โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทน ประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Application for Human Resource Development of Life Insurance Agents in Phitsanulok Province
  • ผู้วิจัยนางสาวปาริชาติ เปรมวิชัย
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมาน งามสนิท
  • ที่ปรึกษา 2ศ. ดร.บุญทัน ดอกไธสง
  • วันสำเร็จการศึกษา09/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50172
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 62

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก และ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.974 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 218 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล    

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1) การพัฒนาองค์การ ได้แก่ หน่วยงานสามารถระบุกระบวนการปฏิบัติงานและมาตรฐานในการปฏิบัติงานของตัวแทนประกันชีวิตและองค์กรได้ ส่งเสริมให้เข้าใจโครงสร้างองค์กร นโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานของตัวแทนประกันชีวิตเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง หน่วยงานส่งเสริมให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ากับการปฏิบัติงานได้ ให้สามารถนำปัญหาต่างๆที่ได้รับจากการร้องเรียนของลูกค้ามาปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) การพัฒนาปัจเจกบุคคล ได้แก่บุคลากรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการทำงานสามารถเข้าถึงสื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง และนำเทคโนโลยีสมันใหม่มาใช้เพื่อนำพัฒนาผลงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นหลัก 3) การพัฒนาสายอาชีพ ได้แก่บุคลากรได้รับการฝึกทบทวนทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติในสายงานที่รับผิดชอบเป็นประจำ กล้าตัดสินใจปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิตด้วยความถูกต้อง เป็นธรรม แม้อาจก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจแก่ผู้เสียผลประโยชน์ และบุคลากรมีความรอบรู้ รอบคอบ เข้าใจกฎ ระเบียบ ในการปฏิบัติงาน ยึดมั่นในหลักการและความถูกต้อง ตามจรรยาบรรณวิชาชีพของตัวแทนประกันชีวิต มีความเชี่ยวชาญในการทำงานตามสายงานที่รับผิดชอบ

2.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า 1) กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลกมี 2 ด้าน ได้แก่ด้านการพัฒนาและด้านการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่ากระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก ได้ร้อยละ 78.00 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนา สามารถทำนายประสิทธิผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก ได้สูงสุดและมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเป็น 0.616 รองลงมาเป็นด้านการฝึกอบรม สามารถทำนายประสิทธิผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเป็น 0.341 ตามลำดับ หลักภาวนา 4 ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลกมี 3 ด้าน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 แสดงว่าตัวแปรทั้ง 3 ด้านสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลกได้ร้อยละ 84.80 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านปัญญาภาวนา ปัญญาที่พัฒนาแล้ว ได้ร้อยละ 41.70 ด้านกายภาวนา กายที่พัฒนาแล้ว ได้ร้อยละ 35.40 และด้านจิตภาวนา จิตที่พัฒนาแล้ว ได้ร้อยละ 12.50 ตามลำดับ

3.การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลกคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตัวแทนประกันชีวิตในจังหวัดพิษณุโลกทั้ง 3 ด้าน ประกอบไปด้วย 1) ด้านการพัฒนาปัจเจกบุคคล 2) ด้านการพัฒนาสายอาชีพ 3) ด้านการพัฒนาองค์การ โดยการประยุกต์หลักภาวนา 4 มีลักษณะดังนี้ 1) ด้านกายภาวนา ได้แก่การส่งเสริมการออกกำลังกาย การทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ 2) ด้านศีลภาวนา ได้แก่การปฏิบัติตนให้มีศีลธรรรม การยอมรับในกฎระเบียบกติกาของหน่วยงาน มีศีลธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต มีจรรยาบรรณประกันชีวิต 3) จิตภาวนา ได้แก่การมีสุขภาพจิตที่ดี เข้มแข็ง เป็นคนคิดดี คิดบวกมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ปรารถนาดีจากตัวเองไปสู่บุคคลอื่น มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน 4) ปัญญาภาวนา ได้แก่การพัฒนาและการเรียนรู้และมีความรู้ความเข้าใจของตัวแทนประกันชีวิตใช้ปัญญาในการแก้ปัญหากับกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือ การฝึกอบรม การศึกษา และการพัฒนา

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Objectives of this dissertation were 1. To study human resource development of Life Insurance Agents in Phitsanulok Province, 2. To study Factors affecting human resource development of life insurance agents in Phitsanulok Province and 3. To propose the Buddhadhamma application for human resource development of life insurance agents in Phitsanulok Province, conducted by the mixed research methods.  The quantitative research used questionnaires with a total reliability value of 0.974, to collect data from 218 samples who were life insurance agents in Phitsanulok Province The data were analyzed by frequency, percentage, average, standard deviation and stepwise regression analysis. The qualitative research used the method of conducting in-depth interviewing 20 key informants by face-to-face interviewing. Data were analyzed by content descriptive interpretation. Data were also collected from 9 participants to confirm knowledge after data synthesis.

Findings were as follows:

1.    Human resource development of life insurance agents in Phitsanulok

Province, by overall, was at high level. Each aspect, to a large extent. consisted of       1) Education; life insurance agents were encouraged to attend education in order to keep up with the continuously evolving technology, encouraged to study more to enhance creativity in their operations. to apply new knowledge to analyze and solve problems that occurred within organization. 2) Training; There was training to gain knowledge, expertise, and skills in performing tasks, training to gain proficiency and reduce risks that may occur during operation. Training was provided to be able to use tools and equipment correctly. 3) Development: There was a rotation of operational duties to achieve learning about work and job characteristics in various ways, organizing projects for personnel to hold seminars to find ideas and methods of self-development to keep up with new technologies.

2. Factors affecting human resource development of life insurance agents in Phitsanulok Province was found that 1) the human resource development process affected the human resource development of life insurance agents in Phitsanulok Province in 2 aspects with statistically significant at the level of 0.01, indicating that the human resource development process could jointly predict the application of Buddha-dharma principles for human resource development of life insurance agents in Phitsanulok Province by 61.60 percent with statistically significant value at the level of 0.01 indicating that Pavana 4 principles could jointly predict the application of the Buddha-dharma principle for human resource development of life insurance agents in Phitsanulok Province by 84.80 percent, respectively.

3. The application of the Buddhadhamma principle to human resource development of life insurance agents in Phitsanulok Province in 3 aspects, namely, 1) individual development, 2) occupational development, 3) organizational development. Bhavana 4 application had following characteristics; 1) Gayabhấvanấ, developed body included promoting physical activity, eating good and healthy foods, creating a working environment, 2) Silabhấvana, developed precepts included the practice of morality, acceptance of the rules and regulations of the organization with morality, honesty, integrity, and life insurance ethics. 3) Cittabhấvanấ, developed mind included having good mental health, being strong, a good person, positive thinking and determined with good wishes from oneself to another person. 4) Pannấbhavanấ, developed intelligence included the development and learning and understanding of life insurance agents, using wisdom and intelligence to solve problems with the human resource development process that were training, education and development.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ