โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของเยาวชน โดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Integration for Youth Leadership Development through Community Operations in Bangkok Metropolis
  • ผู้วิจัยนางชัชนิธิฐา ชัชวาลวงศ์
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
  • วันสำเร็จการศึกษา07/09/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50174
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 65

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.960 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนในชุมชนคลองเตยของกรุงเทพมหานคร จำนวน 381 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคนแบบตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน เพื่อยืนยันองค์ความรู้หลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

1. การพัฒนาภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ประกอบด้วย 1) ความรู้ความสามารถ ได้แก่ ส่งเสริมเยาวชนให้มีการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย มีการสร้างกลไก กิจกรรม กระบวนการสร้างการเรียนรู้แก่เยาวชน และส่งเสริมเยาวชนให้ศึกษาดูงานนอกสถานที่ 2) การสื่อสาร ได้แก่ สร้างสรรค์โอกาสให้เยาวชนได้ฝึกแสดงความคิดเห็น ให้เข้าถึงข้อมูลอันเป็นประโยชน์ และให้เป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ดี 3) ความเชื่อมั่นในตนเอง ได้แก่ ส่งเสริมเยาวชนให้มีกิจกรรมวิชาการเพื่อการพัฒนาความรู้ มีกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพ มีการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง 4) ความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น ได้แก่ ส่งเสริมเยาวชนให้ยอมเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมที่ดีขึ้น มีทักษะทางจิตวิทยาและการกล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าทำ 5) ความสุภาพอ่อนน้อม ได้แก่ ส่งเสริมเยาวชนให้มีการฝึกปฏิบัติกิริยามารยาทในการเข้าสังคม และให้รู้จักความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพ
มหานครพบว่า
1) กระบวนการพัฒนาผู้นำ ส่งผลต่อภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร มี 3 ด้าน คือ 1. ด้านการทำความรู้จักตัวเอง 2. ด้านการสร้างวินัยในตนเอง และ3. ด้านการให้คำปรึกษา มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า กระบวนการพัฒนาผู้นำ สามารถร่วมกันทำนายภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 68.3 ตามลำดับ 2) หลักสัปปุริสธรรม 7  ส่งผลต่อภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร มี 5 ด้าน คือ 1. ด้านอัตตัญญุตา (เป็นผู้รู้จักตน) 2. ด้านมัตตัญญุตา (เป็นผู้รู้จักประมาณ) 3. ด้านกาลัญญุตา (เป็นผู้รู้จักกาล) 4. ด้านปริสัญญุตา (เป็นผู้รู้จักชุมชน) และ 5. ด้านปุคคลัญญุตา (เป็นผู้รู้จักบุคคล) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่า หลักสัปปุริสธรรม 7  สามารถร่วมกันทำนายภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 82.8 ตามลำดับ

3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของเยาวชนโดยการดำเนินงานของชุมชนในกรุงเทพมหานคร พบว่า การบูรณาการหลักสัปปุริสธรรม 7 มีลักษณะดังนี้ 1) ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ ได้แก่ ส่งเสริมเยาวชนให้มีกระบวนความคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ให้ใช้เหตุผลมาก่อนเสมอและรู้จักการวิเคราะห์สาเหตุแห่งปัญหา 2) อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล ได้แก่ ส่งเสริมเยาวชนให้มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ได้เรียนรู้จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรม และรู้จักการใช้เหตุผลที่เหมาะสม 3) อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน ได้แก่ ส่งเสริมเยาวชนให้ได้เรียนรู้ฝึกวิเคราะห์โครงการ มีความรับผิดชอบสูง และนำความสามารถมาใช้อย่างเต็มที่ 4) มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ ได้แก่ ส่งเสริมเยาวชนให้สามารถกำหนดกิจกรรมที่เหมาะสม เป็นผู้รู้จักความเหมาะสมกาลเทศะ เข้าใจในศักยภาพตัวเอง และสามารถดึงศักยภาพตัวเองออกมาอยากเต็มที่ 5) กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล ได้แก่ ส่งเสริมเยาวชนให้วางแผนกำหนดการที่เหมาะสม คำนึงถึงความเหมาะสมของเวลาในการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ และให้รู้จักการตรงต่อเวลา 6) ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักชุมชน ได้แก่ ส่งเสริมเยาวชนให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับทุกคนในชุมชน มีกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่าย ให้รู้ในเรื่องของชุมชนของตน และมีความสำนึกรักในความเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน 7) ปุคคลัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล ได้แก่ ส่งเสริมเยาวชนให้รู้จักบุคคลที่เกี่ยวข้องในชุมชนเป็นอย่างดี สร้างความเป็นผู้นำในการทำงาน พัฒนาฝึกอบรมและทำกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of this dissertation were: 1. To study youth leadership through community operations in Bangkok Metropolis; 2. To study factors affecting youth leadership through community operations in Bangkok Metropolis; and 3. To propose the integration of Buddhadhamma principles to develop youth leadership through community operations in Bangkok Metropolis.

             The methodology was mixed in the quantitative research, data were collected using questionnaires with a total reliability value of 0.960 to collect data from 381 samples who were youths in the Khlong Toei community in Bangkok Metropolis. The data were analyzed using frequency, percentage, average, standard deviation, and stepwise regression analysis. In the qualitative research, data were collected from 18 key informants through a face-to-face, in-depth interview. The data were analyzed by content-descriptive interpretation. Data were also collected from 9 participants in a focus group discussion to confirm knowledge after data synthesis.

Findings were as follows:

1. Youth leadership development through community operations in Bangkok Metropolis, overall, was at a high level. Each aspect consisted of 1) knowledge and ability; such as encouraging youth to have diverse learning, there were mechanisms, activities, and processes that were created to create learning for youth and encouraged youth to take field trips. 2) Communication: creating opportunities for youth to practice expressing their opinions, to access useful information, and to become good public relations people, 3) Self-confidence: encouraging youth to have academic activities for knowledge development and personality development activities, 4) The ability to influence others, i.e., encouraging young people to change their beliefs and behaviors for the better, possessing psychological skills and being assertive, daring to speak and daring to act, 5) Politeness: by encouraging youth to practice social etiquette and to show gratitude to benefactors.

2. Factors affecting youth leadership through community operations in Bangkok Metropolis were found to be: 1) Leadership development affected youth leadership through community operations in Bangkok Metropolis in 3 areas, with a statistically significant level of 0.01, indicating that leadership development was able to predict youth leadership through community operations in Bangkok Metropolis by 68.3 percent, respectively. 2) Sappurisa-dhamma 7 affected youth leadership development through community operations in Bangkok Metropolis in 5 areas, with a statistically significant level of 0.01. This indicated that Sappurisa-thamma 7 could jointly predict youth leadership through community operation in Bangkok Metropolis by 82.8 percent, respectively.

3. Buddhadhamma principles Integration for developing youth leadership through community operations in Bangkok Metropolis: It was found that the integration of the 7 principles of Sappurisa-dhamma had the following characteristics: 1) Dhammanyuta: knowing causes, such as encouraging youth to have a thought process, analyzing, and synthesizing to always use reasoning first and know how to analyze the causes of problems. 2) Atthanyuta: Learn from participating in activities and know how to use appropriate reasoning. 3) Attanyuta, being self-aware, such as encouraging youth to learn and practice project analysis. 4) Mattanyuta, knowing moderation; encouraging youth to be able to determine appropriate activities, know their appropriateness, understand their own potential, and be able to bring out their full potential. 5) Kalanyuta: Knowing occasions; encouraging youth to plan an appropriate schedule; the appropriateness of the time to process various matters; and knowing punctuality 6) Parisanyuta: knowing the community, by encouraging youth to have good human relations with everyone in the community, had activities to build networks, to know about their community, and to have a sense of belonging to the community. 7) Pugghalanyuta: Knowing individuals by encouraging the youth to know the person involved well in the community, to build leadership in work, to develop leadership training, and community relations activities.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ