โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แบบจำลองสมการโครงสร้างพุทธนวัตกรรมโดยใช้วิปัสสนาบำบัดเป็นฐานผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษStructural Equation Modeling of the Buddhist Innovation of Digital Platform on Vipassana-Based Therapy
  • ผู้วิจัยนางสาวนันทนัช อัศดรศักดิ์
  • ที่ปรึกษา 1พระธรรมวชิราจารย์ (สุชาติ กิตฺติปญฺโญ), รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระธรรมวชิรมุนี วิ. (บุญชิต ญาณสํวโร), รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 3ศ. (เกียรติคุณ) ดร.พันธุ์ทิพย์ รามสูต
  • วันสำเร็จการศึกษา06/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50149
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 291

บทคัดย่อภาษาไทย

            การวิจัยเรื่อง ตัวแบบสมการโครงสร้างพุทธนวัตกรรมโดยใช้วิปัสสนาบำบัดเป็นฐานผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์มนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างพุทธนวัตกรรมโดยใช้วิปัสสนาบำบัดเป็นฐานผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม 2) เพื่อพัฒนาตัวแบบสมการโครงสร้างพุทธนวัตกรรมโดยใช้วิปัสสนาบำบัดเป็นฐานผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม ที่มีตัวแปรส่งผ่าน และ 3) เพื่อตรวจสอบความตรงและนำเสนอตัวแบบสมการโครงสร้างพุทธนวัตกรรมโดยใช้วิปัสสนาบำบัดเป็นฐานผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม เป็นรูปแบบดำเนินการวิจัยแบบผสมวิธี มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสร้างตัวแบบสมการโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาตัวแบบสมการโครงสร้าง ด้วยสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูป/คนมาวิเคราะห์สร้างเครื่องมือวิจัยและปรับปรุงตัวแบบสมการโครงสร้าง และขั้นตอนที่ 3 ประเมินคุณภาพของตัวแบบสมการโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์ผลข้อมูลเชิงปริมาณ (Quatitative Approach) ขยายเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) จากการวิเคราะห์ผลแบบสอบถามที่ทำกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 52 รูป/คนด้วยโปรแกรมทางสถิติ คือ Warp PLS Version 8.0 เพื่อหาค่า Structural Model Assessment ทั้งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในประเด็นงานวิจัยนี้โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า

            1. ตัวแบบสมการโครงสร้าง ประกอบด้วยตัวแปร 6 ตัว ได้แก่ 1) พุทธนวัตกรรม 2) วิปัสสนาบำบัด 3) ดิจิตอลแพลตฟอร์ม 4) การพัฒนาปัญญา 5) หลักอายุสสธรรม 5 และ 6) การให้คำปรึกษาตามแนวพุทธศาสตร์ 

            2. ตัวแบบสมการโครงสร้างที่มีตัวแปรส่งผ่าน พบว่า 1) การพัฒนาปัญญามีอิทธิพลทางอ้อมผ่านวิปัสสนาบำบัดไปสู่พุทธนวัตกรรม 2) การให้คำปรึกษาตามแนวพุทธศาสตร์มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านวิปัสสนาบำบัด และดิจิทัลแพลตฟอร์มไปสู่พุทธนวัตกรรม และ 3) วิปัสสนาบำบัดและดิจิทัลแพลตฟอร์มมีอิทธิพลทางตรงต่อพุทธนวัตกรรม

           3. ผลการตรวจความตรงของตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่า ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างอยู่ในเกณฑ์ดี มีเส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแบบภายในส่วนใหญ่มีนัยสำคัญ สรุปผลตามสมมติฐานได้ 5 เส้นทางเป็นไปในเชิงบวก ได้แก่ 1) อิทธิพลของการพัฒนาปัญญาที่มีต่อวิปัสสนาบำบัด 2) อิทธิพลของการให้คำปรึกษาตามแนวพุทธศาสตร์ที่มีต่อวิปัสสนาบำบัด 3) อิทธิพลของการให้คำปรึกษาตามแนวพุทธศาสตร์ที่มีต่อดิจิตอลแพลตฟอร์ม 4) อิทธิพลของวิปัสสนาบำบัดที่มีต่อพุทธนวัตกรรม และ 5) อิทธิพลของดิจิตอลแพลตฟอร์มที่มีต่อพุทธนวัตกรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of the research article were 1) To study and analyze the Buddhist innovation structural equation model using Vipassana based therapy (VBT) through a digital platform, 2) To develop the Buddhist innovation structural equation model using Vipassana based therapy through a digital platform with mediating variable and 3) To verify the validity and present the Buddhist innovation structural equation model using Vipassana based therapy through a digital platform. It is a mixed method research. There were 3 research steps: Step 1: Study academic documents and related research to use the obtained data to create the Buddhist innovation structural equation model using Vipassana based therapy through a digital platform. Step 2: Develop a structural equation model with qualitative approach expand  to the qualitative approach with in-depth interview from 10 key informants to analyze, create research tools and improve the structural equation model. Step 3: Evaluate the quality of the structural equation model of the Quantitative Approach expands the Qualitative Approach from the analysis of the questionnaire performed and the results on a sample of 52 people with a statistical program, Warp PLS Version 8.0, to find a Structural Model Assessment. Both groups of key informants and sample were used a purposive selection consisting of experts in this research issue. The results of the study found that:

1. The structural equation model consisted of 6 variables, namely 1) Buddhist innovation, 2) Vipassana Meditation Therapy (VBT), 3) Digital platform, 4) Wisdom development, 5) Things Conducive to Long Life, and 6) Buddhist Scripture on Counseling.

2. The structural equation model with mediator variables found that 1) wisdom development had an indirect influence through VBT leading to Buddhist innovation; 2) Buddhist counseling had an indirect influence through VBT and digital platforms leading to Buddhist innovation; and 3) VBT and digital platforms have a direct influence on Buddhist innovation.

3. This research concluded that indicating good construct validity. With significant correlation paths between internal models, the hypothetical results can be correlating in 5 paths: 1) the wisdom development positively influences to VBT; 2) The Buddhist counseling positively influences to VBT; 3) the Buddhist counseling positively influences to VBT. 4) VBT positively influences to Buddhist innovation and 5) the digital platform positively influences to Buddhist innovation.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ