บริหาร โดยผู้บริหารต้องกำหนดแผนปฏิบัติงาน นโยบาย และกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานประจำปี 3.5 ด้านสมรรถนะในการตระหนักรับรู้เรื่องโลกาภิวัตน์ บุคลากรต้องเปิดรับองค์ความรู้ใหม่ ๆ รู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานให้ทันสมัยรวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน เรียนรู้พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี และสื่อโซเชียลมีเดียเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน และ 3.6 ด้านสมรรถนะในการบริหารตนเอง บุคลากรต้องปฏิบัติงานตามแผนงาน และกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงาน มีความตั้งใจใฝ่ศึกษาหาความรู้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               The study consisted of the following objectives: 1. to investigate the level of competency for work performance of personnel at Phlapphla Chai Subdistrict Administrative Organization, U Thong District, Suphan Buri Province; 2. to compare the opinions of people toward competency development for work performance of personnel at Phlapphla Chai Subdistrict Administrative Organization classified by personal factors; and 3. to present the guidelines of competency development for work performance based on Bala of personnel at Phlapphla Chai Subdistrict Administrative Organization, U Thong District, Suphan Buri Province.

              The study used a mixed-method approach that included both qualitative and quantitative methods. A sample group used for the quantitative method consisted of 387 people in Phlapphla Chai Subdistrict Administrative Organization, U Thong District, Suphan Buri Province who were chosen by stratified random sampling. The tool used for data collection was a questionnaire with a reliability of 0.954. The obtained data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test, One-Way ANOVA, and least significant difference (LSD). The data collected from open-ended questionnaire were analyzed by a frequency table. The qualitative method employed in-depth interview to collect data with 15 key informants. The obtained data were analyzed by content analysis.

                From the study, the following results are found:

               1. The overall level of competency for work performance of personnel at Phlapphla Chai Subdistrict Administrative Organization, U Thong District, Suphan Buri Province found to be at a high level. When each aspect is examined, it is revealed that they all have a high level in the following order: planning and administration competency, self-management competency, teamwork competency, competence in globalization awareness, communication competence, and strategic competency, respectively.

              2. From comparing the opinions of people toward competency for work performance of personnel at Phlapphla Chai Subdistrict Administrative Organization classified by personal factors, it is discovered that people of different ages have different opinions with a statistical significance of 0.05. People of different incomes have different opinions with a statistical significance of 0.01; therefore, accepting the null hypothesis. There are no differences in opinions among people of different genders, educational levels, and occupations; therefore, denying the null hypothesis.

             3. The guidelines of competency development for work performance based on Bala of personnel at Phlapphla Chai Subdistrict Administrative Organization, U Thong District, Suphan Buri Province are found as follows: 3.1 Communication competence in which personnel should utilize suitable technological mediums of communication. 3.2 Planning and administration competency in which personnel should rely a body of knowledge and understanding in planning and administration and allocate resources appropriately. 3.3 Teamwork competency in which personnel should assign personnel with the knowledge and skills necessary for the allocated task, cultivate positive relationships and attitudes, minimize conflicts between team members. 3.4 Strategic competency in which personnel should establish an action plan, policies, and tactics for their work performance annually. 3.5 Competence in globalization awareness in which personnel should be open to a new body of knowledge, change their work behavior to stay current and respond promptly to the requirements of the people, develop skills on the use of technology and social media to improve work effectiveness. 3.6 Self-management competency in which personnel should perform work according to plan and regulation of the organization, aspire to gain knowledge and develop themselves on a regular basis.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ