โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวทางการแผ่เมตตาเจโตวิมุตติเพื่อการกำหนดรู้อริยสัจ 4 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Guidelines of Mettācetovimutti Meditation for Determining the Four Noble Truths in Vipassana Meditation Practice
  • ผู้วิจัยพระจักรพงค์ ปิยธมฺโม (ไหมเพชร)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.วิโรจน์ คุ้มครอง
  • ที่ปรึกษา 2ดร.สุภีร์ ทุมทอง
  • วันสำเร็จการศึกษา06/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50147
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 293

บทคัดย่อภาษาไทย

            ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาการแผ่เมตตาเจโตวิมุตติในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาการแผ่เมตตาเจโตวิมุตติเพื่อการกำหนดรู้อริยสัจ 4 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการแผ่เมตตาเจโตวิมุตติเพื่อการกำหนดรู้อริยสัจ 4 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผสมผสานการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เพื่อรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาเรียบเรียง นำเสนอแบบบรรยายเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัยพบว่า การแผ่เมตตาเจโตวิมุตติเป็นเมตตาที่พัฒนามาจากการแผ่เมตตาภาวนาจนเป็นเมตตาพรหมวิหาร และเมตตาอัปปมัญญา คือการแผ่ความเอ็นดู ความรักใคร่ ความเป็นมิตรมีปิยมนาปสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ จนปราศจากนิวรณ์ เป็นอัปปนาสมาธิ ด้วยปฐมฌานถึงตติยฌาน และพัฒนาต่อเนื่องจนถึงจตุตถฌานด้วยอุเบกขาเจโตวิมุตติ ผู้ที่จะแผ่เมตตาเจโตวิมุตติได้ ต้องเป็นผู้มีสัมมาทิฎฐิสมบูรณ์ ได้มีประสบการณ์ผ่านการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 มาพอสมควรแล้ว

            การแผ่เมตตาเจโตวิมุตติเพื่อการกำหนดรู้อริยสัจ 4 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือ การแผ่เมตตาเจโตวิมุตติโดยเข้าไปกำหนดรู้ทุกขสัจอันเป็นฌานจิตของเมตตาเจโตวิมุตติ จนละสมุทัยสัจ คือความยินดีในสังขารขันธ์ของเมตตาเจโตวิมุตติ เจริญมรรคสัจด้วยการยินดีในพระนิพพาน เห็นแจ้งนิโรธสัจ คือ ความไม่เกิดอีกของความยินดี ความพอใจ หรือตัณหาในสังขารขันธ์ของเมตตาเจโตวิมุตติ และทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นการเจริญมรรคสัจ 

            แนวทางการแผ่เมตตาเจโตวิมุตติเพื่อการกำหนดรู้อริยสัจ 4 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือการแผ่เมตตาเบื้องต้นและการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เป็นแนวทางการสร้างสัมมาทิฏฐิของผู้ปฏิบัติธรรมจนแผ่เมตตาเจโตวิมุตติตามแนวทางต่อไปนี้ (1) แผ่เมตตาภาวนา คือ การน้อมจิตเป็นกิริยาที่รักใคร่ แผ่เป็นพรหมวิหารถึงอัปปมัญญาที่ไม่มีประมาณจากเมตตาอัปปมัญญาถึงอุเบกขาอัปปมัญญา (2) การแผ่เมตตาเจโตวิมุตติ คือ การแผ่เมตตาจิตมีรูปฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 3 และฌานที่ 4 เมื่อเป็นอุเบกขาเจโตวิมุตติ เป็นการแจ้งเจโตวิมุตติ (3) การแผ่เมตตาอบรมอินทรีย์ อบรมพละ พัฒนาโพชฌงค์ เจริญมรรคมีองค์ 8 และกำหนดรู้ทุกขสัจของฌานจิตที่แผ่เมตตาเจโตวิมุตติเป็นนาม พรหมวิหารธรรมในหทัยวัตถุเป็นรูป ละกิเลสที่เหลือเป็นสมุทัยสัจ สลัดคืนพรหมวิหารสัญญาเป็นนิโรธสัจ น้อมนิพพานเป็นอุบายออกเป็นมรรคสัจ แจ้งปัญญาวิมุตติ ละอนุสัยกิเลสตามลำดับ เป็นวิปัสสนาภาวนาแบบยุคนัทธนัย บรรลุธรรมเป็นพระอริยะบุคคลแบบอุภโตภาควิมุตติ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This dissertation contains 3 objectives: (1) to study Mettācetovimutti Meditation in Theravadin scriptures, and (2) to study Mettācetovimutti Meditation for the Four Noble Truth Realization in Vipassana Meditation practice. and (3) to The guidelines for Mettācetovimutti Meditation for the Four Noble Truth Realization in Vipassana Meditation practice. This research is qualitative research that combines documents study with in-depth interviews to gather information. then compiled presenting a descriptive narrative.

The results showed that Mettācetovimutti Meditation is the kindness development from all beings' assistance. Positive livings are mind objectives, free from Hindrances (Nīvaraṇa), Access to Concentration (Upacāra-samādhi) with the Third Jhana (Tatiyajjhāna), and continually developed until the Fourth Jhana by the Neutrality (Upekkhā) power. A person who can cultivate Mettācetovimutti must have complete enlightenment, that is, through the practice of Vipassana according to the Four Foundations of Mindfulness at a suitable level.

Mettācetovimutti Meditation for the Four Noble Truth Realization in Vipassana Meditation practicing according to the Four Foundations of Mindfulness by defining the knowledge in mentality–materiality objects of the Five Groups of Existence (Pañcha-khandha) until Cease of the Origin of Suffering (Dukkha-samudaya), see the Extinction of Suffering (Dukkha-nirodha), which is the complete cessation of craving. All above is the Noble Truth of Path (Dukkha-nirodha-gāminīpaṭipadā) prospering. Therefore, the realizing the Four Noble Truths by the determination of knowledge in the form of the Five Groups of Existence, such as the movement of Wind Tangible Objects (Vāyo-phoṭṭhabba-rūpa), which is one of the Five Groups of Existence. These are the Vipassana objects according to the Principle of Mindfulness as Regards the Body (Kāyānupassanā), Contemplation on the Elements (Dhātu-manasikāra) category. Including focusing on defining knowledge in both significant and minor gestures, and continually conscious together with the emotional interview until being able to know the 4 Noble Truths completely.

Guidelines of Mettācetovimutti Meditation for determining the Four Noble Truths in Vipassana Meditation Practice, lead by concentration development. By cultivating prayers from Loving-Kindness (Mettā), Compassion (Karunā), Sympathetic Joy (muditā), and resulting Neutrality (Upekkhā), which is Holy Abidings (Brahmavihāra or Appamaññā). When continually meditating until the 1st-8th Jhana as Mettācetovimutti and Extinction of Perception and Feeling (Saññāvedayitanirodha). Then developed the Loving-Kindness Faculty (Mettāindriya) by concentrating power from Mettācetovimutti Meditation to acknowledge the Cause of the Suffering in the Five Groups of Existence, see the rising and extinguish of mentality elements, and manifest the origin of sufferings. Mettācetovimutti becomes more equanimous and enters the subtle meditation. This state of Mettācetovimutti has a cause and effect, no mental image (Nimitta). Thus the extinction of suffering, with a dharma condition with subtle rising and extinguishing objectives, relieves the clinging in the Five Aggregates. All are the cultivation of the Noble Truth of Path, the development of Mettācetovimutti that has a sequence of contemplation as the basis for developing Vipassana. There are three steps in the Love-Kindness Meditation, namely, Mettā-bhavanā, Mettācetovimutti, and Mettā-indriya.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ