-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษFlood Problem Adminstration of Local Adminstrative Organization of Singburi Province
- ผู้วิจัยนางสาวสุวิมล สังวรณ์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.รัฐพล เย็นใจมา
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อนุวัต กระสังข์
- วันสำเร็จการศึกษา12/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/499
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 2,025
- จำนวนผู้เข้าชม 818
บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.962 สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 3 อำเภอ ของจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 380 คน จากประชากรทั้งหมด 7,422 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( x̅ = 3.72) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่) 1) ด้านการบรรเทา (x̅=3.77) 2) ด้านการเตรียมการ (x̅= 3.63) 3) ด้านการสู้ภัย (x̅ = 3.73) และ 4) ด้านการฟื้นฟู (x̅ = 3.76)
2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนในการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัย โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. แนวทางการบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี คือ 1) ด้านการบรรเทาเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำหลากท่วมในระดับลุ่มน้ำ ควรทำการจัดการอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ตอนบนและการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติมในพื้นที่ตอนบน สำหรับในจังหวัดสิงห์บุรีต้องมีการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมือง ได้แก่ เทศบาลเมืองสิงห์บุรี เทศบาลตำบล 3 แห่ง (อินทร์บุรี ปากบาง และบางน้ำเชี่ยว) อย่างถาวร 2) ด้านการเตรียมการ ควรทำการปรับปรุงฟื้นฟูหนองบึงธรรมชาติในพื้นที่ โดยการปรับปรุงระบบระบายน้ำ เช่น ทำการขุดลอกระบายคู คลองน้ำ และควรมีแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ในจังหวัด 3) ด้านการสู้ภัยเป็นการดำเนินในช่วงขณะเกิดภัย ควรมีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ประสบภัยกับเจ้าหน้าที่ สนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับอบต.ในการแก้ไขปัญหา และควรมีอาสาสมัครด้านอุทกภัย 4) ด้านการฟื้นฟูเป็นการจัดการหลังเกิดภัย ควรมีการใช้หลักเกณฑ์ความเสียหายที่เป็นจริงมาประเมินให้ความช่วยเหลือ โดยประชาชนจำต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขจะทำให้ปัญหาต่างๆลดน้อยลง และควรดำเนินการให้เอกชนหรือมีหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำเข้ามาบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้มีการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were to: 1. study the flood problems of local administrative Organizations of Singhburi Province, 2. compare the flood problems administration of Local Administrative Organizations in Singburi Province and 3. study guidelines for the flood problems administration of Local Administrative Organizations in Singburi Province.
Methodology was the mixed methods: The quantitative research collected data with questionnaires with the validity value at 0.962 from 380 sample derived from 7,422 people 3 districts, analyzed data with frequency, percentile, mean, standard deviation, t-test and F-test, One way analysis of variance, ANOVA, testing hypothesis and paired variables with least significant difference, LSD. The qualitative research collected data from 12 key informants by in-depth-interview and analyzed data by descriptive interpretation.
Findings of this research were as follows:
1. People had opinions on the flood problems administration of Local
Administrative Organizations in Singburi Province at high level ( x̅ = 3.72), Each aspects
were also at high levels as: 1) Relief operation was at high level ( x̅ = 3.77), preparation
was at ( x̅ = 3.63) , Disaster tolerance was at ( x̅ = 3.73) , Rehabilitation was at
( x̅ = 3.76).
2. Comparison of people’s opinions on the flood problem administration of Local Administrative Organizations in Singburi Province classified by personal data indicated that people with different occupations and monthly income had different opinions at the statistically significant level at 0.05, accepting the set hypothesis. People with different gender, age and educational level did not have different opinions on the flood problem administration of Local Administrative Organizations in Singburi Province, rejecting he set
hypothesis.
3. The guidelines for the flood problem administration of Local Administrative Organization were as follows: 1) Relief aspect; flood problem at lower basin, additional dams should be built at upper basins. There must be permanent flood preventing dams for the Province, at Singburi municality and at 3 District municipalities ( Intaburi, Pakbang, and Bang Namchiew), 2) Preparation aspect; there should rebuild the natural ponds, reservoirs at the areas, by improving canals, ditches and drainage ditches and there should be large reservoirs in the Provinces, 3) Disaster tolerance; there should be communication networking between flood victims and officers, supporting people and Local Administrative Organizations to solve flood problems and flood volunteers should be recuited, 4) Rehabilitation aspect; after the flood relief fund should be calculated on the basis of real value. People have to abide by terules and regulations resulting the problem reduction. There also should open opportunities for agencies, private firms, or those involving water management to manage the water for more efficiency.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 7.21 MiB | 2,025 | 4 มิ.ย. 2564 เวลา 22:26 น. | ดาวน์โหลด |