-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิผลการปกครองของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 13
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Efficiency Development of Sangha Administration Model in 13TH Region Sangha Administration
- ผู้วิจัยพระครูสมุห์ชินวรวัตร ถิรภทฺโท (จุลเจือ)
- ที่ปรึกษา 1พระสุธีวีรบัณฑิต
- ที่ปรึกษา 2ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา23/03/2017
- ส่วนงานจัดการศึกษา:คณะสังคมศาสตร์
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 445
- จำนวนผู้เข้าชม 687
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการปกครองคณะสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 13 2. เพื่อศึกษาหลักอปริหานิยธรรมที่ส่งเสริมประสิทธิผลการปกครองของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 13 และ 3. เพื่อนำเสนอประสิทธิผลการปกครองของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 13
ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัย เชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (In-depth interview) จำนวน 21 รูป/คน เลือกแบบเจาะจง จากผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว และเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน 13 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลจาก ทั้งสองขั้นตอนโดยการพรรณนาความ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 302 รูป สุมตัวอย่างแบบง่าย จากประชากร 1,332 รูป โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน (Taro Yamane) เครื่องมือเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.955 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการปกครองของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 13 พบว่า 1) ด้านดำเนินงานปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย พระภิกษุสามเณรตั้งอยู่ในพระธรรมวินัยและเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาเป็นอย่างดี มีการกำหนดนโยบายในการปกครองคณะสงฆ์ที่ชัดเจน 2) ด้านควบคุมและส่งเสริมการรักษาความสงบเรียบร้อยดีงาม พบว่า มีการกำกับดูแลพระสงฆ์ในเขตปกครองในพระธรรมวินัยโดยปราศจากข้อร้องเรียน และส่งเสริมการศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่ การสาธารณูปการ การสาธารณสงเคราะห์ และมีการวางนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน 3) ด้านระงับอธิกรณ์ พบว่า ห้ามพระเดินบิณฑบาต เดินเรี่ยไรเงิน หรือปักกลดในเขตชุมชน และเจ้าคณะพระสังฆาธิการมีความยุติธรรมกลั่นกรองก่อนพิจารณา 4) ด้านการแก้ไขข้อขัดข้องของเจ้าคณะปกครองให้เป็นไปโดยชอบ พบว่า มีการให้รายงานผลการดำเนินงานของแต่ละวัดทุกปี และมีนโยบายให้เจ้าคณะผู้ปกครองควบคุมและสอดส่องดูแลความเรียบร้อยของพระภิกษุสามเณรอย่างสม่ำเสมอ 5) ด้านควบคุมการบังคับบัญชาเจ้าคณะปกครอง พบว่า มีการทำบัญชีร่ายรับ-รายจ่ายให้โปร่งใส และปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายไม่เกิดการทุจริตในหน้าที่ และ 6) ด้านตรวจการและประชุมพระสังฆาธิการในเขตปกครองของตน พบว่า มีจัดทำโครงการและการร่างนโยบายอันก่อให้เกิดความมั่นคงทางคณะสงฆ์ ห้ามพระภิกษุสามเณรสะพายกล้องถ่ายรูป
2. หลักอปริหานิยธรรมที่ส่งเสริมประสิทธิผลการปกครองของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 13 โดยภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( X bar=4.29) และเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องกันมาก (S.D.=0.456) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทั้ง 6 ด้าน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อย คือ อันดับที่หนึ่ง ด้านภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น อันดับที่สอง ด้านการพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะพึงทำส่วน อันดับที่สาม ด้านการไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้า ไม่ทรงบัญญัติ อันดับที่สี่ ด้านการไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น อันดับที่ห้า ด้านสพรหมจารี ผู้มีศีลงามยังไม่มาขอให้มา อันดับที่หก ด้านการหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ และ อันดับที่เจ็ด ด้านการยินดีในเสนาสนะป่า ตามลำดับ
3. ประสิทธิผลการปกครองของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 13 พบว่า 1) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ คือ ได้ดำเนินการประชุมพระภิกษุสามเณรภายในพื้นที่ปกครองเป็นประจำ และได้ดำเนินการประชุมระหว่างคณะสงฆ์กับชุมชนอยู่เนืองๆ 2) พร้อมเพรียงกันประชุม คือ การประชุมทุกคนต้องเคารพกฎระเบียบ มีมารยาทที่ดีในการประชุม เคารพประธานในการประชุม 3) ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติคือผู้ปกครองคณะสงฆ์ โดยจะปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัย และกฎหมายของบ้านเมือง เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย 4) ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น คือ ได้จัดให้มีกิจกรรมอบรมหรือสัมมนาแก่พระภิกษุใหม่อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อให้พระภิกษุใหม่ได้พบปะเจ้าคณะปกครองและเพื่อนสหธรรมิกต่างวัดมากขึ้น 5) การไม่ลุอำนาจตัณหาความอยากที่เกิดขึ้น คือ การเสียสละก็ดี การมีใจเมตตาปราณีกับผู้อื่นก็ดี เป็นคุณธรรมที่จะช่วยปิดกั้นความลุอำนาจตัณหาที่จะเกิดขึ้นในจิตได้ 6) การยินดีในเสนาสนะป่า คือ ได้มีการดูแลเสนาสนะที่อยู่อาศัยให้สะอาดเรียบร้อยปลอดภัย เป็นสาเหตุให้เกิดความสงัด เกิดความสงบ ไม่พลุกพล่านจนเกินไป ให้เกิดระเบียบปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 7) สพรหมจารีผู้มีศีลดีงามยังไม่มาขอให้มา คือ ได้มีนโยบายเข้มงวดเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการวัด โดยนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนาวัดให้มากขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were : (1) to study the state of The Effectiveness on administration of Sangha Administrators in the Sangha administration Area of Region 13, (2) to study the principle of Aparihaniyadhamma to promote the Effectiveness on administration of Sangha Administrators in the Sangha administration Area of Region 13, (3) to present the Effectiveness on administration of Sangha Administrators in the Sangha administration Area of Region 13.
This research was the mixed method research between the qualitative research and quantitative research. The data collection was from 19 key informants by specific sampling from specialists. The tool for data collection is the in-depth interview one by one and focus group discussion for 13 persons. The data analysis is through descriptive way. The quantitative research collected the data from 302 sampled monks as sampling group through simple random sampling from the population as 1332 monks by using Taro Yamane formation. The tools for data collection is the questionnaire with reliance test at 0.955 and data analysis used the statistic description are frequency, percentage, mean, standard deviation.
The findings of this research as follows :
1. The state of Effectiveness on administration of Sangha Administrators in the Sangha administration Area of Region 13, found that : 1) The process of Sangha administration according to Dhammavinaya, monks and novices along with Dhammavinaya and believe the administrator very well, to set up the policy of Sangha organization clearly. 2) To control and promote the security and calmness that found that to take care of monks in the Sangha organization area in Dhammavinaya without campaigning and to promote the religious education, educational welfare, Buddhism propagation, construction, public welfare and have the policy and practice clearly. 3) To solve the problem, found that not allow the monks to go out for alms, go for a walk for donation or to stay in the community area and Sangha administrators to have the fairness to scrutinize. 4) To solve the conflict of Sangha administrators correctly, found that to have the report the work of the temple annually and have the policy to administrators to control and take care of the readiness of monks and novices. 5) To control the leader of Sangha administrators, found that to have the income and expenditure account with transparency and work according to the mission of Sangha administrator or executive without corruption. 6) To examine and have the meeting for Sangha administrators, found that to have the project and draft of policy for having the security of Sangha organization and forbidding the monks to use the camera.
2. The principle of Aparihaniyadhamma to promote the Effectiveness on administration of Sangha Administrators in the Sangha administration Area of Region 13, in over all found that the questionnaire respondents had the opinion at high level (X bar=4.29) and had the opinions matching at high level (S.D.=0.456). When considered in each aspect, found that six aspects had the opinion at high level : the first aspect was the senior respected monks , the second aspect was the readiness of open and closed meeting including Sangha activity, the third aspect was no issue for new rule that Lord Buddha did not issue, the forth aspect was no craving for power, the fifth aspect was the good behavior, the sixth aspect was often and continuously meeting, the seventh aspect was happy to live as the simple way.
3. The Effectiveness on administration of Sangha Administrators in the Sangha administration Area of Region 13, found that 1) The often and continuously meeting is to have the monks and novices meeting regularly in the own administration area and to have the meeting among the Sangha organization continuously. 2) The readiness of meeting, is the meeting that every one must obey the rule , have good manners at the meeting, respect the chairman in the meeting hall. 3) The no issue for new rule that Lord Buddha did not issue by behaving and practicing according to Dhammavinaya principle and law of government, have the hospitality to Dhammavinaya, 4) The senior respected monks, is to have the training activity or seminar to the new monks at least one time a month that new monks will meet the Sangha leader and friends in Dhamma in many temples 5). The no craving for power is to sacrifice the have the loving kindness with others as the morality to close or end the cravings to have in the mind. 6) The Happiness to live as the simple way, is to look after the building of residents to have the cleaning, safety, causing of calmness, to obey the rule strictly. 7) The good behavior for new comers, is to have the policy strictly to be applied to temple management that to use the modern technology for temple development.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 27.9 MiB | 445 | 16 ก.พ. 2564 เวลา 21:58 น. | ดาวน์โหลด |