โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์หลักปาปณิกธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษApplication of Papani-kadhamma for Leadership Development of Sub-District Headman,Village Headman at Chaiwattana Sub-District, Pua District, Nan Province
  • ผู้วิจัยนางสาวปัญจศิลป์ วรรณภพ
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา16/07/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50019
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 91

บทคัดย่อภาษาไทย

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน  2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อประยุกต์หลักปาปณิกธรรมมาใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลไชยวัฒนาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 366 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 4,208 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้ค่าเอฟ (F-Test)      ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ

              ผลการวิจัยพบว่า

              1. ภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยภาพรวม  อยู่ในระดับมาก และภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน      ตามหลักปาปณิกธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบล        ไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศและการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีอายุ อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่านแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐาน

ที่ตั้งไว้

 

          3. แนวทางในการประยุกต์หลักปาปณิกธรรมมาใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลไชยวัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 1) ด้านจักขุมา การเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ควรกำหนดทิศทางการดำเนินงานโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน มีวิสัยทัศน์มองการณ์ไกล มีกระบวนการคิดที่รอบคอบและมีเหตุผล 2) ด้านวิธูโร การเป็นผู้ชำนาญในงาน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ควรมีความรับผิดชอบต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ แก้ไขปัญหา     ที่เกิดขึ้นได้ทันต่อเหตุการณ์ มีความชำนาญในงานของตน และมีความชำนาญเฉพาะด้าน ทั้งการบริหารคน บริหารทรัพยากร หรือบริหารชุมชน 3) ด้านนิสสยสัมปันโน การเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและได้รับความเชื่อถือจากผู้อื่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านควรเป็นกัลยาณมิตรกับผู้ร่วมงานและประชาชน     มีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการติดต่อประสานงาน และเป็นนักประสานงานที่มุ่งสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนในชุมชน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this thesis were: 1. To study the level of people's opinions towards the leadership of Sub-District headman, village headman at Chaiwatthana Sub-District, Pua District, Nan Province. 2. To compare people's opinions on the leadership of Sub-District headman, village headman in Chaiwattana Sub-district, Pua District, Nan Province, classified by personal factors. and 3. To study the approaches of applying Papanika-dhamma for leadership development of Sub-District headman, Village headman at Chaiwatthana Sub-District, Pua District, Nan province. The methodology was the mixed methods. The quantitative research, by survey method, collected data from samples who were people living at Chaiwatthana Sub-District by using the random sampling method using Taro Yamane's formula, obtained  366 samples derived from the population of 4,208 people. Data were analyzed by finding frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested using the F-Test using one-way analysis of variance. ANOVA. In the case of the original variable from three groups or more when differences of instances of factors were found, they were compared by the least significant difference method. LSD. The qualitative research, data were collected from 10 key informants by in-depth-interviewing and analyzed data by content descriptive interpretation, presented in descriptive form of frequency table, using data to support the quantitative data.

 

 

Findings were as follows:

              1. The leadership of Sub-District headman, village headman at Chaiwatthana    Sub-District, Pua District, Nan Province, by overall, was at a high level.  

              2. The comparison of the level of people’s opinions on the leadership of Sub-District headman, village headman at Chaiwatthana Sub-district, Pua District, Nan province, classified by personal factors, was found non-different, rejected the set hypothesis. For the people with different ages, occupations and incomes had different opinions on the leadership of Sub-District headman, village headman at Chaiwatthana Sub-district, Pua District, Nan province, accepted the set hypothesis.

3. Guidelines for applying the principles of the Papanika-dhamma for leadership development of Sub-District headman, village headman at Chaiwatthana Sub-District,        Pua District, Nan Province. were that: 1) Cakkhuma:  being a person with a wide vision, Sub-District headman, village headman should determine the direction of their operations by emphasizing on the participation of the people with far-sighted vision and  thoughtful and rational thought process 2) Withuro:  being an expert in the work of Sub-District headman, village headman, should be fully responsible for the assigned mission, To solve problems that arise in a timely manner, to have expertise in their work and to have specific expertise for managing  people, resources and  community. 3) Nissayasampanno:  being a good interpersonal person and being trusted by others. Sub-District and village headmen should be good friends with colleagues and the people. To have good interpersonal skills in coordination and to be good coordinators who aimed to build good relationships with people in the community.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ