-
ชื่อเรื่องภาษาไทยภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Buddhist Leadership According to the Seven Sappurisadhamma Principles of Educational Institution Administrators under the Office of Loei Primary Educational Service Area 2
- ผู้วิจัยนายอภิวัฒน์ ชัยเสน
- ที่ปรึกษา 1พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร, รศ.
- ที่ปรึกษา 2พระครูปลัดสมชัย นิสฺสโภ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา22/08/2023
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50127
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 65
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา 2. เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา 3. เสนอแนวทางภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 320 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการครองงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการครองคน
2. ภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านปริสัญญุตา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านมัตตัญญุตา
3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
4. การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
5. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควร จัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายงบประมาณ ส่งเสริมการประเมินวิทยาฐานะ พัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนด พัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พัฒนาเครือข่ายการศึกษาอย่างครบวงจร ประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น บริหารจัดการทรัพยากร ใช้จ่ายงบประมาณของโรงเรียนอย่างประหยัดและคุ้มค่า ใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ การบริหารและจัดการหลักสูตรตามเวลาที่กำหนด พัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ มีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้ชุนชมมีส่วนร่วมวางแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รายงานผลการปฏิบัติงานเป็นประจำ เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล พัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างเป็นระบบ และสร้างความสามัคคีของบุคลากร
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were: 1) to study Buddhist leadership according to the Seven Sappurisadhamma principles of educational institution administrators; 2) to compare Buddhist leadership according to the Seven Sappurisadhamma principles of educational institution administrators classified by position, educational background, and work experience; 3) to propose the guideline of Buddhist leadership according to the Seven Sappurisadhamma principles of educational institution administrators under the Office of the Loei Primary Educational Service Area 2. The sample group used in the research included 320 participants. The statistics used for data analysis were: frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.
The research results were as follows:
1) The overall Buddhist leadership of educational institution administrators under the Office of the Loei Primary Educational Service Area 2 was at a high level, based on the statistical analysis. The highest mean value was seen in the aspect of occupation while the lowest mean value was seen in the aspect of people's occupation.
2) The overall Buddhist leadership according to the Seven Sappurisadhamma principles of educational institution administrators under the Office of the Loei Primary Educational Service Area 2 was at a high level, based on the statistical analysis. The highest mean value was seen in the aspect of Parisaññutā while the lowest mean value was seen in the aspect of Mattaññutā.
3) The result of the opinion comparison on Buddhist leadership according to the Seven Sappurisadhamma principles of educational institution administrators under the Office of the Loei Primary Educational Service Area 2, classified by the samples’ educational background and work experience showed indifference to the opinion.
4) The result of the opinion comparison on Buddhist leadership according to the Seven Sappurisadhamma principles of educational institution administrators under the Office of the Loei Primary Educational Service Area 2, classified by the samples’ educational background and work experience showed indifference to the opinion.
5) The guideline of Buddhist leadership according to the Seven Sappurisadhamma principles of educational institution administrators under the Office of the Loei Primary Educational Service Area 2 was that educational institution administrators should prepare an action plan for budget expenditures, promote academic standing assessment, develop operational standards and an educational institution's curriculum according to the specified criteria, develop and use technological media for education, develop a comprehensive education network, coordinate academic development in collaboration with other educational institutes and organizations, manage resources, spend the school budget economically and worthily. They should utilize sufficient and efficient operational resources, manage and organize courses on time, develop a learning process that focuses on the learners, and engage the community appropriately to participate in the school's educational development plan. They should coordinate with relevant sectors and make regular performance reports, understand individual differences, systematically develop the performance standards of personnel and create unity among them.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|