-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดน่าน
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษDevelopment of personnel motivation for performance Under the administrative office of Nan Province
- ผู้วิจัยนายตวงศักดิ์ ไชยสลี
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ธิติวุฒิ หมั่นมี
- วันสำเร็จการศึกษา16/07/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50004
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 33
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดน่าน 2. เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดน่าน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดน่าน โดยประยุกต์ใช้ตามหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของที่ทำการปกครองจังหวัดน่าน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 129 คน จากจำนวนฝ่ายปกครองทั้งหมด 189 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้ค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดน่าน ปัจจัยจูงใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.65) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านความสำเร็จในการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.97) ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.65) ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.69)
ด้านความรับผิดชอบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.59) และด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.32) ปัจจัยค้ำจุน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.64)
เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านนโยบายและการบริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.88) ด้านการปกครองและบังคับบัญชา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.86) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.36) ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.24) และระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดน่าน ตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.93)
2. ผลการเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดน่าน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรมีอายุและระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดน่านไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนบุคลากรที่มีเพศ ระดับการศึกษา และตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดน่านแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการปกครองจังหวัดน่าน โดยประยุกต์ใช้ตามหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 คือ ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาควรนำหลักพุทธธรรมดังกล่าวมาบูรณาการประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน ในการสงเคราะห์และการช่วยเหลือขององค์กรให้กับบุคคลผู้ปฏิบัติงานเป็นสิ่งที่ดีนอกจากผู้รับจะได้นำไปใช้ประโยชน์และยังสร้างความปิติให้กับผู้รับเกิดความสุข ให้การช่วยเหลือกันด้วยกำลังกายกำลังใจและกำลังความคิดช่วยเสนอแนะความคิดเห็นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา เป็นสิ่งที่จำเป็นให้เกิดความรักความสามัคคีส่งผลให้องค์กรบรรลุภารกิจ จะทำให้การทำงานราบรื่นประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้มีความสุขกายสุขใจในการทำงานปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์กรอย่างยั่งยืน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of A Research Paper are: 1. To study the level of work motivation of personnel under the Nan Provincial Administration Office; 2. To compare the work motivation of personnel under the Nan Provincial Administration Office. 3. To study the guidelines for the development of work motivation of personnel under the administration of Nan Province. It was applied according to the principles of Sangkhahavatthu 4 methods of conducting the research as an integrated research method. By quantitative research A survey research method was used. The samples used in the research were personnel of the Nan Provincial Government Office. By using the random sampling method from Taro Yamane's formula, there were 129 samples from a total of 189 parents. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested using the F-Test using one-way analysis of variance. In the case of the original variable from three groups or more When differences were found, they were compared by the least significant difference method. and qualitative research Use in-depth interviews with 10 key informants or people. Use context analysis techniques. Presented as an essay accompanying the frequency distribution table of key informants. to support quantitative data
ง |
|
The results showed that
1. The level of work motivation of the personnel under the administration of Nan Province, the overall motivation factor was at a high level ( = 3.65), and the overall motivation factor was at a high level ( = 3.64) and the level of work motivation of personnel under the administration of Nan Province. According to the principle of sanghahavatthu 4, the overall score is at a high level ( = 3.93).
2. The results of comparing the level of work motivation of the personnel under the administrative office of Nan Province. Classified by personal factors, it was found that personnel had different ages and duration of work. There were no differences in the opinions towards the level of motivation to work of the personnel under the Nan Provincial Administration. therefore rejecting the hypothesis set as for personnel with sex education level and different positions There were different opinions towards the level of work motivation of personnel under Nan Province administration. Therefore accept the hypothesis set.
3. Guidelines for the development of work motivation of personnel under the administrative office of Nan Province By applying the 4 Sangahavatthu Dhamma principles, that is, executives or supervisors should integrate the aforementioned Buddhadhamma principles into administration. In providing assistance and assistance to organizations for individuals, the practitioners are good things, besides the recipients will benefit and also create joy for the recipients to be happy. Let's help each other with strength and thought, suggest ideas that will be beneficial to development. It is necessary to create love and unity resulting in the organization achieving its mission. Will make work smooth, successful as intended, happy physically, happy to work, performing duties with full capacity, being able to achieve maximum efficiency and effectiveness for the organization sustainably.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|