โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยการประยุกต์ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษTourism Management Development in the Eastern Economic Corridor by Applying the Buddhism Teaching Principles
  • ผู้วิจัยพันเอกหญิง พัชร์ศศิ เรืองมณีญาต์
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร. เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร. สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา25/08/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50018
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 58

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 3. เพื่อนำเสนอการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยการประยุกต์ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 399 คน ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.960 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล     

             ผลการวิจัยพบว่า

             1. การจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พบว่า โดยภาพรวมการจัดการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงลำดับดังนี้ การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว โดยการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวให้มีมาตรฐาน มีความน่าสนใจและตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยว รองลงมาคือ การสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว โดยการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี มุ่งเน้นการสื่อสารคุณค่าของ EEC ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ อันดับ 3 คือการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว โดยพัฒนาทักษะทางอาชีพให้แก่บุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก โดยการพัฒนาระบบขนส่งทั้งขนส่งสาธารณะ ระบบราง และเครื่องบินให้มีความเชื่อมโยงกัน  

             2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พบว่า 1) การบริหารจัดการการท่องเที่ยว ประกอบด้วย การเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรม สิ่งดึงดูดใจ และที่พัก ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 และสามารถร่วมกันทำนายการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้ร้อยละ 26.0 (Adjusted R2=0.260) 2) หลักอปริหานิยธรรม 7 ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 5 ด้าน ประกอบด้วย หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ การไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ควรบัญญัติ ให้การดูแลเอาใจใส่แก่ผู้มาเยือน พร้อมเพรียงกันประชุม การความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 และสามารถร่วมกันทำนายการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้ร้อยละ 52.5 (Adj. R2=0.525)

             3. การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยการประยุกต์ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา มีดังนี้ การจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย 1. ด้านการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว โดยการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาสินค้าและบริการไปสู่ระดับสากลและมีมาตรฐาน 2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก มีระบบเครือข่ายไร้สายครอบคลุมทุกพื้นที่ 3. การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว การเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ 4. การสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว การป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่นักท่องเที่ยวเพื่อสร้างความเชื่อมั่น โดยมีการนำหลักอปริหานิยธรรม 7 เข้ามาประยุกต์เพื่อพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย 1. การหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ 2. การพร้อมเพรียงกันประชุม 3. การไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ควรบัญญัติ 4. การให้ความเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว 5. การเคารพสิทธิมนุษยชน 6. การให้ความเคารพสถานที่ 7. การดูแลเอาใจใส่แก่ผู้มาเยือน นอกจากนั้นยังมีการเสริมสร้างด้วยปัจจัยด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านกิจกรรม ด้านการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านที่พัก เพื่อพัฒนาสิ่งที่เป็น Local เพื่อไปสู่ Global

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were: 1. To study tourism management in the Eastern Economic Corridor (EEC), 2. To study factors affecting tourism management in EEC. 3. To propose the development of tourism management in EEC by applying Buddhism teaching principles, conducted by the mixed research methods. The quantitative research collected data from 399 samples using a questionnaire with a total reliability of 0.960. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The qualitative research, data were collected by in-depth interviewing 18 key informants and 9 participants in focus group discussions to confirm knowledge after data synthesis.

              Findings were as follows:

             1. Tourism management in EEC was found that by overall was at a high level. When each aspect was considered, it was found each aspect was at a high level in the following order: Improving the quality of tourist attractions by developing the quality of tourist attractions to meet the standards, to be interesting and to meet the needs of tourists. Secondly, building tourist confidence by enhancing a positive image focusing on communicating the value of EEC to be a quality tourist attraction. Thirdly, was the development of tourism personnel by continuously developing professional skills for personnel in the tourism industry to support social changes and infrastructure and facilities development by developing a public transportation system the rail system and the aircraft are linked.

             2. Factors affecting tourism management in EEC were found that 1) tourism promotion factors included accessibility, facilities, activities, attractions and accommodation; Impact on tourism management in EEC with statistically significant value at levels of 0.01 and 0.05 and could jointly predict tourism management in EEC by 26.0% (Adjusted R 2=0.260). 2)  The principle of Aparihaniya-dhamma 7 affected tourism management in EEC in 5 aspects, which are as follows: Regularly meeting and not establishing what should not be established. Providing care to visitors, respecting and listening to the opinions of elders or travel professionals at statistically significant value at levels of 0.01 and 0.05 and could jointly predict tourism management in EEC by 52.5% (Adj. R2=0.525).

             3. Tourism Management Development in the Eastern Economic Corridor by Applying the Buddhism Teaching Principles was as follows: Tourism management in EEC consisted of: 1. Improving the quality of tourist attractions by promoting competitiveness in tourism; Development of products and services to the international level and standards, 2. Infrastructure and facilities development, wireless network coverage was in all areas 3. Development of tourism personnel, good host, proficiency in English and other languages, 4. building tourist confidence; prevention and security of life and property for tourists to build confidence by applying the principle of Aparihaniya-dhamma 7 to develop tourism management in EEC consisting of: 1. Constant meetings 2. Simultaneous meetings 3. Failure to enact what should not be enacted 4. Respect and listen to the opinions of elders or tourism professionals 5. Respect for Human Rights 6. Respect for the Places 7. Care for Visitors. In addition, it was also reinforced with tourism factors, including attraction, activity, etc. Access, facilities and accommodation to develop from Local to Global.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ